ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • พยอม ทองใบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
  • อารี บุตรสอน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, บุคลากรสาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การศึกษาปัจจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติหน้าที่ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 359 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างวันที่ 1 พ.ค. ถึง 30 ก.ย. 2564 ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือเรียบร้อยแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75 ใช้สถิติเชิงอนุมานในการหาปัจจัยทำนายโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอำนาจเจริญ มีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยการค้ำจุนการดำเนินงาน ตำแหน่งในการดำเนินงาน ทัศนคติต่อการดำเนินงาน และการสนับสนุนจากองค์การในการดำเนินงาน โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอำนาจเจริญได้ร้อยละ 23.1 (R2=0.231, R2adj=0.222, SEest=3.013, F=26.607, p<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอำนาจเจริญ ควรคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน หน่วยงาน และองค์กร

References

กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิ.ย. 30]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ค. 17]. เข้าถึงได้จาก: https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ Covid 19 อัพเดตรายวัน พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ค. 17]. เข้าถึงได้จาก: http://dvisddc.moph.go.th/t/satcovid/views/SATCOVIDDashboard/dashtiles?:showAppBanner=false&:display_count=n&:showVizHome=n&:origin=viz_share_link&:isGuestRedirectFromVizportal=y&:embed=y

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ค. 17]. เข้าถึงได้จาก: http://www.amno.moph.go.th/amno_new

Ken Kelley and Scott E. Maxwel. Sample Size for Multiple Regression: Obtaining Regression Coefficients hat Are Accurate, Not Simply Significan. Psychological Methods. 2003; 8(3):305-21.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale Austria: Lawrence Erlbaum; 1988.

ชนิชา ธนิกกุล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2550.

นิดา ประพฤติธรรม. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารบริหารธุรกิจ. 2563; 2(1):58-80.

บุญประจักษ์ จันทร์วิน, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 2559; 3(1):45-55.

สิริสา เทียมทัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสาธารณสุข]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

นลพรรณ บุญฤทธิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การรบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสาธารณะ] ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

ศิริชัย ชาติหนองทอน. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น จังหวัดหนองคาย. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.

กนกวรรณ ช.เจริญยิ่ง. ทัศนคติต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2563.

นงลักษณ์ ทองไทย, อรไท ชั้วเจริญ. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในช่วงสภาวะวิกฤติการเกดิโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิศวกรชีวการแพทย์. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2563.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า. 2564; 1(1):33-48

ลลิตา พรหมปั้น. ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดไทยในงานสร้างเสริมสุขภาพ.[วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพ]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

พรรณี วัตราเศรษฐ์. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2561; 29(1):47-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-28