การศึกษาการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนนโยบาย โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, นโยบายสุขภาพ, สุขภาพมารดาและเด็กบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต พื้นที่ในการศึกษาคือพื้นที่นำร่องในปี 2561–2563 จำนวน 3 อำเภอ 7 ตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ภาคีเครือข่ายจำนวน 60 คน หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานแล้วจำนวน 2,619 คน หญิงตั้งครรภ์จำนวน 676 คน หญิงที่คลอดบุตรจำนวน 661 คน และ เด็กอายุ 0–2 ปีจำนวน 2,252 คน จากประชากรที่มีอยู่จริงในพื้นที่เป้าหมาย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสาร การสังเกต บันทึกการสนทนากลุ่ม การถอดบทเรียนทั้งโครงการ และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Chi-square test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตที่เหมาะสมมีองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ 1) ด้านความเข้มแข็งของผู้นำในชุมชนและความสนใจในเรื่องสุขภาวะ 2) ด้านความเข้มแข็งของชุมชน 3) ด้านรูปแบบการดำเนินงาน 4) ด้านความร่วมมือของประชาชน และ 5) ด้านการดำเนินงานแบบบูรณาการในพื้นที่ ผลการประเมินการขับเคลื่อนนโยบาย 1) ด้านบริหารจัดการ มีการแต่งตั้งคณะทำงานตำบลในการขับเคลื่อน จัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มีทิศทางนโยบายส่งเสริมสุขภาพที่ชัดเจนและสอดคล้องกับปัญหา 2) ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีการจัดทำแผนงานการขับเคลื่อน ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมทางสุขภาพและกิจกรรมทางสังคม 3) ด้านผลผลิตและผลลัพธ์ พบว่าภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและหญิงตั้งครรภ์มีความพึงพอใจการต่อการมีส่วนร่วมในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การดำเนินงานก่อนและหลังการขับเคลื่อนโครงการพบว่า หลังการขับเคลื่อนโครงการ อัตราหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ อัตราหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน 6 เดือน และ เด็กอายุ 0–2 ปี มีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ0.05 4) ด้านผลกระทบพบว่า เด็ก 0-2 ปี มีการเจริญเติบโตเป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมาย ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จคือการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกัน กิจกรรมการแก้ไขปัญหาเกิดจากการใช้ข้อมูลจริง จึงเสนอแนะให้นำรูปแบบการดำเนินงานดังกล่าวขยายผลดำเนินงานให้เต็มพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์
References
กรมอนามัย. รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.
กรมอนามัย.แนวทางการขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต. กรุงเทพฯ: เอวีโปรแกรสซีฟ; 2561.
ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. การขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตของ เขตสุขภาพที่ 9. นครราชสีมา: ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา; 2561.
กรมสุขภาพจิต.แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). นนทบุรี: สานักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต; 2559.
กรมอนามัย.รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.
ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. การขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตของ เขตสุขภาพที่ 9. นครราชสีมา: ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา; 2561.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. สรุปรายงานประจำปีกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดสุรินทร์ปี 2561. สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2561.
ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. รายงานการขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต.ขอนแก่น: ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ;2561.
ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579 เขตสุขภาพที่ 9.นครราชสีมา : ศูนย์อนามัยที่ 9 ; 2559.
ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา.โครงการ “พัฒนาอนามัยสตรีและเด็กปฐมวัย เพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย สูงดีสมส่วนและพัฒนาการสมวัย. นครราชสีมา: ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา; 2562.
กมล สุดประเสริฐ. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์; 2537.
Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika. 1951;16(3):297-334.
นิลภา จิระรัตนวรรณะ, สุคนธ์ วรรธนะอมร, ศรีสุดา รัศมีพงศ์. การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพ.วารสารคณะพลศึกษา.2560; 15 (ฉบับพิเศษ): 179-88.
สุมาลี กลิ่นแมน, ธัญยธรณ์ รุจิรัตน์ธีรกุล. การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครสวรรค์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2562; 15(36): 115-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9