ผลการใช้แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาความรู้และการตัดสินทางคลินิกสำหรับนักศึกษาพยาบาล ในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • จรูญศรี มีหนองหว้า สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • วิษณุ จันทร์สด สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ไวยพร พรมวงค์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, ความรู้, การตัดสินทางคลินิก, ภาวะสับสนเฉียบพลัน, ผู้ป่วยสูงอายุ

บทคัดย่อ

ภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุมักเกิดขึ้นขณะมีการเจ็บป่วยและเข้ารักษาในโรงพยาบาล
ซึ่งนักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันอย่างเหมาะสม การเพิ่มเติมความรู้เรื่องภาวะสับสนเฉียบพลันให้กับนักศึกษาพยาบาลในรูปแบบที่ทันสมัยและทันต่อการดูแลจะช่วยให้นักศึกษาพยาบาลเกิดความมั่นใจมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาความรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลัน และ2) ศึกษาผลการใช้แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาการตัดสินทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลัน รูปแบบวิจัยเป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 80 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้เรื่องภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุและแบบวัดการตัดสินทางคลินิก ส่วนเครื่องมือที่ใช้ทดลอง คือ แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาความรู้และการตัดสินทางคลินิกสำหรับนักศึกษาพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่มี
ภาวะสับสนเฉียบพลัน ซึ่งพัฒนาโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงบรรยาย และ Paired t-test

ผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษานี้มี 3 ประเด็นดังนี้ หลังการใช้แอปพลิเคชั่น พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความรู้ (gif.latex?\bar{X}=12.31, SD=3.01) สูงกว่าก่อนใช้แอพพลิเคชัน (gif.latex?\bar{X}=8.66, SD=2.92) และการตัดสินทางคลินิก (gif.latex?\bar{X}=6.58, SD=2.39) สูงกว่าก่อนใช้แอพลิเคชัน (gif.latex?\bar{X}=5.09, SD=1.99) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.001 และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.37, SD=0.62) การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้แอปพลิเคชันช่วยพัฒนาความรู้และการตัดสินทางคลินิกได้ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาพยาบาลมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันได้อย่างเหมาะสมต่อไป

Author Biographies

จรูญศรี มีหนองหว้า, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

อาจารย์

วิษณุ จันทร์สด, สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

อาจารย์

ไวยพร พรมวงค์, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

อาจารย์

References

Inouye SK, Bogardus Jr ST, Charpentier PA, Leo-Summers L, Acampora D, Holford TR, et al. A multicomponent intervention to prevent delirium in hospitalized older patients. New England Journal of medicine. 1999;340(9):669-76.

Akechi TO. Delirium Training Program for Nurses. Psychosomatics. 2010;51(2):106-11.

Pisani MA, Murphy TE, Araujo KLB, Van Ness PH. Factors associated with persistent delirium after intensive care unit admission in an older medication patient population. Journal of Critical Care. 2010;25(3):540.e1-e7.

Horacek RP. Delirium in surgery intensive care unit. Activitas Nervosa Superior Rediviva 2011;53(53):121-33.

Lee KH, Ha YC, Lee YK, Kang H, Koo KH. Frequency, Risk Factors, and Prognosis of Prolonged Delirium in Elderly Patients after Hip Fracture Surgery. Clinical Orthopaedics and Related Research. 2011;469(9):2612-20.

Fong TG, Tulebaev SR, Inouye SK. Delirium in elderly adults: diagnosis, prevention, and treatment. Nat Rev Neuro 2009;5(4):210-20.

นงลักษณ์ พานิช, ยุภา ภูผา, ศิริญญา วัฒิวรรณผล, นัฐวิกานต์ ชาญประโคน. แนวทางการพยาบาลเพื่อตรวจภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน. กรุงเทพ: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2559.

กุลธิดา เมธาวศิน. ภาวะสับสนเฉียบพลัน การวินิจฉัย แบบประเมินและแนวทางการรักษา.วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2561;13(3):21-9.

KuKreja D, Gunther U, Popp J. Delirium in the elderly: current problems with increasing geriatric age. Indian J Med Res. 2015;142(6):655–62.

Koster S, Hensens AG, Schuurmans MJ, van der Palen J. Risk factors of delirium after cardiac surgery: A systematic review. European Journal of Cardiovascular Nursing. 2011;10(4):197-204.

Young J, Inouye SK. Delirium in older people. British Medical Journal 2007;334(7598): 842-6.

ลีต้า อาษาวิเศษ, มยุรี ลี่ทองอิน, สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562;37(4): 235-43.

Puentes WJ, Bradway CK, Aselage M. Older adult mental: Teaching Senior-level baccalaureate nursing; What they need to know. Journal of Gerontological Nursing 2010;36(7):44-53.

Inouye SK, Charpentier PA. Precipitating factors for delirium in hospitalized elderly persons: Predictive model and interrelationship with baseline vulnerability. JAMA 1996;275:852-7.

Partnership for 21st Century Skill. Framework for 21st Century Learning. (Online). 2002. [cited 2020 Oct 5]. Available from: http://www.p21.org/our-work/p21-framework

Polit DF, Beck CT. Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice (8th ed). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins; 2008.

สายสมร เฉลยกิตติ, สรินทร เชี่ยวโสธร, ญาดา นุ้ยเลิศ. การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมสื่อการสอนเสมือนจริงโดยสมาร์ทโฟน. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2562;25(1):5-25.

ดูแวยูโซะ กูจิ, อดิศร ศิริ, ธวัชศักย์ ตั้งปณิธานวัฒน์, จารึก สระอิส, ขวัญชัย ซัฒน์ศักดิ์. ผลการจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้ Zoom Application ในรายวิชาพลศึกษาสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร. 2564;14(2):76-84.

O'Connor S, Andrews T. Smartphones and mobile applications (apps) in clinical nursing education: A student perspective. Nurse Educ Today. 2018 Oct;69:172-8.

Pouralizadeh M, Khankeh H, Ebadi A, Dalvandi A. Factors Influencing Nursing Students’ Clinical Judgment: A Qualitative Directed Content Analysis in an Iranian Context. J Clin Diagn Res 2017;11(5):JC01–JC04.

ตรีชฎา ปุ่นสำเริง, สุพรรณี กัณหดิลก. การตัดสินทางคลินิก: ทักษะจำเป็นสำหรับการปฏิบัติการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2561;18(35):81-93.

เอกรงค์ ปั้นพงษ์, พิชญาพร ประครองใจ, สิขรินทร์ คงสง. รูปแบบดำเนินชีวิตกับพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมการสื่อสารผ่าน Application : Line ทางโทรศัพทสมาร์ทโฟนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดพิษณุโลก. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2563;26(2):81-90.

อรลดา แซ่โค้ว. เว็บแอพพลิเคชันการจัดการความรู้ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-21