ปัจจัยทำนายการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นาถยา ขุนแก้ว ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 10 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
  • อารี บุตรสอน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ปัจจัยทำนาย

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จ.อุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. จ.อุบลราชธานี  จำนวน 376 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. 2564 ถึง 30 เม.ย. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75 ใช้สถิติเชิงอนุมานในการหาปัจจัยทำนายโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับของอสม. จ.อุบลราชธานี มีทั้งหมด 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการสนับสนุนจากองค์การในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับของอสม. ปัจจัยจูงใจการมีบุคคลในครอบครัวให้การสนับสนุน  ได้รับการยกย่องจากชุมชน ผู้นำ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลังการปฏิบัติงาน การได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานเพิ่มองค์รู้เพิ่มความมั่นใจ รวมถึงการได้รับความไว้วางใจจากชุมชนในการเป็นแกนนำปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับของอสม. โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับได้ร้อยละ 11.40 (R2=0.114, R2adj=0.102, SEest=3.59, F=9.540, p<0.001) ผลการวิจัยนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน  ขับเคลื่อนผ่านการดำเนินงานในพื้นที่ พร้อมทั้งการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถสนับสนุนได้ทั้งงบประมาณและจัดการระบบสุขาภิบาลซึ่งจะนำพาให้เกิดนวัตกรรมในชุมชนสามารถตัดวงจรการก่อเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนได้ สามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบขยายต่อไปสู่พื้นที่อื่นได้ต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพสำหรับพื้นที่ ประจำปี 2564 ภายใต้แผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศ ระยะ 20 ปี พ.ศ. (2561-2580) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 เม.ย. 15] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dsp/

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพสำหรับพื้นที่ ประจำปี 2564 ภายใต้แผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ อสม. หมอประจำบ้าน ด้านการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็ง ท่อน้ำดี.นนทบุรี:กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 ประเด็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ (Area Based) การควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี,อุบลราชธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10; 2564.

Kelley K, Maxwell SE. Sample size for multiple regression: obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychol Methods. 2003 Sep;8(3):305-21. doi: 10.1037/1082-989X.8.3.305.

อำพล สามสี. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาตามแนวทางทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วเครือข่ายระดับตำบล อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2559.

พนม นพพันธุ์, ธรรมศักดิ์ สายแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2559; 1(1): 39-62.

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ, ยุคนธ์ เมืองช้าง. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2562; 25(3):60-70.

ชมพูนุช สุภาพวานิช, อิมรอน วาเต๊ะ, กมลวรรณ วณิชชานนท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2563; 12(2): 34-50.

วัชระพงษ์ เรือนคำ. ผลของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคหนอนพยาธิของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 2557;6(3): 40-60.

อำพิกา คันทาใจ, เดชา ทำดี, ศิวพร อึ้งวัฒนา. เรื่องผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้การปฏิบัติการคัดกรองและการให้คำแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2563; 31(1): 2673-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-28