ความรู้และทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • อนงค์ลักษณ์ วงศ์ตรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ, ทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุทำให้เกิดความต้องการพยาบาลในอนาคตที่มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุและมีทัศนคติทางบวกต่อผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพในการดูแลผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้นและเพิ่มสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุ ดังนั้นการศึกษาความรู้และทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
จึงมีความสำคัญสำหรับการเตรียมพยาบาลผู้ดูแลผู้สูงอายุในอนาคต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงความสัมพันธ์
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ ทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล
และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบสุ่มอย่างง่าย จำนวน 138 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ และแบบสอบถามทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนด
ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลศาสตร์มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับดี ( =15.91, SD=3.51) มีทัศนคติเชิงบวกในการดูแลผู้สูงอายุ ( =146.64, SD=10.31) และความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ
มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.25, p<0.05) การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรจัดให้มีรูปแบบ
การเรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลให้มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุอย่างองค์รวม
และมีทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ เพื่อให้เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดีในการดูแลผู้สูงอายุต่อไป

Author Biographies

สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

อาจารย์

อนงค์ลักษณ์ วงศ์ตรี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

อาจารย์

ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

อาจารย์

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ขนาดและโครงสร้างของประชากรตามอายุและเพศ. จำนวนและสัดส่วนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามกลุ่มอายุ (วัยเด็ก วัยแรงงาน วัยสูงอายุ) เพศ ภาค และจังหวัด พ.ศ. 2555-2564. [ออนไลน์] 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2565 มีนาคม 1, เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ประไพพิศ สิงหเสม, วัลทณี นาคศรีสังข์. สมรรถนะที่จำเป็นต่อการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ เมื่อเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2560;27(1):1-11.

Ghimire S, Shrestha N, Callahan KE, et al. Undergraduate nursing students' knowledge of aging, attitudes toward and perceptions of working with older adults in Kathmandu Nepal. Int J Nurs Sci. 2019;6(2):204-10.

Mohammed RF, Omar AA. Knowledge about Elderly Care and Its Relation to Ageism Attitude among Undergraduate Nursing Students. American Journal of Nursing Research. 2019;7(1):73-8.

วรรณรดา อาศัยสงฆ์. ความรู้และทัศนคติ ของพยาบาลวิชาชีพ ต่อผู้สูงอายุในโรงพยาบาลสังขะ จังหวัดสุรินทร์ [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

พัชรี เรือนศรี, ลินจง โปธิบาล, ภารดี นานาศิลป์. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของบุคลากรสุขภาพเกี่ยวกับการดูแลในวาระสุดท้ายของชีวิตในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง. พยาบาลสาร. 2558;42(2):24-35.

สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์, มยุรี ลี่ทองอิน, สุภาวดี เที่ยงธรรม, สาวิตรี สมมงคล, ธารินี เพชรรัตน์, ศจีมาส แก้วโคตร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับพฤติกรรมการพยาบาลของพยาบาลในการดูแลภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้้สูงอายุ. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562;34(3):281-6.

ลีต้า อาษาวิเศษ, มยุรี ลี่ทองอิน, สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562;37(4):235-43.

พรนภา นาคโนนหัน, จุฬาลักษณ์ ใจแปง, ณาตยา โสนน้อย, สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดหัวใจ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563;21(2):368-76.

ฉัตรฤดี ภาระญาติ, ธิดา ธีระพิทยานนท์, รุจาภา เจียมธโนปจัย, อุทัยวรรณ เธียรไฝ่ดี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของผู้ดูแลผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2564;13(1):43-51.

ศักดิ์สิทธิ์ บ่อแก้ว. ปจจัยที่มีความสัมพันธกับทักษะการดูแลของผูดูแลผูสูงอายุ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2563;2(2):14-25.

วรัญญา จิตรบรรทัด. ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ในตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2560;23(1):5-16.

สุขศิริ ประสมสุข, ณฐกร นิลเนตร, เกรียงไกร เกิดหนู. การศึกษาความรู้ ทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2563;7(1):1-12.

นิรุวรรณ เทิร์นโบล์, วิพา ชุปวา, วิลาวัณย์ ชาดา, กรรณิการ์ โคตรชารี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านของผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตพื้นที่อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารกรมการแพทย์. 2562;44(1):127-30.

ณิชชารีย์ พิริยจรัสชัย, ศิริพันธุ์ สาสัตย์. ปัจจัยทำนายความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;19(ฉบับพิเศษ):231-40.

เพ็ญนภา มะหะหมัด. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2561;17(1-2):1-9.

สุนทรี จี๋ใจหล้า, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ, นพวรรณ เปียซื่อ. ทัศนคติต่อผู้สูงอายุของประชาชนวัยผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง. วารสารแพทย์นาวี. 2561;45(3):599-612.

