ผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารด้านสุขภาพยุควิถีใหม่ สำหรับนักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ

ผู้แต่ง

  • ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม, ส.ด. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0003-3258-164X
  • นำพร อินสิน, ส.ด. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ, วท.ม. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • กาญจนา วงษ์สวัสดิ์, ปร.ด. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, การสื่อสารด้านสุขภาพ, นักวิชาการสาธารณสุข, วิถีใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารด้านสุขภาพยุควิถีใหม่สำหรับนักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักวิชาการสาธารณสุขที่มีประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ อย่างน้อย 1 ปี จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารด้านสุขภาพยุควิถีใหม่ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสมรรถนะการสื่อสารทั่วไป และการสื่อสารด้านสุขภาพ ครอบคลุมหลักการสื่อสาร 3 ด้าน ได้แก่
1) คุณลักษณะผู้ส่งสาร, 2) การสร้างสื่อ และ 3) ช่องทางการสื่อสาร ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 9 ชั่วโมง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับสรรถนะการสื่อสารทั่วไป และการสื่อสารด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังทดลองด้วยสถิติ paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 81.3) ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 30 ปี (ร้อยละ 65.6) เกือบทั้งหมดทำงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ร้อยละ 90.6) ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงานด้านสาธารณสุขมากกว่า 5 ปี (ร้อยละ 71.9) หลังการทดลองพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนสมรรถนะการสื่อสารทั่วไป และสมรรถนะการสื่อสารด้านสุขภาพมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001 และ p<0.001 ตามลำดับ) ดังนั้นหน่วยบริการปฐมภูมิสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพให้มีสมรรถนะการสื่อสารให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
และมีประสิทธิภาพ

Author Biographies

ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม, ส.ด., สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาจารย์

นำพร อินสิน, ส.ด., สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาจารย์

ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ, วท.ม., สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาจารย์

กาญจนา วงษ์สวัสดิ์, ปร.ด., สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

วิเชียร มันแหล่, บุญยิ่ง ประทุม, สุรศักดิ์ แก้วอ่อน, กรกฎ จำเนียร. ผลกระทบและการปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564; 8(11): 327–40.

พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์, อดิศักดิ์ จำปาทอง, สิริพร สาสกุล. การสื่อสารข่าวกับผู้สูงวัยในภาวะการระบาดของไวรัสโคโรน่า. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2563; 19(1): 9–12.

Wilson L, Callender B, Hall TL, Jogerst K, Torres H, Velji A. Identifying global health competencies to prepare 21st century global health professionals: report from the global health competency subcommittee of the consortium of universities for global health. J Law Med Ethics. 2014 Dec;42 Suppl 2:26-31. doi: 10.1111/jlme.12184. PMID: 25564707. Available from: http://doi.wiley.com/10.1111/jlme.12184

สิโรดม มณีแฮด, สรัญญา เชื้อทอง. การสื่อสารสุขภาพของกรมควบคุมโรคโดยใช้การเล่าเรื่องด้วยสื่ออินโฟกราฟิกในสถานการณ์โควิด-19. วารสารการสื่อสารมวลชน. 2563; 8(2): 91–119.

Stigler FL, Duvivier RJ, Weggemans M, Salzer HJ. Health professionals for the 21st century: a students' view. Lancet. 2010 Dec 4;376(9756):1877-8. doi: 10.1016/S0140-6736(10)61968-X. Epub 2010 Nov 26. PMID: 21112622.

อุทัย ยะรี, มัณฑนา สีเขียว. การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 2562; 8(1): 222-38.

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, จันทิมา เขียวแก้ว, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, เนติยา

แจ่มทิม, วรนาถ พรหมศวร. พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลสุขภาพจากสื่อออนไลน์และสื่อสังคมของผู้สูงอายุ ตามระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2560; 11(ฉบับพิเศษ): 12-22.

พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พุทธศักราช 2556. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนที่ 118 ก. หน้า 19, (ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2556).

บุญเรือง ขาวนวล, นงลักษณ์ พะไกยะ, ประยูร ฟองสถิตย์กุล, สถิรกร พงศ์พานิช, วิทยา อยู่สุข,

ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. ความต้องการกำลังคนวิชาชีพสาธารณสุขของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2569. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561; 12(2): 245–53.

ปริทัศน์ เจริญช่าง, สุวัฒนา เกิดม่วง, สุรินธร กลัมพากร. สมรรถนะวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559; 26(1): 40-51.

คณะอนุกรรมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนที่พึงประสงค์ของสังคม. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี: สภาการสาธารณสุขชุมชน; 2563.

ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม, นำพร อินสิน, วิบูลย์สุข ตาลกุล, กาญจนา วงษ์สวัสดิ์. ความคาดหวังต่อสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ที่พึงประสงค์ของนักวิชาการสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565; 8(2): 77–89.

Rider EA, Hinrichs MM, Lown BA. A model for communication skills assessment across the undergraduate curriculum. Med Teach. 2006 Aug;28(5):e127-34. doi: 10.1080/01421590600726540. PMID: 16973446.

Brightwell A, Grant J. Competency-based training: who benefits? Postgrad Med J. 2013 Feb;89(1048):107-10. doi: 10.1136/postgradmedj-2012-130881. Epub 2012 Sep 27. PMID: 23019588.

หนึ่งหทัย ขอผลกลาง, กิตติ กันภัย. งานวิจัยด้านการสื่อสารสุขภาพ: กลไกในการพัฒนาสังคม. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 2553; 4(1): 65-77.

ณัฐติกานต์ จันทร์ไทย. รูปแบบการฝึกอบรมฐานสมรรถนะสำหรับพนักงานอำนวยการบิน ในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบิน]. กรุงเทพฯ: สถาบันการบินพลเรือน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2559.

ชนธี ชำนาญกิจ. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการสหกิจศึกษา โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ และแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร [ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.

สิรภัทร โสตถิยาภัย, นัยนันต์ เตชะวณิช, ขวัญเรือน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. ผลการสอนอย่างมีแบบแผนต่อสมรรถนะการสื่อสารของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2561; 11(3): 36-50.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods. 2007 May;39(2):175-91. doi: 10.3758/bf03193146. PMID: 17695343.

ประไพพิศ สิงหเสม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ศักรินทร์ สุวรรณเวหา. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562; 28(ฉบับพิเศษ): 65–78.

Best JW. Research in education. 4th ed. New Jersey: Prentice Hall; 1981.

กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, บุญเรือง ขาวนวล, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ. ผลของหลักสูตรการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายทางปัญญาเพื่อจัดการปัจจัยเสี่ยง ด้านสุขภาพในชุมชนต่อการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของหมออนามัย. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2019; 6(1): 37–57.

ธีรพันธ์ เชิญรัมย์. องค์การแห่งการเรียนรู้ : การเรียนรู้จากการปฏิบัติ. วารสารวิจัยวิชาการ. 2563; 3(1): 185–96.

Promthet P, Kessomboon P, Promthet S. Community-Based Health Education and Communication Model Development for Opisthorchiasis Prevention in a High Risk Area, Khon Kaen Province, Thailand. Asian Pac J Cancer Prev. 2015;16(17):7789-94. doi: 10.7314/apjcp.2015.16.17.7789. PMID: 26625799.

บัณฑิกา จารุมา, พยอม ก้อนในเมือง. วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 2563; 6(1): 413–28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-15