ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด การเผชิญความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามความเครียด และการเผชิญความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 78.75) มีอายุเฉลี่ย 56.12 ปี สถานภาพสมรส (ร้อยละ 68.13) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 46.25) ดูแลผู้สูงอายุมามากกว่า 5 ปี (ร้อยละ 56.25) ดูแลผู้สูงอายุมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 35.62) ไม่เคยได้รับการอบรมการดูแลผู้สูงอายุจากหน่วยงานของรัฐ (ร้อยละ 60.00) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 55.00) มีอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 28.75) รายได้ไม่เพียงพอ (ร้อยละ 61.88) มีหนี้สิน (ร้อยละ 58.75) ลักษณะครอบครัวของผู้ดูแล ส่วนใหญ่อยู่กับลูก/หลาน/ญาติ (ร้อยละ 56.88) ผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลส่วนใหญ่เป็นกลุ่มติดบ้าน (ร้อยละ 71.88) ส่วนใหญ่ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (=40.09, SD=14.85) มีการเผชิญความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (=90.31, SD=21.56) ผู้ดูแลผู้สูงอายุใช้วิธีการเผชิญความเครียดด้านการเผชิญหน้ากับปัญหามากที่สุด (=0.37 SD=0.05) รองลงมาคือด้านการจัดการกับอารมณ์ (=0.32, SD=0.04) และด้านการจัดการบรรเทาปัญหาน้อยที่สุด ( =0.31, SD=0.04) ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญความเครียดโดยรวม (r=0.442, p <0.01) มีความสัมพันธ์ทางบวกการเผชิญความเครียดด้านการเผชิญหน้ากับปัญหา ด้านการจัดการกับอารมณ์ และการจัดการบรรเทาปัญหา (r= 0.297, 0.490 และ 0.442; p<0.01 ตามลำดับ) เจ้าหน้าที่ทางสุขภาพสามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุและให้การช่วยเหลือในการเผชิญความเครียดได้อย่างเหมาะสม
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 30]. เข้าถึงได้จาก: https://eh.anamai.moph.go.th/th/elderlycluster/download?id=66747&mid=33846&mkey=m_document&lang=th&did=20886
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานจำนวนผู้สูงอายุจังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 1]. เข้าถึงได้จาก: https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=953a2fc648be8ce76a8115fbb955bb51
ณัชศฬา หลงผาสุก, สุปรีดา มั่นคง, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. ภาวะสุขภาพ และการดูแลตนเองของญาติผู้ดูแลวัยสูงอายุที่ดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียง. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33(2):97-109.
ทรงสุดา ยงพัฒนจิตร, สุปรีดา มั่นคง, นุชนาฏ สุทธิ. ความเครียดและการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลในหอผู้ป่วยที่มีการดูแลแบบประคับประคอง. วารสารการพยาบาล 2563;35(2):117-31.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: United State of America; 1988.
กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินความเครียด กรมสุขภาพจิต(SPST-20). [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 เมษายน 20]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/ uploads/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1/20-21_11_61/C_4.pdf
Jalowiec A. Confirmatory factor analysis of the Jalowiec coping scale. In Waltz CF, Strickland OL, eds. Measurement of nursing outcome: Volume one: measurement of client outcome. New York: Springer Publish Company. 1988: 236-308.
Vitaliano PP, Maiuro RD, Russo J, Becker J. Raw versus relative scores in the assessment of coping strategies. J Behav Med. 1987 Feb;10(1):1-18. doi: 10.1007/BF00845124.
กีรติญา ไทยอู่. ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคจิต. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2557;5(2):2-13.
ลินจง โปธิบาล, ทศพร คำผลศิริ, นรัชพร ศศิวงศากุล. ความเครียดและการเผชิญความเครียดในผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน. วารสารสภาการพยาบาล 2562;34(2):62-75.
ศุภกาญจน์ โอภาสรัตนากร, มุกดา เดชประพนธ์, บัวหลวง สำแดงฤทธิ์. ความเครียด และการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2558;21(2):158-71.
กัญญาณัฐ สุภาพร. ภาระในการดูแลและปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะประคับประคองที่บ้าน. วารสารเกื้อการุณย์ 2563;27(1):150-61.
ณชนก เอียดสุย, ศุภร วงศ์วทัญญู, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม. ความเครียดและการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเนื้องอกสมอง ในระยะรอเข้ารับการผ่าตัดสมอง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2556;19(3):349-64.
Lazarus RS, Folkman S. Stress, Appraisal, and Coping. 15th ed. New York: Springer; 2011.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9