ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากร อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อม, วัยก่อนสูงอายุ, ปัจจัยด้านครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 376 คนซึ่งสุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลคุณลักษณะประชากร ปัจจัยครอบครัวและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วย จำนวน ร้อยละ ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมใช้สถิติถดถอยโลจิสติกส์แบบทวิด้วยวิธี Enter
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72.4) อายุ 30-44ปี (ร้อยละ 52.4) รายได้ 10,000 บาทขึ้นไป (ร้อยละ 98.9) ส่วนการเตรียมความพร้อมโดยรวม พบว่าส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อม (ร้อยละ 94.4) แต่ยังพบว่ากลุ่มที่มีการเตรียมความพร้อมยังมีภาระหนี้สินครัวเรือน (ร้อยละ 91.8) และกลุ่มที่ไม่มีการเตรียมความพร้อม (ร้อยละ 90.5) เช่นกัน เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อม พบว่าปัจจัยคุณลักษณะประชากรมีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเฉพาะปัจจัยด้านโรคประจำตัว การตรวจสุขภาพประจำปี ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ส่วนปัจจัยครอบครัวมีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะรายได้ของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว และระยะเวลาที่อาศัยในชุมชน การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรมีแนวทางการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-29 ปีที่ยังมีหนี้สินครอบครัว แม้ว่ากลุ่มนี้เป็นวัยแรงงานที่สามารถทำงานและมีรายได้แต่ก็ยังมีหนี้สินทำให้ไม่สามารถวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุได้
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: 2562.
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม care plan [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ตุลาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1392
พรทิพย์ สารีโส. สถานการณ์ปัญหาสุขภาพและความต้องการการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2560;40(2):85-95.
ปิยะภร ไพรสนธิ์. ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องพึ่งพิง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2560;40(4):60-71.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ประชากรและเคหะ. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ธันวาคม 1]. เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รอบรู้สุขภาพวัยทำงาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 1]. เข้าถึงได้จาก: https://dopah.anamai.moph.go.th/th/e-book/3420#wow-book/
ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง. การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;38(2):53-62.
Amarya S, Singh K, Sabharwal M. Ageing Process and Physiological Changes. In Gerontology. Intech. [serial online]. 2018 [cited 2020 Oct 5]. Available from: https://doi.org/10.5772/intechopen.76249.
กชกร ศิวปรียากูล. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2563;3(1):1-14
Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30(3):607-10.
บุญชม ศรีสะอาด. วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2556.
Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
อารีย์ สงวนชื่อ, พิชสุดา เดชบุญ, รัตนาภรณ์ อาษา, พิชญาวดี ศรีธนต์, ศศิธร นวนเทศ, ณัชชา คงมั่น. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมของวัยแรงงานเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในเขตโรงงานอุตสาหกรรม อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2561;43(4):105-9.
วิจิตร แผ่นทอง. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม เพื่อรองรับระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพอำเภอ. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา 2563;21(2):118-31.
นงเยาว์ มีเทียน, อภิญญา วงศ์พิริยโยธา. ปัจจัยทำนายพฤฒพลังในผู้ใหญ่วัยกลางคนเขตกึ่งเมือง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36(2):123-31.
ญภัทรา ภูรภัทเกียรติกุล, ธีรเดช สนองทวีพร. สภาวะการออมของประชาชนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการและวิจัยมทร. พระนครสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2562;4(2):1-4.
ประไพพิศ สิงหเสม, พอเพ็ญ ไกรนรา, วรารัตน์ ทิพย์รัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ 2562;11(1):37-51.
เบญจวรรณ สอนอาจ. แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พ.ย. 10]. เข้าถึงได้จาก: http://ithesisir.su.ac.th/dspace/bitstream
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์; 2561.
กาญจนา สนิท, นาวิน พรมใจสา, ศิวาพร วังสมบัติ. แนวทางการเตรียมพร้อมเข้าสู่อายุของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2560;10(2):31-48.
ภาณุวัฒน์ มีชะนะ, ณิชชาภัทร ขันสาคร, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, เพ็ญศรี พิชัยสนิธ. การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560;11(1):259-71.
สุเทพ ศรีนุช, พูนชัย ปันธิยะ, พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเป็นสุข. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2563;5(3): 136-49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9