ผลต่ออาการปวดเข่า และการทรงตัว ระหว่างการพอกเข่าด้วยสมุนไพร และการพอกเย็น ในผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อม ในชุมชนวัดหูช้าง

ผู้แต่ง

  • ทัศพร พันธ์งอก, พ.บ. โรงพยาบาลบางกรวย จ.นนทบุรี
  • ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์, พ.บ. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
  • ภาคภูมิ รัศมีหิรัญ, พ.บ. โรงพยาบาลบางกรวย จ.นนทบุรี
  • ธนกมณ ลีศรี, Ph.D. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ข้อเข่าเสื่อม, อาการปวดเข่า, การทรงตัว, การพอกเข่าด้วยสมุนไพร, การพอกเย็น

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีการพอกเข่าด้วยสมุนไพรกันแพร่หลาย แต่ข้อมูลการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยวิธีพอกเย็นมีอยู่จำกัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการปวดเข่า และ
การทรงตัวในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม โดยประเมินก่อนและหลังการพอกสมุนไพร เปรียบเทียบกับการพอกเย็นในชุมชนวัดหูช้าง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ทำวิจัยช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2564 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้แบบประเมินอาการผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมฉบับภาษาไทย และทดสอบช่วงเวลา
ในการลุกเดิน โดยวัดผลก่อนและหลังทดลองในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมอายุ 45-80 ปี โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน รวม 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป ด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต Chi-square และ t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05

ผลการศึกษาพบว่าการพอกเข่าทั้ง 2 วิธี ช่วยลดอาการปวดเข่า อาการฝืดของข้อเข่า ช่วยเพิ่มความสามารถใช้งานข้อเข่า และช่วยลดระยะเวลาในการลุกเดินได้ทั้งคู่ โดยประสิทธิผลของทั้ง 2 วิธี ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.05

การพอกเข่าด้วยสมุนไพรและการพอกเย็นมีประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน จึงควรแนะนำในเบื้องต้นให้ใช้วิธีการพอกเย็นก่อนเนื่องจากเป็นการพอกที่หาวัสดุได้ง่าย ร่วมกับออกกำลังบริหารข้อเข่าเพื่อลดอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

Author Biographies

ทัศพร พันธ์งอก, พ.บ., โรงพยาบาลบางกรวย จ.นนทบุรี

นายแพทย์ปฏิบัติการ

ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์, พ.บ., กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

ภาคภูมิ รัศมีหิรัญ, พ.บ., โรงพยาบาลบางกรวย จ.นนทบุรี

นายแพทย์ชำนาญการ

ธนกมณ ลีศรี, Ph.D., สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

ภุชพงค์ โนดไธสง. แถลงข่าว "สถิติบอกอะไร ผู้สูงวัยปัจจุบันและอนาคต" [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มีนาคม 10]. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. [เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites

/2014/DocLib14/News/2561/04-61/N10-04-61-1.pdf.

สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มีนาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.

วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. เรื่องควรรู้ของยาบรรเทาอาการข้ออักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มีนาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/

files/0472.pdf.

สุรัติ เล็กอุทัย, วิเชียร ตันสุวรรณนนท์, ชาดา เสรีคชหิรัญ, ผดุงศักดิ์ บัวคำ. การประคบสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดกระดูกและข้อเข่าเสื่อมอักเสบ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2551;6:219-28.

ปิยะผล พูลสุข, สุชาดา ทรงผาสุก, เมริษา จันทา, เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์, กิตรวี จิรรัตน์สถิต. ประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2561;18(1):104-11.

ชัยญา นพคุณวิจัย. ประสิทธิผลของการพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 "GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019"; 2562: 944-51.

ศิลดา การะเกตุ, นิชกานต์ สุยะราช, พัชรินทร์ ใจดี, สมบัติ กาศเมฆ, สุนทร พรมเผ่า, ผณิตา ประวัง. การศึกษาเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังจากการรักษาโคลนสมุนไพรพอกเย็นร่วมกับการนวดแผนไทยในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า. เชียงรายเวชสาร. 2560;9(2):115-24.

เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์, วินัย สยอวรรณ, วรายุส คตวงค์, ณัฐสุดา แก้ววิเศษ, อิศรา ศิรมณีรัตน์. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับยาพอกสูตรที่ 1 กับยาพอกสูตรที่ 2 ต่ออาการปวดเข่าและการเคลื่อนไหวข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2562;11(1):64-72.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน, นพนัฐ จำปาเทศ, รัชนี นามจันทรา, นิภาพร เหล่าชา, สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุ ที่มีถาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเทศบาลตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก วิชาการ. 2559;19(38):1-12.

ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย; 2554.

Bin Sheeha B, Williams A, Johnson DS, Granat M, Bin Nasser A, Jones R. Responsiveness, Reliability, and Validity of Arabic Version of Oxford Knee Score for Total Knee Arthroplasty. J Bone Joint Surg Am. 2020;102(15):e89.

Yang KG, Raijmakers NJ, Verbout AJ, Dhert WJ, Saris DB. Validation of the short-form WOMAC function scale for the evaluation of osteoarthritis of the knee. J Bone Joint Surg Br. 2007;89(1):50-6

นงพิมล นิมิตรอานันท์. สถานการณ์ทางระบาดวิทยาและการประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมในคนไทย. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3):185-94.

ชุติมา ชลายนเดชะ. คัดกรองการล้มด้วย Timed Up and Go Test (TUG). วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2557;26(1):5-16.

ปรัชญพร คำเมือลือ. บทที่ 1 เครื่องมือทางกายภาพบำบัด (Physical modality). 2559. ใน: เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา พคพ 516 เวชศาสตร์ฟื้นฟูสำหรับนักศึกษาแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มีนาคม 10] ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/rehab/images/Study_guide/10_1%20Physical%

modalities_PK.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-17