ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรำวงคองก้า ต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรำวงคองก้า, สมรรถภาพทางกาย, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรำวงคองก้าต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้โดยอิสระ อาศัยอยู่หมู่บ้านกระพี้ และบ้านสระพะเนียด ตำบลหนองบัวสะอาด อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 44 ราย โดยสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง
และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 ราย คล้ายคลึงกันในด้านเพศ และอายุ ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม
สัปดาห์ละ 5 ครั้งๆ ละ 30 นาที ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมออกกำลังกายตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยวิดิทัศน์และคู่มือการออกกำลังกายด้วยรำวงคองก้า แผนการให้ความรู้และคำปรึกษาด้านสุขภาพ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายหลังได้รับโปรแกรม ด้านความแข็งแรง ความอดทนของกล้ามเนื้อแขน ขา ความอ่อนตัวของหลัง สะโพกและกล้ามเนื้อขาด้านหลัง ความอ่อนตัวของหัวไหล่ (มือขวาอยู่บน) การทรงตัว ความอดทนของหัวใจและระบบไหลเวียนดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จึงสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้ต่อไป
References
World Health Organization (WHO). United States National Institute on Aging (US NIA) eds. Global Health and Aging; 2011. Available from: URL: http://www. who.int/ageing/publications/global_health/en.
United Nations. Department of Economic and Social Affairs. World Population Prospects: The 2010 Revision, Volume II-Demographic Profiles. UN; 2013.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: 2561.
World Health Organization (WHO). The world health report 2002: Reducing risks, promoting healthy life. Geneva: World Health Organization; 2002.
วิชัย เอกพลากร, วรรณี นิธิยานันท์, บัณฑิต ศรไพศาล, ปานเทพ คณานุรักษ์. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์. การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2559;5(2):119-31.
อมรรัตน์ เนียมสวรรค์, นงนุช โอบะ, สมบูรณ์ ตันสุภสวัสดิกุล. ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคโดยใช้ดนตรีโปงลางต่อสมรรถภาพทางกายและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2555;6(2):62-75.
หทัยชนก หมากผิน, วรรณนิศา ธนัคฆเศรณี, ทิพย์สุดา บานแย้ม, สัตพร เจริญสุข ทิพย์สิตา แก้วหนองเสม็ด. ผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนไทยทรงดำประยุกต์ต่อคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงและเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2563;26(1):28-41.
พิมผกา ปัญโญใหญ่. การออกกำลังกายแบบแอโรบิคสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2555;35(2):140-8.
กัตติกา ธนะขว้าง, จันตนา รัตนวิฑูรย์. ผลของการรำไม้พลองมองเซิงเมืองน่านต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ. วารสารพยาบาลสาร. 2556;40(2):148-61.
Dogru-Huzmeli E, Fansa I, Cetisli-Korkmaz N, Oznur-Karabicak G, Lale C, Gokcek O, Cam Y. Dancing: More than a therapy for patients with venous insufficiency. Vascular. 2020 Jan 2:1708538119893534.
Roberts CK, Chen AK, Barnard RJ. Effect of a short-term diet and exercise intervention in youth on atherosclerotic risk factors. Atherosclerosis. 2007 Mar 1;191(1):98-106.
ปุณยวีร์ ประเสริฐไทย, จอม สุวรรณโณ, จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์. ผลของการออกกำลังกายขนาดความหนักปานกลางที่บ้านในการลดความดันโลหิตของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตเกือบสูง. Thai Journal of Nursing Council. 2012 Sep 11;25(4):80-95.
Riebe D, Ehrman JK, Liguori G, Magal M, American College of Sports Medicine, editors. ACSM's guidelines for exercise testing and prescription, 10th ed. Philadelphia, PA: Lippincot Williams & Wilkins; 2017.
Bandura A. Human agency in social cognitive theory. American psychologist. 1989 Sep;44(9):1175.
Burns N, Grove SK. The concepts of measurement. Burns N, Grove SK.(Eds). The practice of nursing research: Appraisal, Synthesis and Generation of Evidence, 6th ed. Philadelphia, PA: Saunders; 2009:319-41.
Cohen J. A power primer. Psychological bulletin. 1992 Jul;112(1):155.
Jitapunkul S, Kamolratanakul P, Chandraprasert S, Bunnag S. Disability among Thai elderly living in Klong Toey slum. Journal of the Medical Association of Thailand= Chotmaihet thangphaet. 1994 May;77(5):231-8.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. การศึกษาสมรรถภาพของประชาชนไทยโดยการทดสอบสมรรถภาพอย่างง่าย, SATST สำหรับผู้สูงอายุ 60-89 ปี [อินเตอร์เน็ต]. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา. 2546. เข้าถึงได้จาก: https://www.scribd.com/doc/78227047
นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. ผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มต่อการก้าวเดินและการทรงตัวของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย); 2549
สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา, กรมพลศึกษา. แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ 60-89 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา; 2559
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. หลัก10.การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2561 มี.ค. 5]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/40299-หลัก%2010%20อ.%10.การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ.html.
American College of Sports Medicine. ACSM's resource manual for guidelines for exercise testing and prescription. Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 2012.
ปิยะภัทร เดชพระธรรม. การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. ใน: ประเสริฐ อัสสันตชัย, บรรณาธิการ. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น; 2556:399-424.
วิลาวัลย์ ตันติพงศ์วิวัฒน์. ผลของการออกกำลังกายแบบโนราบิกต่อความดันโลหิตสูงและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2553.
กัตติกา ธนะขว้าง, ผ่องใส กันทเสน, รัตนากร ยศอินทร์. การพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองประยุกต์กับฟ้อนมองเซิงน่านต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล. 2555;27(2):81-93.
นัยต์ชนก ถิ่นจะนะ, ขนิษฐา นาคะ, ไหมไทย ศรีแก้ว. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายที่บ้านโดยใช้ยางยืดต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561; 38(2):70-8.
Nokham R, Panuthai S, Khampolsin T. Effect of square-stepping exercise on balance among older persons. Nurs J. 2016;43:58-68.
เกศินี แซ่เลา, วิชิต คนึงสุขเกษม. ผลของการออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขน การเดิน และการเดินตามด้วยการแกว่งแขนที่มีต่อสุขสมรรถนะของผู้สูงอายุหญิง. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 2555;13(1):92-103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9