การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวและเข้าถึงบริการ สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การดูแลระยะยาว, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การเข้าถึงบริการบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินประสิทธิผลระบบการดูแล
ระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการเดือนมกราคม 2560 ถึงกันยายน 2563 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาตามกรอบแนวคิด PIRAB 2) ออกแบบพัฒนาระบบ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีระบบ 3) ดำเนินการตามระบบที่วางไว้ 4) ปรับปรุงระบบ 5) นำระบบไปใช้จริง ประเมินประสิทธิผล และปัจจัยแห่งความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้บริการทางสาธารณสุข ผู้รับผิดชอบงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง รวบรวมข้อมูลโดยรายงานการจัดทำแผนรายบุคคลของผู้สูงอายุ เกณฑ์ตำบล Long Term Care (LTC) แบบประเมิน Activities of Daily Living (ADL) และแบบสอบถามเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษา ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1) กระบวนการนำเข้า: ระบบการเงินการคลัง การบริหารทรัพยากร การบริหารจัดการกำลังคน การบริหารจัดการ และระบบฐานข้อมูล (2) กระบวนการดำเนินงาน: กลไกการขับเคลื่อนของท้องถิ่น การจัดบริการในหน่วยบริการและในชุมชน และระบบพี่เลี้ยง(3) กระบวนการประเมินผล: ประเมินประสิทธิผลจาก (1) ผู้สูงอายุมี ADL เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.29 เป็น ร้อยละ 33.27 (2) การดำเนินงานตำบล LTC ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 99.47 (188/189 ตำบล) (3) ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเข้าสู่ระบบ LTC เพิ่มขึ้นจาก 373 คน เป็น 6,307 คน และ (4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมกองทุน LTC เพิ่มขึ้นจาก 51 แห่งเป็น 207 แห่ง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ 1) กลไกขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) 2) ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความมั่นใจในการดูแล 3) มีระบบพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษา และ 4) การติดตามเยี่ยมพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จึงควรพัฒนาความร่วมมือทุกภาคส่วน และสนับสนุนกำลังคนในการดูแล เพื่อผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
References
ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ปิยะดา คูหิรัญญรัตน์, ธารา รัตนอำนวยศิริ, นวลละออง ทองโคตร. ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care: LTC). ขอนแก่น: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
เชาวลิต นคาสวัสดิ์, อภิชัย คุณีพงษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชาสังคมตำบลไทรทอง อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. วารสารสุขภาพภาคประชาชนภาคกลาง. 2563;34(2):30-7.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สรุประบบการดูแลระยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงใน ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการสนับสนุนงบประมาณปี 2559 [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 2560 มกราคม 19]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/fund_ltc03.pdf
Hfocus. วิจัยเสนอ 6 ข้อ พัฒนาระบบ LTC ระเบียบใช้เงินต้องชัด-ขยายครอบคลุมทุกสิทธิไม่เฉพาะแค่บัตรทอง [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2561 มีนาคม 1]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.hfocus.org/content/2018/10/16485
สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. Long Term Care การดูแลระยะยาว เพื่อพึ่งพิงอย่าง มีคุณภาพในสังคมไทย. นนทบุรี: สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ; 2563.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์, นงลักษณ์ พะไกยะ, วาสินี วิเศษฤทธิ์. การประมาณการณ์และแนวโน้มกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2562;19: 9-21.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาว ด้าน สาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงใน ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559.
สำนักงานหลักประกันสุขภพแห่งชาติ เขต 4 สระบุรี. คู่มือแนวทางการดำเนินงานระบบบริการดูแล ระยะยาว ด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงใน ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สระบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภพแห่งชาติ เขต 4 สระบุรี; 2559.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. เอกสารประกอบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการ ดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2559. (เอกสารอัดสำเนา)
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วิชช์ เกษมทรัพย์, วิชัย เอกพลากร, บวรศม ลีระพันธ์. การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ดีเซมเบอรี่ จำกัด; 2561.
ชนวนทอง ธนสุกาญจน์. องค์กรแห่งความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy). นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ระบบดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC). [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2561 มีนาคม 2]. เข้าถึงได้จาก: http://ltc.nhso.go.th/ltc/#/login
นงลักษณ์ พะไกยะ. ความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2561 มีนาคม 1]. เข้าถึงได้จาก:
https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/2544/hs1573.pdf?sequence=3&isAllowed=y
GNews. สปสช. จัดเวทีระดมสมอง “พี่เลี้ยง กปท.” ปี 63 เร่งรุก 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2562 ธันวาคม 12]. เข้าถึงได้จาก: https://gnews.apps.go.th/news?news=51057
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานความก้าวหน้าความร่วมมือการพัฒนาระบบข้อมูลและผลการดำเนินงานตามโปรแกรม LTC (3C) [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2562 ธันวาคม 12]. เข้าถึงได้จาก: https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-5.3-%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1-LTC.pdf
ศิราณี ศรีหาภาค, ธารา รัตนอำนวยศิริ, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์, นวลละออง
ทองโคตร. รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสาน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2562 ธันวาคม 12]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4888?locale-attribute=th
ยศ วัชระคุปต์, วรรณภา คุณากรวงศ์, พสิษฐ์ พัจนา, สาวิณี สุริยันรัตกร. ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561;12(4):608-24.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น. รายงานผลการดำเนินงานกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น ปี 2560. (เอกสารอัดสำเนา)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9