ผลของโปรแกรมลดสิ่งก่อความเครียดร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม ต่อความเครียดและอายุครรภ์เมื่อคลอดของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา
คำสำคัญ:
การสนับสนุนทางสังคม, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, ความเครียด, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่งผลให้เกิดความเครียดสูง ซึ่งการลดความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ขณะนอนโรงพยาบาลนั้นสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมลดสิ่งก่อความเครียดขณะนอนโรงพยาบาล ร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม ต่อความเครียดและอายุครรภ์เมื่อคลอด กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำนวน 54 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คุณสมบัติการคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมลดสิ่งก่อความเครียดขณะนอนโรงพยาบาลร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสิ่งก่อความเครียดขณะพักรักษาในโรงพยาบาลของหญิงตั้งครรภ์ก่อนกำหนดคลอด ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.91 ทำการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มด้วยสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.001) และมีค่าเฉลี่ยอายุครรภ์เมื่อคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.009) ผลการวิจัยนี้เสนอแนะให้นำโปรแกรมลดสิ่งก่อความเครียดขณะนอนโรงพยาบาล ร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมไปใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เพื่อลดความเครียดและสามารถตั้งครรภ์จนอายุครรภ์ครบกำหนดคลอดได้
References
World Health Organization. Preterm birth [Internet]. 2018 [cited 2020 Sep 9]. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth.
World Health Organization. Global Preterm birth Estimates [Internet]. 2018 [cited 2020 Sep 9]. Available from: https://ptb.srhr.org/
Chawanpaiboon S, Vogel JP, Moller A-B, Lumbiganon P, Petzold M, Hogan D, et al. Global, regional, and national estimates of levels of preterm birth in 2014: a systematic review and modelling analysis. Lancet Glob Health 2019;7(1):e37-46.
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) Health outcome ตัวชี้วัดกำกับติดตาม: KPI 6 ลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2563 กันยายน 9]:[หน้า 469-74]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.104.68/e-insreport/document_summarize.php
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เอกสารประกอบการตรวจราชการกรณีปกติ รอบ 2/2562 วันที่ 5 - 7 มิถุนายน 2562: คณะที่ 2 การพัฒนาระบบบริการ (Service plan) หัวข้อ สาขาสูติกรรม [Internet]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 กันยายน 9]:[หน้า 285-89]. เข้าถึงได้จาก: http://odpc9.ddc.moph.go.th/Region9/region9.htm
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Dashe JS, Hoffman BL, Casey BM, Spong CY. Williams’s obstetrics. (25th). NY: McGraw Hill Education; 2018.
Gray BA. A Ticking Uterus: How Nurses Can Identify, Treat and Prevent Preterm Labor. Nursing for Women's Health 2006;10(5):380-9.
Coussons-Read ME, Okun ML, Nettles CD. Psychosocial stress increases inflammatory markers and alters cytokine production across pregnancy. Brain Behav Immun Health 2007;21(3):343-50.
Lilliecreutz C, Larén J, Sydsjö G, Josefsson A. Effect of maternal stress during pregnancy on the risk for preterm birth. BMC pregnancy and childbirth 2016;16(1):1-8.
Oakes MC, Chubiz J, Passafiume O, Bedrick B, England SK, Macones GA, et al. 1125: First trimester stress and depression as risk factors for preterm birth. American Journal of Obstetrics & Gynecology 2020;222(1):S692-3.
Staneva A, Bogossian F, Pritchard M, Wittkowski A. The effects of maternal depression, anxiety, and perceived stress during pregnancy on preterm birth: A systematic review. Women and Birth 2015;28(3):179-93.
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. การดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดและถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด (The management of preterm labour and preterm premature rupture of membranes) [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2563 กันยายน 9]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtcog.or.th/home/cpg/1380/
ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์. ตำราสูติศาสตร์ Modern textbook of obstetrics. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2560.
ศิริวรรณ แสงอินทร์. การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2557;22(1):27-38.
วิภาภรณ์ ติ๊บปาละ. การเปลี่ยนแปลงสิ่งก่อความเครียดของสตรีที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสตรี บัณฑิตวิทยาลัย]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.
สุรัชนา พงษ์ปรสุวรรณ์. การลดความเครียดโดยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่สารกับครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง บัณฑิตวิทยาลัย]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
บุญมี ภูด่านงัว, เกื้อพันธ์ กลั่นการดี, รำไพ เกตุจิระโชติ. ประสบการณ์การนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของมารดาหลังคลอดด้วยภาวะเลือดออกก่อนคลอดจากรกเกาะต่ำ: การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารการพยาบาล 2558;30(3):80-97.
Maloni JA, Kutil RM. Antepartum support group for women hospitalized on bed rest. MCN: The American Journal of Maternal/Child Nursing 2000;25(4):204-10.
Walker KF, Thornton JG. Tocolysis and preterm labour. The Lancet 2016;387(10033):2068-70.
Rubarth LB, Schoening AM, Cosimano A, Sandhurst H. Women's experience of hospitalized bed rest during high‐risk pregnancy. JOGN Nurs 2012;41(3):398-407.
White M, Ritchie J. Psychological stressors in antepartum hospitalization: Reports from pregnant women. Matern Child Nurs J 1984;13:47-56.
Pinar SE, Ucar N. Mental health status of the women with risky pregnancies in the hospital and affecting factors. Int J Caring Sci 2017;10(3):1426-33.
Ucar N, Pinar SE. The hospital stressors and depression, anxiety levels in pregnant women hospitalized due to preterm delivery: A follow‐up study. Perspect Psychiatr Care 2020;56(2):290-6.
อัสมะ จารู, วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2562;39(1):79-92.
จันทร์จีรา กลมมา, ฉวี เบาทรวง, นันทพร แสนศิริพันธ์. ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. พยาบาลสาร 2560;44(3):9-18.
House JS. Work stress and social support. California: Addison-Wesley; 1981.
Buelow JM. A correlational study of disabilities, stressors and coping methods in victims of multiple sclerosis. J Neurosci Nurs 1991;23(4):247-52.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์ มีเดีย; 2550.
Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. G* Power Version 3.1. 9.2. Schleswig-Holstein, Germany: University of Kiel; 2014.
ลักษคณา เจริญราษฎร์, ฉวี เบาทรวง ,นันทพร แสนศิริพันธ์. การสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกไม่แน่นอน และการเผชิญความเครียดในสตรีที่่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด. พยาบาลสาร 2560;48(1):222-33.
อัญชลี จิตราภิรมย์, จิรภา เสถียรพงศ์ประภา, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น. ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกผ่อนคลายและการให้ความรู้สำหรับสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์ คลอดก่อนกำหนด. พยาบาลสาร 2561;45(4):47-55.
Pairman S, McAra-Couper J. Theoretical frameworks for midwifery practice. Australia: Elsevier Australia; 2015.
Mariano C. Holistic nursing as a specialty: holistic nursing-scope and standards of practice. Nursing Clinics of North America 2007;42(2):165-88.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9