ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • โสมศิริ เดชารัตน์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • พิริยะลักษณ์ เพชรห้วยลึก คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

คำสำคัญ:

ปัจจัยสัมพันธ์, การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการ
มูลฝอยติดเชื้อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม กับสถานการณ์และความเหมาะสมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในสถานศึกษา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความถูกต้องของเนื้อหาเท่ากับ 0.975 ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยบุคลากรในสถานศึกษา จำนวน 270 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึง สิงหาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ Chi-square test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficients) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analyses) ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรของสถานศึกษาทุกระดับ มีระดับความรู้ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับปานกลาง ( =66.88, SD=8.39) ระดับทัศนคติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับปานกลาง ( =2.07, SD=0.22) และพฤติกรรมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับปานกลาง ( =2.08, SD=0.27) พบว่า ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เหมาะสม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้นการจัดโครงการเพื่อเพิ่มความรู้ การเพิ่มทักษะในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดการมูลฝอยติดเชื้ออย่างเหมาะสมและถูกหลักสุขาภิบาลต่อไป

Author Biographies

โสมศิริ เดชารัตน์, คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

รองศาสตราจารย์

พิริยะลักษณ์ เพชรห้วยลึก, คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

อาจารย์

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ในประเทศไทย: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธันวาคม 27]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ตุลาคม 3]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other02.pdf

กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2564 ตุลาคม 3]. เข้าถึงได้จาก: https://skko.moph.go.th/dward/document_file/environment/common_form_upload_file/20140627113745_1065027131.pdf

มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (ม.ส.ท.). ขยะ “แมสก์” ล้นเมือง อยากจะทิ้งก็ทิ้งก็ได้เหรอ!? [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ตุลาคม 3]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tei.or.th/th/highlight_detail.php?event_id=1146

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติสําหรับสถานศึกษา ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ตุลาคม 3]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pidst.or.th/A907.html

Sommer C, Resch B, Simões EAF. Risk factors for severe respiratory syncytial virus lower respiratory tract infection. Open Microbiol J. 2011; 5(2):144-54. doi: 10.2174/1874285801105010144.

Sun Y, Sundell J. Early daycare attendance increase the risk for respiratory infections and asthma of children. J Asthma. 2011 Oct;48(8):790-6. doi: 10.3109/02770903.2011.604884.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30:607-10. doi: 10.1177/001316447003000308.

Bloom B. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston;1971.

สิน พันธุ์พินิจ. เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2553.

Susastriawan AAP, Saptoadi H, Purnomo. Small-scale downdraft gasifiers for biomass gasification: A review. Renewable and Sustainable Energy Reviews. 2017;76:989-1003. doi: 10.1016/j.rser.2017.03.112.

United States Environmental Protection Agency (US EPA). Health and environmental effects of particulate matter (PM) [Internet]. No date [Retrieved 2020 Sep. 5]. Avaiable from: https://www.epa.gov/pm-pollution/health-and-environmental-effects-particulate-matter-pm s

สุภชา คำเขียน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร ในโรงพยาบาลพิจิตร. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563; 5(9):125-39.

ธงชัย มั่นคง. พฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2560;13(1):37-50.

พูนพนิต โอ่เอี่ยม. พฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรและเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารวิทยบริการ. 2556;24(4):126-34.

ฮุสนา โรมินทร์. การศึกษาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในคลินิก จังหวัดภูเก็ต [วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

ประสาท รุจิรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาลวังน้ำเขียว. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 2562;5(2):35-52.

วันวิสาข์ คงพิรุณ, สรัญญา ถี่ป้อม, วิโรจน์ จันทร. ปัจจัยทีมีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในหมู่บ้านโป่งปะ ตําบลแก่งโสภา อําเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560;26(2): 310-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-05