ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ในสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • ธัญมล ช่วงโชติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ
  • อารี บุตรสอน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

งานคุ้มครองผู้บริโภค, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน, ปัจจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนในสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี เขตสุขภาพที่ 10 กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนที่ผ่านการอบรมจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 282 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75 ใช้สถิติเชิงอนุมานในการหาปัจจัยทำนายโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนในสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี เขตสุขภาพที่ 10 มีทั้งหมด 7 ตัวแปร คือ การสนับสนุนจากองค์การ การค้ำจุน ระดับการศึกษาประถมศึกษา แรงจูงใจ ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน อายุ และสถานภาพโสด โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพได้ร้อยละ 46.80 (R2adj=0.468, SEest=5.08205 F=36.291, p<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยการส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนในสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี เขตสุขภาพที่ 10 ควรคำนึงถึงปัจจัยด้านการสนับสนุนจากองค์การและการค้ำจุนเพื่อเสริมประสิทธิผลการดำเนินงานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
ในกลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต่อไป

References

คณะกรรมการอาหารและยาแห่งชาติ. สถานการณ์การเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากอาหาร (Food borne diseases) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิ.ย. 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www.fda.moph.go.th/Pages/HomeP_D2.aspx.

คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และกรอบการปฏิรูป. ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2558-2577) [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิ.ย. 20]. เข้าถึงได้จาก: http://planning.pn.psu.ac.th/plan_doc/ procedure /docs_procedure/400_ 1498813093.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิ.ย. 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www.skto.moph.go.th/document_file/yudtasad20y.pdf

หน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร เขตสุขภาพที่ 10. รายงานสรุปผลการตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 10 ประจำปีงบประมาณ 2563 (มุกดาหาร ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี). อุบลราชธานี: เขตสุขภาพที่ 10; 2563.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สธ. สร้างนักวิทย์ฯ ชุมชน ส่งเสริมให้ท้องถิ่นเข้มแข็งด้านสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิ.ย. 20]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dmsc.moph.go.th/dmscnew/news_detail.php?id=853

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ, อำนาจเจริญ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ; 2563.

คู่มือการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำ สำหรับสาธารณสุขอำเภอ. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิ.ย. 20]. เข้าถึงได้จาก: https://foodsan.anamai.moph.go.th/th/handbook/913#wow-book/

Kelley K, Maxwell SE. Sample size for multiple regression: obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychol Methods. 2003 Sep;8(3):305-21. doi: 10.1037/1082-989X.8.3.305.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

วีระพล เพริศแก้ว. ประสิทธิผลของการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของ อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ในสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60พรรษา นวมินทราชินี เขตสุขภาพที่ 8. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2560.

อำพล สามสี. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาตามแนวทาง ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว เครือข่ายระดับตำบล อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกบริหารสาธารณสุข สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2559.

มานิตย์ ทวีหันต์. การประเมินผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคและการจัดการด้านสุขภาพ]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

ธวัชชัย เสือเมือง, สุภกรรณ จันทวงษ์, วรเดช ช้างแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560; 12(1):24-37.

จารุกิตติ์ สุริโย. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านสาธารณสุขมูลฐาน ของเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 2560; 8(2):61-74.

อำพิกา คันทาใจ, เดชา ทำดี, ศิวพร อึ้งวัฒนา. ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้ การปฏิบัติการคัดกรองและการให้คำแนะนำ ในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564; 31(1): 83-95.

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ, ยุคนธ์ เมืองช้าง. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2562; 29(1):60-70.

ชมพูนุช สุภาพวานิช, อิมรอน วาเต๊ะ, กมลวรรณ วณิชชานนท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2563; 12(2): 34-50.

Singh D, Cumming R, Mohajer N, Negin J. Motivation of Community Health Volunteers in rural Uganda: the interconnectedness of knowledge, relationship and action. Public Health. 2016 Jul;136:166-71. doi: 10.1016/j.puhe.2016.01.010.

นันทวรรณ ภู่เนาวรัตน์, ทิพาภร กาญจนราช. ผลการปฏิบัติงานและทัศนคติต่องานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของบุคลาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีศึกษา จังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

พนม นพพันธุ์, ธรรมศักดิ์ สายแก้ว. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2559;1(1):39-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-28