การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชัน ไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานท์ สำหรับมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด
คำสำคัญ:
การให้ความรู้, การให้คำปรึกษา, ทารกเกิดก่อนกำหนด, แอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานท์บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานท์ สำหรับมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดทุกคนที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด และพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลอุดรธานี เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คัดเข้า ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) วิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการ (R1) 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบ (D1) 3) ทดลองใช้ในสถานการณ์จริง (R2) และ 4) ประเมินผลรูปแบบ (D2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานท์ ชื่อบัญชี“การดูแลทารกแรกเกิด” 2) แบบสอบถามความมั่นใจในการใช้รูปแบบฯ ของมารดา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้รูปแบบฯ ของมารดา และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้รูปแบบฯ ของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานท์ ประกอบด้วยวิดีโอ 7 เรื่อง และแผ่นภาพอินโฟกราฟฟิกให้ความรู้มารดาให้ข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันไลน์ฯ แบบออนไลน์ และการให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ฯ ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านช่องทางแชท 2) หลังใช้รูปแบบฯ มารดามีความมั่นใจมากกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และ 3) มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดและพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบฯในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.70, SD=0.47 และ Mean=4.60, SD=0.52 ตามลำดับ)
References
สุวัลยา คงรอด, ชะปา ไชยฤทธิ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาแบบใหม่ต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563; 29(6):1055-61.
สำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2562 ส.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic%2061.pdf
โรงพยาบาลอุดรธานี. ข้อมูลสถิติทารกเกิดก่อนกำหนด หอผู้ป่วยเด็กอ่อน โรงพยาบาลอุดรธานี. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2562.
พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. การพยาบาลเด็ก เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
Hockenberry MJ, Wilson D, Winkelstein ML. Wong’s Essentials of Pediatric Nursing. 8th ed. St. Louis, MO: Mosby/Elsevier; 2007.
เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, วีณา จีระแพทย์. การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2554.
ผนึกแก้ว คลังคา, วิลาวัณย์ จันโทริ, อำภา ทาเวียง. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวหรือผู้ดูแล. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 2562; 32(2):40-9.
สุมนกาญจน์ ลาภกิตติเจริญชัย. ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาผ่านไลน์แอพพลิเคชั่นที่มีต่อความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง. วารสารกรมการแพทย์. 2563; 45(3):42-50.
นภสร เฮ้ามาชัย. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดกึ่งวิกฤต 2 ค. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการพยาบาล]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
Bandura A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: WH Freeman; 1997.
วรัญญา ชลธารกัมปนาท, จันทิมา ขนบดี, ปรานี ป้องเรือ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและทารกแรกเกิดของมารดาครรภ์แรก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 2561;29(1):30-41.
LINE Corporation. LINE for business [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 เม.ย.20]. เข้าถึงได้จาก: https://lineforbusiness.com/th/service/line-oa-features
สมบัติ ท้ายเรือคำ. การวิจัยและพัฒนา: วิธีการวิจัยเพื่อพัฒนางานวิจัย. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2557;1(1):2-11.
วันเพ็ญ มโนวงศ. การรับรู้ประโยชน์ สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยหัดเดินของมารดา. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.
ประกาย วิโรจน์กุล. การวิจัยทางการพยาบาล: แนวคิด หลักการ และวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: บริษัท สร้างสื่อ จำกัด; 2552.
วนิสา หะยีเซะ, นุจรี ไชยมงคล, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, มยุรี ยีปาโล๊ะ. การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์: ผลของการให้ความรู้แอปพลิเคชันในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตามวิถีมุสลิม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2564;13(1):39-55.
สุวารี โพธิ์ศรี. ผลของโปรแกรมการเตรียมจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายต่อพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดาที่บ้าน. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
นฤมล สมชื่อ, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์. ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และพฤติกรรมของผู้ดูแลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2563; 34(3):79-93.
ฮานีฟะ เจ๊ะอาลี. ความกังวลของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้าน. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.
ปฏิวัติ อาสาเสน. แอปพลิเคชันสำหรับมารดาหลังคลอดแผนกสูตินรีเวชโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 2563; 5(1):69-76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9