ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ชุมชนราชธานีอโศก ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ชุมชนราชธานีอโศก ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในชุมชนราชธานีอโศก จำนวน 35 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. (อาหาร
ออกกำลังกาย และอารมณ์) โดยใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ และแบบสอบถามเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 77.14) อายุระหว่าง 70-79 ปี (ร้อยละ 57.15) ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 40.00) 2) หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการอารมณ์ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 (การรับประทานอาหาร: t=11.49, การออกกำลังกาย: t=6.20, การจัดการอารมณ์: t=7.23, พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวม: t=14.71) เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านการรับประทานอาหาร ด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ ด้านการออกกำลังกาย
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้คือ หน่วยงานด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถนำโปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุไปเป็นแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนอื่นๆ
References
Department of Economic and Social Affairs Population Division. World Population Ageing: 1950-2050 [Internet]. 2020 [cited 2020 Sep 10]. Available from: https://www.un.org/development/desa/pd/content/publications
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.ย. 10]. เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.ย. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275.
Haseen F, Adhikari R, Soonthorndhada K. Self-assessed health among Thai elderly. BMC Geriatrics 2010;10(30). doi: 10.1186/1471-2318-10-30.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.ย. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/laws/law_th_20152309144546_1.pdf.
Sihapark S, Kuhirunyaratn P, Chen H. Severe disability among elderly community dwellers in rural Thailand: prevalence and associated factors. Ageing International 2014;39(3):210-20. doi: 10.1007/s12126-013-9190-7.
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ ส่วนอนามัยผู้สูงอายุ. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและเครือข่ายผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.ย. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://eh.anamai.moph.go.th/th.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, ภาวนา พัฒนศรี, ธนิกานต์ ศักดาพร. การถอดบทเรียนตัวอย่างที่ดีของโรงเรียนและชมรมผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมถ่ายทอดความรู้. กรุงเทพฯ: เจพริ้นท์; 2560.
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 2562; 5(1):498-507.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.ย. 10]. เข้าถึงได้จาก: http://online.pubhtml5.com/ogkq/rxzr/#p=95.
Best JW, Kahn VJ. Research in Education (7th ed.) Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1995.
ผุสดี สระทอง, 10 ท่า การบริหารร่างกายด้วยท่อนไม้ แบบป้าบุญมี. นิตยสารหมอชาวบ้าน 2550; 339:supplememt.
มะลิ โพธิพิมพ์, วลัญช์ชยา เขตบำรุง, จุน หน่อแก้ว, จิรวุฒิ กุจะพันธ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพชมรมผู้สูงอายุมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561; 22(43-44):86-98.
อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, รสติกร ขวัญชุม, ลัดดา เรืองด้วง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต.คลองฉนาก อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(1):253-64.
ปัทมา ผาติภัทรกุล, ผุสดี ก่อเจดีย์, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, ชุติมา บูรพา, ประภาส จักรพละ. ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561; 12(ฉบับพิเศษ):52-60.
รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ. 2ส.ของผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5 2560; 36(1): 2-12.
อารี พุ่มประไวทย์, จรรยา เสียงเสนาะ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอาย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(3):160-75.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9