ผลการใช้โปรแกรมการปรับปรุงการทำงานตามหลักการ 5 ส. ในร้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • โสมศิริ เดชารัตน์ สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • พีรนาฎ คิดดี สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

คำสำคัญ:

โปรแกรม, หลักการ 5ส, ร้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์, พนักงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับความรู้เกี่ยวกับพิษภัย
ผลต่อสุขภาพอนามัย และหลักการ 5 ส. ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ 2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรม 5 ส. ในพนักงานที่ทำงานร้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างร้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์รวมจำนวน 55 ร้าน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความถูกต้องของเนื้อหาเท่ากับ 0.954 ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้คือพนักงานที่เข้าร่วมวิจัย จำนวน 159 คน เก็บรวบรวมระหว่างเดือนมกราคม ถึงตุลาคม 2564 ทดลองใช้โปรแกรมสุขศึกษาด้วยการอบรมบรรยาย ประกอบวีดิทัศน์และปฏิบัติจริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบ Paired t-test และสถิติการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple linear regression statistics) ผลการศึกษาในพนักงาน 159 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (94.30%) เคยได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการทำงาน (75.50%) เคยได้ยินหรือรู้จักกิจกรรม 5 ส. (86.80%) ผลการสำรวจสภาพแวดล้อมทั่วไปของร้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าประเด็นการจัดวางเครื่องมือเครื่องใช้เฉพาะที่ ไม่กีดขวางทางเดิน และตั้งอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัยไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมีความบกพร่องมากที่สุด (45.50%) ผลการเปรียบเทียบก่อนหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรมการปรับปรุงการทำงานที่ปลอดภัยตามหลักการ 5 ส. พบว่าระดับความรู้และพฤติกรรมดการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยของพนักงานร้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้นการจัดโครงการโดยใช้โปรแกรมการปรับปรุงการทำงานตามหลักการ 5 ส. จึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ร้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ดำเนินกิจการอย่างปลอดภัยต่อไป

Author Biographies

โสมศิริ เดชารัตน์, สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

รองศาสตราจารย์

พีรนาฎ คิดดี, สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

สุจิตรา วาสนาดำรงดี, ปัณฑิตา ตันวัฒนะ, ศีลาวุธ ดำรงศิริ. การสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อมของชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร ที่ประกอบอาชีพถอดแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 2558; 11(2):5-23.

Office of Emergency and Remedial Response, U.S. Environmental Protection Agency. Risk Assessment Guidance for Superfund Volume I Human Health Evaluation Manual (Part A) Interim Final [Internet]. 1989 [cited 2021 April 1]. Available from: https://www.epa.gov/sites/production/files/2015-09/documents/rags_a.pdf

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณการ (ฉบับที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550) [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ตุลาคม 15]. เข้าถึงได้จาก: http://infofile.pcd.go.th/haz/WEEE%20_Strategy.pdf

โสมศิริ เดชารัตน์. สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2561; 10(35):10-20.

Decharat S, Kiddee P. Health Problems Among Workers Who Recycle Electronic Waste in Southern Thailand. Osong Public Health Res Perspect. 2020 Feb;11(1):34-43. doi: 10.24171/j.phrp.2020.11.1.06.

Rhaffora KA, Azizula NH, Jamiana R, Shukora JA. The Adoption of 5S Practice and its Impact on Safety Management Performance: A Case Study in a University Environment. Journal of Occupational Safety and Health. 2019; 16(1):9-17.

Randhawa JS, Ahuja IS. Evaluating impact of 5S implementation on business performance. International Journal of Productivity and Performance Management. 2017; 66(7): 948-78.

Harea C V, Marian L, Moica S, Al-Akel K. Case study concerning 5S method impact in an automotive company. Procedia Manufacturing. 2018; 22:900-5.

เพ็ญจันทร์ บัวซาว. การปฏิบัติกิจกรรม 5ส และการเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท คอมพาร์ท พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2558; 9(1):75-82.

ธนรุจ กิจจาธิป, ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม 5ส กับการลดความสูญเปล่า 7 ประการ ในกระบวนการผลิตของโรงงานน้ำตาลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 2562; 6(2):91-102.

สุปรีดิ์ เดชา, สมคิด ปราบภัย. ประสิทธิผลโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารควบคุมโรค. 2561; 44(1):30-7.

Krejcie RV, Morgan DW. “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 1970; 30(3):607-10.

Bloom B. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston;1971.

ระพีพัฒน์ ขวัญเจริญ, ชาลินี ชีวะกุล, บุณยวรีย์ แทนเดช, สุพนิดา นุ่มหมอก, เปรมยุดา จินาทิตย์, สิริญากร ฟังแฟง, และคณะ. การปรับปรุงกระบวนการทำงานและพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยของพนักงานเก็บขนมูลฝอย: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองลาดสวาย. วารสารวิจัยวิชาการ. 2564; 4(1):121-30.

Leino A, Heinonen R, Kiurula M. IMPROVING SAFETY PERFORMANCE THROUGH 5S PROGRAM. Proceedings IGLC-22, June 2014 | Oslo, Norway

พวงผกา สุริวรรณ. รูปแบบการส่งเสริมการใช้ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของผู้ใช้แรงงาน ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2540.

ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล, เบ็ญจา เตากล่ำ, เนตรรัชนี ตั้งภาคภูมิ. การจัดการด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยอย่างยั่งยืนในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษาโรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2556;(19)1:42-56.

Ohajinwa CM, van Bodegom PM, Vijver MG, et alPrevalence and injury patterns among electronic waste workers in the informal sector in Nigeria. Injury Prevention. 2018; 24:185-92.

Ohajinwa CM, Van Bodegom PM, Vijver MG, Peijnenburg WJGM. Health Risks Awareness of Electronic Waste Workers in the Informal Sector in Nigeria. Int J Environ Res Public Health. 2017 Aug 13;14(8):911. doi: 10.3390/ijerph14080911.

Ismara I, Prianto E. Bagaimanakah agar Laboratorium dan Bengkel Pendidikan Vokasi menjadi NYAMAN, SELAMAT, dan SEHAT?. Yogyakarta: UNY Press 2017.

Ismara I, Prianto E. Bagaimanakah agar laboratorium dan bengkel pendidikan vokasi menjadi nyaman, selamat dan sehat? Documentation. Direktorat Jenderal Pendidikan Dasar dan Menengah, Yogyakarta; 2017.

Grover J. 5S Workplaces: When Safety and Lean Meet [Internet]. 2012 [cited 2021 April 1]. Available from: https://www.ehstoday.com/safety/article/21915202/5s-workplaces-when-safety-and-lean-meet

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-09