ศักยภาพการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยด้วยการกิน กอด เล่น เล่า และการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล ณ ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ศักยภาพ, การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย, การกินกอดเล่นเล่า, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสานวิธี เพื่อศึกษาศักยภาพการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยด้วยการกิน กอด เล่น เล่า และการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยแบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกที่เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า สภาพการณ์เกี่ยวกับศักยภาพการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้ดูแล จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน พบว่ามีปัญหาในศักยภาพของผู้ดูแล 5 ด้านได้แก่ 1) การรับประทานอาหารของเด็ก 2) การได้รับความอบอุ่นจากผู้ดูแล 3) การเล่น 4) การเล่าเรื่องของเด็ก และ 5) การมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ดูแล การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนแสดงให้เห็นถึงปัจจัยด้านศักยภาพการอบรมเลี้ยงดูเด็กใน 3 ด้านของผู้ดูแลที่มีความสำคัญ ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และ ทัศนคติที่ดีต่อการสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย ระยะที่สองเป็นการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ดูแลเด็กจำนวน 155 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามศักยภาพ และการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.92 และ 0.94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าระดับคะแนนศักยภาพ มีระดับคะแนนเรียงจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการกิน การเล่น การกอด และ การเล่า ตามลำดับ การมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้ดูแลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.79, SD=0.51) ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ การอบรมเลี้ยงดูในฐานะผู้ดูแล (=4.47, SD=0.43) รองลงมาคือ การเรียนรู้ที่บ้าน (=4.09, SD=0.47)
References
Heckman JJ. The Case for Investing in Disadvantaged Young Children. Mimeo University of Chicago; 2008.
องค์กรยูนิเซฟ ประเทศไทย. คู่มือการฝึกอบรมครูและผู้ดูแลเด็ก. กรุงเทพ: วาย.เค.เอช กราฟิก แอนด์ เพรส; 2561.
อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร, พัชราภรณ์ พุทธิกุล. การวิเคราะห์สถานการณ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่และการนำเสนอนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว. วารสาร
ครุศาสตร์. 2563; 45(3):188-205.
สุริยเดว ทวิปาตี. คุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บีเคเคโปร; 2559.
Bronfenbrenner U. The Bioecological Theory of Human Development. New York: Elsevier; 2001.
ภณิการ์ เพชรเขียว. การพัฒนาตัวตนเพื่อยุติการใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นสลัม. [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการเสริมสร้างความผูกพันทางอารมณ์ หรับเด็กแรกเกิด-5 ปี ด้วย “กิน กอด เล่น เล่า”. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
Bloom BS. Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. New York: David Mckay; 1964.
Epstein JL. School/family/community partnerships: Caring for the children we share. Phi Delta Kappa 1995; 76(9): 701-12.
สุกัญญา ปัญญานนท์, สุขุม มูลเมือง และสมหญิง จันทรุไทย. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านผึ้ง (มธุลีห์ประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต 1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2564; 4(3): 81-93.
Creswell J.W, Plano Clark V.L. Designing and Conducting Mixed Methods Research. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Sage; 2011.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซ็ทการพิมพ์; 2552.
สุวิมล ติรกานันท์. การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์. ปัญหาการบริโภคสื่อและอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน เด็กปฐมวัย ในคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บีเคเคโปร; 2559.
อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร, พัชราภรณ์ พุทธิกุล. การวิเคราะห์สถานการณ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่และการนำเสนอนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว. วารสารครุศาสตร์. 2563; 45(3):188-205.
อัมรา ธำรงทรัพย์, ผุสดี กุลสุวรรณ, รัตนา ศิวิสาร. ผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด–5 ปีที่มีพัฒนาการสมวัยด้วยกิจกรรมกินกอดเล่นเล่าต่อความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดูหลัก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2561; 14(1):35-41.
ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุรรณเวหา, อติญาณ์ ศรเกษตริน. การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(3): 226-35.
จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย, สุจิมา ติลการยทรัพย์. ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนในเด็กปฐมวัย: บทบาทของพยาบาลในการช่วยเหลือดูแล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564; 8(10): 113-24.
ยุภดี สงวนพงษ์, ธนิดา ผาติเสนะ.คุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย (อายุ 2-4 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2563; 63(4):41-55.
กุลชาติ พันธุวรกุล, เมษา นวลศร. เด็กปฐมวัยกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล: โอกาสหรือความเสี่ยง. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2562; 47(2):1-23.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9