การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหัดในกลุ่มเสี่ยง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พัชรภร คอนจำนงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
  • ดวงจันทร์ จันทร์เมือง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
  • มานะชัย สุเรรัมย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค, โรคหัด, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหัดในกลุ่มเสี่ยงนักศึกษาหลักสูตรแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา ตามเป้าหมายด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จำนวน 30 คน ระยะที่ 2 ใช้รูปแบบและเครื่องมือการวิจัยจากระยะที่ 1 โดยการคัดกรองก่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในสถาบันการศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 450 คน และระยะที่ 3 เป็นการประเมินความครอบคลุมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหัด ผลการวิจัยพบว่า การบันทึกสำรวจและคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหัดในกลุ่มเสี่ยงออนไลน์ ผลคัดกรองก่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดในกลุ่มเสี่ยง ส่วนใหญ่ยินยอมรับวัคซีน ร้อยละ 97.7 และไม่ยินยอมรับวัคซีน ร้อยละ 3.3 เนื่องจากเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด ครบ 2 เข็ม แล้ว และเพิ่งหายจากการเจ็บป่วยเฉียบพลันมาไม่เกิน 7 วัน (ร้อยละ 66.7 และ 33.3 ตามลำดับ) ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในกลุ่มเสี่ยง มีความครอบคลุมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหัดในกลุ่มเสี่ยง นักศึกษาหลักสูตรแพทย์และสาธารณสุข ชั้นปีที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา คิดเป็นร้อยละ 98.8 จากผลความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดดังกล่าวทำให้เพียงพอต่อการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มเป้าหมาย (Herd immunity) เพราะมีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 95 สามารถป้องกันการเกิดการระบาดของโรคหัดในกลุ่มนักศึกษาหลักสูตรแพทย์และสาธารณสุข และป้องกันการติดเชื้อโรคหัดในสถานพยาบาลได้ สิ่งที่ได้จากผลวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน และการวางระบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนชนิดอื่นๆ ในกลุ่มเป้าหมายต่อไป

Author Biographies

พัชรภร คอนจำนงค์, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ดวงจันทร์ จันทร์เมือง, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา

เภสัชกรชำนาญการพิเศษ

มานะชัย สุเรรัมย์, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

References

กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, มุกดา ตฤษณานนท์, ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์, ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลา. ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ.2550. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคติดต่อ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคหัด ปี 2555–2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2561 ธันวาคม 15]. เข้าถึงได้จาก: http://dcd.ddc.moph.go.th

งานป้องกันโรคได้ด้วยวัคซีน กลุ่มโรคติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เขตสุขภาพที่ 9. นครราชสีมา: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา; 2561.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer. 3rd edition. Boston: Pearson; 1988.

นิกร ดุสิตสิน, ยุพา อ่อนท้วม. หลักการและแนวทางสำหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2546;17(2):99-110.

กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังควบคุมโรค การตรวจรักษาและส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการกำจัดโรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัด ตามพันธะสัญญานานาชาติ. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

สุชาติ บุณยภากร. ปัจจัยที่มีผลต่อการมารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในหมู่บ้านที่มีความครอบคลุม การมารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคต่ำเขตตำบลหนองระเวียง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2561.

สุภาพร เปี้ยทา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ แก่บุตรหลานของผู้ปกครองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2562 มกราคม 12]; เข้าถึงได้จาก: http://www.healthyenrich.com

อรรถพล รินทรักษ์. การพัฒนาระบบการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้อน ตำบลบ้านต้อน อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย (รายงานวิจัย). หนองคาย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31