ผลของกิจกรรมเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ ต่อทักษะการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ทิพธัญญา อุ่นท้าว สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ปวีณา ลิมปิทีปราการ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การคิดเชิงบริหาร, การเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–experimental study) โดยใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (the one group pretest posttest design) เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ ที่มีต่อทักษะการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ เด็กอายุ 2-6 ปี ที่กำลังศึกษาระดับปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบอน อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 33 คน ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน Paired–sample t-test ผลการศึกษาพบว่า คะแนนการประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร ด้านการยืดหยุ่นทางความคิด ด้านความจำขณะทำงาน และด้านการวางแผนจัดการ หลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ครูหรือผู้ดูแลเด็กควรส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร เช่น ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยเตือนเก็บของเล่นเข้าที่เมื่อเล่นเสร็จ เมื่อทำน้ำหกรู้จักหาผ้ามาเช็ด กิจกรรมโยนห่วงสีตามคำสั่ง เพื่อดูว่า
เด็กสามารถจำคำสั่งหรือกติกาในการเล่นในตอนแรกได้หรือไม่ ทั้งนี้ในการทำวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อทักษะการคิดเชิงบริหาร เพื่อนำผลที่ได้มาแก้ไขเชิงระบบต่อไป

Author Biographies

ทิพธัญญา อุ่นท้าว, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

ปวีณา ลิมปิทีปราการ, วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

จุฬินฑิพา นพคุณ. การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยผ่านการสอนแบบมอนเตสซอรี่; วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2561;16(1):75-90.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป). คู่มือพ่อแม่ พัฒนาทักษะสมอง EF-Executive Functions ตั้งแต่ปฏิสนธิ-3 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำกัด; 2561.

Zysset AE, Kakebeeke TH, Messerli-Burgy NM, Meyer AH, Stulb K, Leeger-Aschmann CS, et al. Predictors of executive functions in preschools: Finding from the SPLASHY study. Frontiers in Psychology 2018;9:1-11.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. การพัฒนาทักษะสมอง Executive Functions–EF (ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ) ในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สถาบันอาร์แอลจี; 2558.

ศรัล ขุนวิทยา. รายงานการวิจัยความสัมพันธ์ของภาวะโรคอ้วนและความสามารถการคิดเชิงบริหารของสมองในเด็กวัยเรียน. กรุงเทพฯ: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. รายงานการวิจัย การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

อภิรักษ์ ตาแม่ก๋ง, ปนัดดา ธนเศรษฐกร, พัชรินทร์ เสรี, วรสิทธิ์ ศิริพรพานิชย์. ผลของ โปรแกรม I AM TAP ต่อทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ 2562;14(1):182-3.

อัญชนา ใจหวัง, ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย, ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย. ผลของกิจกรรมการเต้นสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะการคิด เชิงบริหารด้านพื้นฐานในเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัยทางการศึกษา สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2562;33(108):186-97.

กองกิจกรรมทางกาย กรมอนามัย. คู่มือเล่นเปลี่ยนโลก สำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธันวาคม 19]. เข้าถึงได้จาก: https://dopah.anamai.moph.go.th/web-upload/8x6b2a6a0c1fbe85a9c274e6419fdd6071/202203/m_magazine/24466/3603/file_download/89dd292e432724d6ab1d7cee606f8893.pdf

พิมพ์ชษา ทาระชัย, ยุพิน ยืนยง. การพัฒนาชุดกิจกรรมร้องเต้นเล่นทำตามแนวคิดจิตตปัญญาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารด้านการควบคุมอารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัย.วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.). 2562;21(1):92-109.

ธิดา สมศรี, จุฑามาศ แหนจอน, วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์. การพัฒนาโปรแกรมการเล่นพื้นบ้านเพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งในนักเรียนประถมศึกษา.วารสารพยาบาลทหารบก. 2563;21(2):222-30.

ชุติกาญจน์ กายสิทธิ์. กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย. หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ศูนย์นครราชสีมา); 2561.

นุชนาฎ รักษี. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะสมองการรู้คิดเชิงบริหาร ผ่านกิจกรรมบูรณาการประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธันวาคม19]. เข้าถึงได้จาก: https://op.mahidol.ac.th/ra/2018/08/15/cf_2561-06/

กมลรัตน์ คนองเดช, สุนิศา ธรรมบัญชา, อาทิตยา วงศ์มณี, เสาวลักษณ์ สมวงษ์, นวพร แซ่เลื่อง. ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อและของเล่นที่มีต่อทักษะ EF ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู เขตพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ [อินเตอร์เน็ต] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธันวาคม19]. เข้าถึงได้จาก: https://wb.yru.ac.th/xmlui/bitstream/handle/yru/4197/ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อและของเล่นที่มีต่อทักษะ%20EF.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-08