ปัจจัยและความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การรับรู้ความเสี่ยง พฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อม พื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้และพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อม และเพื่อหาความความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สุ่มตัวอย่างอสม. ใน 5 ตำบล จำนวน 311 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม 2563 ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป สถิติไคว์สแควร์ และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันสำหรับหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.10 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 49.37 ปี ร้อยละ 72.67 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 54.34 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 48.88 ประกอบอาชีพเกษตรกร และพบว่ามีโรคประจำตัว ร้อยละ 31.51 ผลของการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อม พบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =1.58, S.D. = 0.55) มีพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =2.59, S.D. = 0.28) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับน้อยอย่างมีนัยสำคัญ (r = -0.119, p < 0.05)
ดังนั้น หน่วยงานสาธารณสุขควรส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพให้อสม. มีองค์ความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ต่อยอดสู่การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate Community)
References
สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2562 พฤศจิกายน 11]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กระทรวงอุตสาหกรรม. เกณฑ์และการเลือกตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562. มปท.
กระทรวงอุตสาหกรรม. Eco Industrial Town [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2562 พฤศจิกายน 11]. เข้าถึงได้จาก: http://www.industry.go.th/industry/index.php/th/knowledge/item/10608-eco-industrial-town
กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, พื้นที่เป้ามาย 15 จังหวัด 18 พื้นที่ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2562 พฤศจิกายน 11]. เข้าถึงได้จาก: http://www.diw.go.th/hawk/content.php
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานจำนวนอสม แยกตามตำบล [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2562 พฤศจิกายน 11]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP000S8.php
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือ อสม.ยุคใหม่.นนทบุรี.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพอาสมัครสาธารณสุข ปี 2550.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2550.
คณิต หนูพลอย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดพัทลุง. [ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ]. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2553.
ประภา วุฒิคุณ. ปัจจัยที่สัมพันธกับการปฏิบัติหนาที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบ้าน จังหวัดราชบุรี. [ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตรเพื่อการพัฒนา]. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง; 2555.
จริยา อินทรรัศมี. การศึกษาความรู้และความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชนเข้มแข็ง (Active Community) พื้นที่รับผิดชอบศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. [อินเตอร์เน็ต] 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มีนาคม 30]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.148/hpc7data/Res/ResDetail.aspx?resCode=25620029
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607–10.
ยุทธนา แยบคาย, ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. การปฏิบัติงานตามบทบาทที่สำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2563;31(2):269-79.
World Health Organization, Thailand. มลพิษอากาศภายในครัวเรือน [อินเตอร์เน็ต] .2562 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มีนาคม 11]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/docs/default-source/environment-climate-change-and-health/air-pollution-infographics-in-thai
วัฒนณรงค์ มากพันธ์, ปิยวรรณ เนื่องมัจฉา, พิมพร มากพันธ์, เสาวลักษณ์ รุ่งตะสันเรืองศรี. ความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง.วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา. 2563;21(1):79-87.
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คู่มือระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน. [อินเตอร์เน็ต] 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มกราคม 8]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB /CABINFOCENTER3/DRAWER056/GENERAL/DATA0000/00000973.PDF
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9