ผลของการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพต่อผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบางกรวย

ผู้แต่ง

  • พงษ์นรินทร์ เหล็กกล้า, พ.บ. โรงพยาบาลบางกรวย
  • ธาตรี โบสิทธิพิเชฏฐ์, พ.บ. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
  • นงนุช อุดมสินค้า, พย.บ. โรงพยาบาลบางกรวย
  • อรพรรณ เห่งนาเลน, พย.บ. โรงพยาบาลบางกรวย
  • นรินทรา เทียบพิมพ์, วท.ม. โรงพยาบาลบางกรวย
  • ชานนท์ รุ่งรัตน์จินดาหาญ, รป.บ. โรงพยาบาลบางกรวย
  • ธนกมณ ลีศรี, Ph.D. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, การดูแลแบบสหวิชาชีพ, คลินิกปฐมภูมิและองค์รวม

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้มากและก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้หลากหลาย และการรักษาโรคเบาหวานมีอยู่หลายวิธีหนึ่งในนั้นมีการดูแลผู้ป่วยแบบสหวิชาชีพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยวิธีการดูแลแบบสหวิชาชีพที่คลินิกปฐมภูมิ และ  องค์รวม โรงพยาบาลบางกรวยนนทบุรีในช่วงปี พ.ศ. 2562–2564 ผู้วิจัยศึกษาโดยการทบทวนเวชระเบียนการรักษา (Retrospective medical record review research) โดยวิธีการดำเนินการทดลอง ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ของโรงพยาบาลบางกรวยที่บันทึกข้อมูลของระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System) โปรแกรม HosXP เกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion criteria) คือข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มาทำการรักษาที่คลินิกปฐมภูมิโรงพยาบาลบางกรวยที่มีผล
การวัดความดันโลหิตและผลตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร (Fasting blood sugar: FBS), น้ำตาลสะสมในเลือด (Hemoglobin A1C: HbA1C), คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ(Low density lipoprotein: LDL) ในช่วงก่อนที่จะได้รับการดูแลรักษาโดยสหวิชาชีพ (ตุลาคม - ธันวาคม 2562) และในช่วงหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลโดยสหวิชาชีพแล้ว (ตุลาคม - ธันวาคม 2564)           

ผลการศึกษา ไม่พบการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร (FBS), น้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C), คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) แต่พบการเพิ่มขึ้นของ
ความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการดูแลผู้ป่วยโดยสหวิชาชีพ ไม่พบประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญททางสถิติในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยวิธีการดูแลแบบสหวิชาชีพ
แต่อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่คุมเบาหวานได้ไม่ดี

Author Biographies

พงษ์นรินทร์ เหล็กกล้า, พ.บ., โรงพยาบาลบางกรวย

นายแพทย์ปฏิบัติการ

ธาตรี โบสิทธิพิเชฏฐ์, พ.บ., กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

นงนุช อุดมสินค้า, พย.บ., โรงพยาบาลบางกรวย

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

อรพรรณ เห่งนาเลน, พย.บ., โรงพยาบาลบางกรวย

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

นรินทรา เทียบพิมพ์, วท.ม., โรงพยาบาลบางกรวย

นักกำหนดอาหาร

ชานนท์ รุ่งรัตน์จินดาหาญ, รป.บ., โรงพยาบาลบางกรวย

พนักงานบริการ

ธนกมณ ลีศรี, Ph.D., สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

King H. WHO and the International Diabetes Federation: regional partners. Bulletin of the World health organization [internet]. 1999 [cited 2022 Jan 02]. Available from: https://www.who.int/bulletin/archives/77%2812%29954.pdf

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

ปฐมพร ศิรประภาศิริ, สันติ ลาภเบญจกุล, ดวงดาว ศรียากูล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์, จุรีพร คงประเสริฐ. คู่มือการจัดการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน). นนทบุรี: กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

Zwar NA, Hermiz O, Comino EJ, Shortus T, Burns J, Harris M. Do multidisciplinary care plans result in better care for patients with type 2 diabetes? Aust Fam Physician. 2007 Jan-Feb;36(1-2):85-9.

Keers JC, Groen H, Sluiter WJ, Bouma J, Links TP. Cost and benefits of a multidisciplinary intensive diabetes education programme. J Eval Clin Pract. 2005;11(3):293-303. doi: 10.1111/j.1365-2753.2005.00536.x.

Mitchell LJ, Ball LE, Ross LJ, Barnes KA, Williams LT. Effectiveness of Dietetic Consultations in Primary Health Care: A Systematic Review of Randomized Controlled Trials. J Acad Nutr Diet. 2017;117(12):1941-1962. doi: 10.1016/j.jand.2017.06.364.

Levetan CS, Salas JR, Wilets IF, Zumoff B. Impact of endocrine and diabetes team consultation on hospital length of stay for patients with diabetes. Am J Med. 1995 Jul;99(1):22-8. doi: 10.1016/s0002-9343(99)80100-4.

Tan E, Khoo J, Gani LU, Malakar RD, Tay TL, Tirukonda PS, Kam JW, Tin AS, Tang TY. Effect of multidisciplinary intensive targeted care in improving diabetes mellitus outcomes: a randomized controlled pilot study - the Integrated Diabetes Education, Awareness and Lifestyle modification in Singapore (IDEALS) Program. Trials. 2019 Sep 2;20(1):549. doi: 10.1186/s13063-019-3601-3.

Leite RGOF, Banzato LR, Galendi JSC, Mendes AL, Bolfi F, Veroniki AA, Thabane L, Nunes-Nogueira VDS. Effectiveness of non-pharmacological strategies in the management of type 2 diabetes in primary care: a protocol for a systematic review and network meta-analysis. BMJ Open. 2020 Jan 12;10(1):e034481. doi: 10.1136/bmjopen-2019-034481.

Tahaineh L, Albsoul-Younes A, Al-Ashqar E, Habeb A. The role of clinical pharmacist on lipid control in dyslipidemic patients in North of Jordan. Int J Clin Pharm. 2011 Apr;33(2):229-36. doi: 10.1007/s11096-011-9479-0.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-28