ความเครียดในการเรียนออนไลน์ ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 : กรณีศึกษาในนักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ความเครียด, การเรียนออนไลน์, นักเรียนมัธยมศึกษา, โควิด-19บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้โรงเรียนหลายแห่งต้องเปลี่ยนไปเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลทำให้เกิดความเครียดในนักเรียนได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาในการเรียนออนไลน์ ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19
วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งถูกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระหว่างเดือน ธันวาคม 2564 ถึง มกราคม 2565 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองซึ่งวัดความเครียดด้วยแบบประเมินความเครียด (ST-5) ฉบับโรงพยาบาลศรีธัญญา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกส์แบบเรียงลำดับ
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม 527 ราย (อัตราตอบกลับเท่ากับร้อยละ 62.8) ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกของความเครียดเท่ากับร้อยละ 22.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด คือ เพศหญิง (ORadj=1.42, 95% CI: 1.01-1.98, p=0.040) ภาระงานมากขึ้นในระหว่างการเรียนออนไลน์ (ORadj=1.46, 95% CI: 1.03-2.08, p=0.033) สมาธิลดลงในระหว่างการเรียนออนไลน์ (ORadj=1.51, 95% CI: 1.06-2.13, p=0.019) และการไม่สามารถเข้าถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่เสถียร (ORadj=1.67, 95% CI: 1.16-2.40, p=0.005)
สรุปอภิรายผล: ความชุกของความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาไม่สูงมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม โรงเรียนควรจัดให้มีโปรแกรมจัดการความเครียดและการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยลดความเครียดของนักเรียนในระหว่างการเรียนออนไลน์
References
ภิญโญ วงษ์ทอง, สมเสมอ ทักษิณ. การศึกษาความพร้อม พฤติกรรมการเรียนรู้ และความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. วารสารมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 2556;12(2):166-80.
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, จรรยา คนใหญ่. การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2563;14(34):285-98.
กาญจนา ลือมงคล. ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2564;41(2):11-20.
Malik M, Javed S. Perceived stress among university students in Oman during COVID-19-induced e-learning. Middle East Curr Psychiatr [serial online]. 2021 [cited 28 2022 December 30]; 28(1). Available from: https://doi.org/10.101186/s43045-021-00131-7
AlAteeq DA, Aljhani S, AlEesa D. Perceived stress among students in virtual classrooms during the COVID-19 outbreak in KSA. J Taibah Univ Medical Sci [serial online]. 2020 [cited 2022 December 30]; 15(5): 398-403. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/
j.jtumed.2020.07.004
Radwan E, Radwan A, Radwan W, Pandey D. Prevalence of depression, anxiety and stress during the COVID-19 pandemic: a cross-sectional study among Palestinian students (10-18 years). BMC Psychol [serial online]. 2021 [cited 2022 December 30]; 6(1). Available from: https://doi.org/10.1186/s40359-021-00688-2
Radwan E, Radwan A, Radwan W, Pandey D. Perceived stress among school students in distance learning during the COVID-19 pandemic in the Gaza strip, Palestine. Augment Hum Res [serial online]. 2021 [cited 2022 December 30]; 6(1). Available from: https://doi.org/10.1007/s41133-021-00050-6
สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. เอยูโพล: การเรียนออนไลน์ในสถานการณ์ Covid-19 [อินเตอร์เน็ต] 19 พฤษภาคม 2563 [เข้าถึงเมื่อ 27 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ryt9.com/s/abcp/3134816
โรจกร ลือมงคล. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความเครียดในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา จังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 2564; 8(2):117-29.
Sugiyanto EP, Prasetyo CH, Pramono WH. Factors related to student’ psychosocial problems during COVID-19 pandemic. Indonesian Journal of Global Health Research. 2020; 2(4):309-14.
Muilenburg LY. Berge ZL. Students barriers to online learning: A factor analytic study. Distance Educ. 2005; 26(1): 29-48.
Abuhammad S. Barriers to distance learning during the COVID-19 outbreak: A qualitative review from parents’ perspective. Heliyon [serial online]. 2020 [cited 2022 December 30]; 6(11):e05482. Available from http://dx.doi.org/10.1016/
j.heliyon.2020.e05482
โรงเรียนคอนสวรรค์. ปัญหาการเรียนออนไลน์ของนักเรียนในช่วงการระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 2019 [เอกสารอัดสำเนา]. อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ: โรงเรียน; 2564.
Lwanga SK, Lemeshow S. Sample size determination in health studies: A practical manual. Geneva: World Health Organization; 1991.
อรวรรณ ศิลปะกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2551;16(3):177-85.
Goldstein JM, Jerram M, Poldrack R, Ahern T, Kennedy DN, Seidman LJ, et al. Hormonal cycle modulates arousal circuitry in women using functional magnetic resonance imaging. J Neurosci [serial online]. 2005 [cited 2022 December 30]; 25(40): 9309-16. Available from: http://dx.doi.org/10.1523/JNEUROSCI.2239-05.2005
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9