การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการพัฒนาความรอบรู้ด้วยหลักสูตร “CG เชี่ยวชาญ” ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ สาวีรัมย์ สาธารณสุขอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต และดัชนีความสุขของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver-CG) โดยการอบรมหลักสูตร “CG เชี่ยวชาญ” ระยะเวลา 1 สัปดาห์ แบ่งเป็น ภาคทฤษฎี 4 วัน และภาคปฏิบัติ 3 วัน เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย 1) การฟื้นฟูความรู้ตามมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ 2) การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ 6 ด้าน สำหรับผู้สูงอายุ 3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 4 ด้าน
4) การสร้างสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงอายุ และ 5) การฝึกปฏิบัติเพิ่มทักษะในทุกด้านที่อบรมภาคทฤษฎี ผู้ดูแลผู้สูงอายุปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้วยระบบสนับสนุนและเสริมพลังจากทีมพี่เลี้ยง และได้รับการกำกับติดตามประเมินผลโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุคือ แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย ที่มี ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และแบบวัดดัชนีชี้วัดความสุข ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 ผู้วิจัยดำเนินการระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม 2564 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ประกอบด้วยผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 192 คน และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 273 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแลโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.000 (t=10.193, p<0.001) และมีคะแนนดัชนีชี้วัดความสุขเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.000 (t =20.397, p<0.001)

ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการพัฒนาหลักสูตร CG เชี่ยวชาญ ให้เป็นหลักสูตรต่อยอดในการพัฒนา ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้มีความรู้ มีศักยภาพ และทักษะ ในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้ในอนาคต

Author Biography

ประเสริฐ สาวีรัมย์, สาธารณสุขอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

สาธารณสุขอำเภอ (นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ)

References

เกศกนก จงรัตน์, ศรีธยา ฤทธิ์ช่วยรอด, นันทวุฒิ วงศ์เมฆ, นิพนธ์ รัตนคช. ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(6):1013-9.

สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. รายงานการประชุมโครงการประชุมวิชาการบริการปฐมภูมิเรื่องการพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน; 2552.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. คู่มือการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองบุรีรัมย์. สรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุ. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองบุรีรัมย์; 2564.

วชิระ เพ็งจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. ในเอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ บุคลากรกรมอนามัย; 19 มีนาคม 2561; กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการอบรมฟื้นฟู Caregiver หลักสูตร 70 ชั่วโมง.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์; 2560.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. Health Literacy ความรอบรู้ด้านสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 พฤษภาคม 17]. เข้าถึงได้จาก: https://planning.anamai.moph.go.th/main.php?filename=data_hl

วัชราพร เชยสุวรรณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล.วารสารแพทย์นาวี 2560;44(3):183-97.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, พิมพิมล วงศ์ไชยา. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน.วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2560;36(6):193-200.

Yamane T. Statistic: An introductory analysis. 3rd ed. Tokyo: Harper International;1975.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่; 2540.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ :บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด; 2561.

กานต์วรี กอบสุข. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านโคกบรรเลง ตำบลบุฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.

วิโชติ ผ้าผิวดี. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยภาคีผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหนองเสือ ตำบลศรีสุข อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.

พิณีวรรณ์ บูรณ์เจริญ. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านลุมพุก ตำบลนาดี อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.

ทรงยศ แจ้งเจริญ. โปรแกรมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้วัดส่งเสริมสุขภาพเป็นฐาน [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01