กันยพัชร์ เศรษฐ์โชฎึก. ทัศนคติต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 2558;13(2):3-16.

มยุรี ลี่ทองอิน, สิริมาศ ปยะวัฒนพงศ์. ปจจัยรวมทํานายพฤติกรรมการพยาบาลเอื้ออาทรผูสูงอายุของนักศึกษาพยาบาลในวิชาปฏิบัติการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2558;33(3):70-79.

ณัชชา ตระการจันทร์. ทัศนคติต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชธานี ใน มหาวิทยาลัยราชธานี, คณะพยาบาลศาสตร์, นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก: การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการครั้งที่ 3 อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี 2561;1213-21.

สาคร อินโท่โล่, อักษ์ศรา กะการดี, เฌอร์นินทร์ ตั้งปฐมวงศ์, พฤฒิศักดิ์ จันทราทิพย์, พัชรีรัตน์ อันสีแก้ว, สุภาพร ประนัดทา, และคณะ. ทัศนคติและมุมมองต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2563;10(1):92-103.

Elebiary H, Elshenewy H, Abulazm S. Knowledge and Attitudes of Nurses toward Caring of Elderly People in Health Care Sittings. IOSR Journal of Nursing and Health Science. 2018;7(3):76-84.

Muhsin AA, Munyogwa MJ, Kibusi, SM, Seif SA. Poor level of knowledge on elderly care despite positive attitude among nursing students in Zanzibar Island: findings from a cross-sectional study. BioMed Central Nursing. 2020;19:1-8.

Zhao L, Xie L, Wang Y. Investigation and analysis of attitudes and knowledge of aging among students in different majors. Frontiers of Nursing. 2019;6(3): 211-6.

Faronbi JO, Adebowale O., Musa O., Ayamolowo J. Perception Knowledge and Attitude of Nursing Students towards the Care of Older Patients. International Journal of Africa Nursing Sciences. 2017;7:37-42.

Cheng WL. Roles of Knowledge and Attitude in the Willingness of Nursing Students to Care for Older Adults in Hong Kong. Int J Environ Res Public Health. 2021;18(15):7757.

Faul F, Erdfelder E, Buchner AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods 2009;41:1149–60.

Palmore EB. Facts on Aging: A short quiz. Gerontologist. 1977;17(4):315-20.

Runkawatt V. Evaluation of the psychometric properties of the Thai versions of Palmore's Facts on Aging Quiz and Kogan's Attitude Toward Old People in Thai adolescents, in Nursing Faculty. State University of New York at Buffalo: New York; 2007.

Kogan N. Attitudes toward old people: The development of a scale and examination of correlates. Journal of Abnormal and Social Psychology. 1961;62(1):44-54.

Runkawatt V, Kerdchuen K, Tipkanjanaraykha K, Ubolwan K, Tawetanawanich Y, Nasirin C, et al. Kogan’s Attitude Toward Old People: Evaluation of validity and reliability assessment among nursing students in Thailand, Myanmar, and Indonesia. Asian Journal for Public Opinion Research 2016;3(3):145–55.

Schober P, Boer C, Schwarte LA. Correlation Coefficients: Appropriate Use and Interpretation. Anesth Analg. 2018;126(5):1763-8.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010) Multivariate Data Analysis. 7th Edition, Pearson, New York.

Kaur S, Kumar A, Kaur B, Rani B, Ghai S, Singla M. Knowledge and Attitude Regarding Care of Elderly among Indian Nursing Students: An Indian Perspective. J Nurs Care. 2014;3:1-6.

Smith ML, Bergeron CD, Cowart C, Ahn S, Towne SD Jr, Ory MG, Menn MA, Chaney JD. Factors associated with ageist attitudes among college students. Geriatr Gerontol Int. 2017;17(10):1698-706.

ทัศนีย์ เกริกกุลธร, บังอร เผ่าน้อย, ปานทิพย์ ปูรนานนท์. เจตคติและการรับรู้ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2-4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2556; 6(ฉบับพิเศษ):116-25.

Mattos MK, Jiang Y, Seaman JB, Nilsen ML, Chasens ER, Novosel LM. Baccalaureate Nursing Students' Knowledge of and Attitudes toward Older Adults. J Gerontol Nurs. 2015;41(7):46-56.

Reuben DB, Lee M, David JW Jr, Eslami MS, Osterweil DG, Melchiore S, Weintraub NT. Development and validation of a geriatrics attitudes scale for primary care residents. Journal of the American Geriatrics Society 1998;46(11): 1425-30.

Vefikulucay DY, Terzioglu F. Development and psychometric evaluation of ageism attitude scale among the university students. Turkish Journal of Geriatrics 2011;14:259-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-22