บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • นิชาภา หลังแก้ว สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนะพล ศรีฤาชา สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

บรรยากาศองค์การ, การสนับสนุนจากองค์การ, การปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ศึกษา คือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 900 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 146 คน และทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 ทุกข้อ และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.97 และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม–7 มิถุนายน 2564  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ระดับบรรยากาศองค์การ ระดับการสนับสนุนจากองค์การ และระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 (SD=0.45), 4.37 (SD=0.48) และ 4.13 (SD=0.49) ตามลำดับ และพบว่าภาพรวมบรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.648, p<0.001 และ r=0.641, p<0.001) ตามลำดับ ทั้งนี้ การสนับสนุนจากองค์การด้านการบริหารจัดการ บรรยากาศองค์การมิติด้านโครงสร้างองค์การ และบรรยากาศองค์การมิติด้านความเสี่ยง มีผลและสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 47.1 (R2=0471, p<0.001)

Author Biographies

นิชาภา หลังแก้ว, สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต

ชนะพล ศรีฤาชา, สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2559.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการบริหารจัดการงบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพ; 2563.

Litwin GH, Stringer RA. Motivation and organization climate. Boston: Division of Research. Harvard Business School; 1968.

ทองหล่อ เดชไทย. หลักการบริหารงานสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์;2545.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการบริหารจัดการงบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพ; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ (เอกสารอัดสำเนา). บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์; 2563.

Cohen J. Statistical power analysis for behavior science. 2nd ed. New York: Academic; 1988.

ดัชนีวรรณ สัตย์ธรรม, ชนะพล ศรีฤาชา.บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562; 12(1):41-50.

Likert R. The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill; 1967.

Chantasuwan S, Buathuan S. Social science research methodology. Khon Kaen: Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University; 2004.

Elifson KW, Richard RP, Haber A. Fundamentals of Social Statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1990.

นิลุบล ดีพลกรัง, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. สุนทรียทักษะภาวะผู้นำและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2563;20(2):72-83.

ณัฐพล โยธา, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562;19(1):149-60.

ฐนกร คำหารพล, ชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2561;25(2):35-45.

ภูมิฤทัย จุรัณณะ, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานตามพันธกิจที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดของนักวิชากาสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข)ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2563;20(3):158-66.

พงศ์สมุทร เจณบริรักษ์, ประจักร บัวผัน, ชัญญา อภิปาลกุล. คุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชัยภูมิ.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562;12 (2):216-29.

สุภัทธา สุขวิเศษ, ชนะพล ศรีฤๅชา. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยของบุคลากร โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562;12(1):32-40.

นาตยา คำเสนา, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2563;20(2):84-95.

จินตนา กีเกียง, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562;19(2):154-65.

ฉัตรพงศ์ มงคลสิน, ชัญญา อภิปาลกุล. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการจัดการความขัดแย้งของบุคลากรในโรงพยาบาลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย.การประชุมวิชาการเสนอผลงานระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2557. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 2557; 32-9.

ภัทรวิทย์ เงินทอง. คุณภาพชีวิตการทำงานของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2555;17(2):60-9.

อาวิน บุญโรจน์, วิทัศน์ จันทร์โพธิ์ศรี. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อภาพรวมการบริหารองค์กรในโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ด้านการนำองค์กรของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดหนองบัวลำภู.การประชุมวิชาการเสนอผลงานระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2557. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.255; 615-24.

สันติ อุทรังษ์, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานสุขศาลาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2560;17(3):64-75.

นครินทร์ ประสิทธิ์, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2561;18(2):65-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-10