ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสูงยอดมดลูก กับการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในผู้คลอดครรภ์ครบกำหนด

ผู้แต่ง

  • สุรีพร ศรีโพธิ์อุ่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ราตรี พลเยี่ยม โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด
  • ลำพงษ์ ศรีวงค์ชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ระดับความสูงยอดมดลูก, การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์, การดูแลในระยะคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ (Descriptive correlation research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสูงยอดมดลูกกับน้ำหนักทารกในครรภ์ ทำการศึกษาในผู้คลอดครรภ์ครบกำหนดที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ในระหว่างเดือนมกราคม – เดือนเมษายน พ.ศ. 2563 จำนวน 138 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวัดระดับความสูงของยอดมดลูกแล้วนำมาคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และใช้สถิติ Paired sample t-test ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างน้ำหนักทารกจากการคาดคะเนกับน้ำหนักทารกแรกเกิด

ผลวิจัยพบว่าระดับความสูงของยอดมดลูกมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับน้ำหนักทารกในครรภ์ที่ได้จากการคาดคะเนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.992 และ r=0.837, p<0.01) และน้ำหนักทารกในครรภ์ที่ได้จากการคาดคะเนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับน้ำหนักทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.831, p<0.01) ในขณะที่น้ำหนักทารกในครรภ์ที่ได้จากการคาดคะเนและน้ำหนักทารกแรกเกิดมีความคลาดเคลื่อนของการคาดคะเน 75.30 กรัม (SD=246.71) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับความสูงของยอดมดลูกสามารถใช้คาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในระยะคลอดได้ ดังนั้น ควรนำวิธีการวัดระดับความสูงของยอดมดลูกไปใช้ในคัดกรองความเสี่ยงของมารดาและทารกในระยะคลอด โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการคลอดยากหรือคลอดติดขัด เพื่อวางแผนการดูแลให้เหมาะสมหรือส่งต่อผู้คลอดไปยังสถานบริการที่มีความพร้อม

Author Biographies

สุรีพร ศรีโพธิ์อุ่น, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

อาจารย์พยาบาล

ราตรี พลเยี่ยม, โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ลำพงษ์ ศรีวงค์ชัย, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

อาจารย์พยาบาล

References

Ricci SS, Kyle T, Carman S. Maternity and Pediatric Nursing. 2nd ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins; 2013.

Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse D, Spong CY. Williams Obstetrics. 23rd ed. New York: McGraw-Hill Education; 2018.

Kerdarunsuksri A. Intrapartum symphysis-fundus height as a predictor of low birth weight infant. Vajira Med J 2009;53(2):153-9. (in Thai).

Nakaporntham P, Tongswatwong P. Symphysis fundal height measurements in prediction of birth weight. Thai Journal of Obstetrics and Gynecology 2010; 18(3):126-33.

Henry M. The accuracy of symphysis fundal height measurement. BJM 2012; 20(9):640-4.

Tacharungsan O, Suksong W. Comparative study of fetal birth weight by multiplication of intrapartum symphysio-fundal height and maternal abdominal circumference: a case study conducted in Queen SavangVadhana Memorial Hospital. Thai Red Cross Nursing Journal 2018;11(1):161-70. (in Thai).

Yiheyis A, Alemseged F, Segni H. Johnson’s formula for predicting birth weight in pregnant mothers at Jimma University Teaching Hospital, South West Ethiopia. Med J Obstet Gynecol 2016;4(3):1087.

Morse K, Williams A, Gardosi J. Fetal growth screening by fundal height measurement. Best Pract Res Clin Obstet Gynecol 2009;23(6):809-18. doi:10.1016/j.bpobgyn.2009.09.004

Deeluea J, Sirichotiyakul S, Weerakiet S, Buntha R, Tawichasri C, Patumanond J. Fundal height growth curve for Thai women. ISRN Obstet Gynecol. 2013 15;2013:463598. doi: 10.1155/2013/463598. PMID: 23691342; PMCID: PMC3649359.

Deeluea J, Sirichotiyakul S, Weerakiet S, Khunpradit S, Patumanond J. Fundal height growth curve patterns of pregnant women with term low birth weight infants. Risk Manag Healthc Policy. 2014;7:131-137. doi: 10.2147/RMHP.S64893.

Wisarutkasempong A, Chobkhayan S. Comparative study on fetal weight estimation in labor using Dare’s and Johnson’s formula and correlation with neonatal birth weight. Journal of Health Science 2020; 29(4): 637-45. (in Thai).

Srisatidnarakul B. G* Power Effect Size, Power Analysis Optimal Sample Size Calculations Using G* Power Software. Bangkok: Chulalongkorn university; 2020. (in Thai)

Mortazavi F, Akaberi A. Estimation of birth weight by measurement of fundal height and abdominal girth in parturients at term. East Mediterr Health J. 2010 ;16(5):553-7. PMID: 20799557.

Sattana S. The development of estimate fetal birth weight in pregnancy lobour room Buntharik Hospital. TUH journal online 2019;4(3):49-55. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-16