การพัฒนารูปแบบคลินิกให้คำปรึกษาการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนดู่ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
คลินิกให้คำปรึกษา, การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์, การพัฒนารูปแบบบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดคลินิกให้คำปรึกษาการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนดู่ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทีมีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 12 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ตัวอย่างในการประเมินผลรูปแบบเป็นผู้รับบริการในคลินิกให้คำปรึกษาการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ จำนวน 56 คน สุ่มเข้ากลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการมีความสนใจใช้บริการรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์ และคาดหวังต่อการรักษาด้วยสารสกัดกัญชา แต่ปัจจุบันการรักษาด้วยสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ต้องตรวจรักษาโดยแพทย์ และจ่ายยาโดยเภสัชกร ส่วนการจัดบริการคลินิกให้คำปรึกษาการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์เป็นการให้บริการรวมกับบริการกับคลินิกบริการทั่วไป รูปแบบบริการคลินิกให้คำปรึกษาการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การคัดกรอง/ให้คำปรึกษา 2) การส่งต่อเพื่อจ่ายการใช้
สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ 3) การติดตามผลการรักษา ทำให้ผู้รับบริการได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือ สนองตอบความต้องการและมีความพึงพอใจในระดับมาก
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้คือ ควรพัฒนารูปแบบการจัดตั้งคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์. ประสบการณ์การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยประคับประคอง. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2563;3(1):29-35.
สุริยัน บุญแท้. สรุปผลการศึกษา “โครงการสำรวจความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องกัญชาทางการแพทย์ และ การใช้แบบสันทนาการ: กรณีศึกษาประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ” [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 พฤษภาคม 22]. เข้าถึงได้จาก: https://cads.in.th/cads/content?id=102.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ. กฎหมายจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล. ปทุมธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร; 2560.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30:607-10.
Kuder GF, Richardson MW. The theory of estimation of test reliability. Psychometrika 1937; 2:151-60.
Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951; 16:297-334.
กรมการแพทย์. รูปแบบคลินิกให้คําปรึกษาการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์. นนทบุรี: สํานักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2562.
สุวิมล คำย่อย. ความพึงพอใจของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหยวก อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหยวก; 2555.
ภาวิณี อ่อนมุข, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ. ความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 2564;1(12): 742-52.
เอื้อมพา กาญจนรังสิชัย. การจัดตั้งคลินิกกัญชากับความปรารถนาของคนไข้ (ปฐมบท). วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2563;3(1):21-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9