การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • รัศมี ชุดพิมาย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยง, ชุมชน, การพัฒนารูปแบบ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มีกิจกรรมดังนี้ 1) อบรมความรู้และทักษะที่จำเป็นให้กับผู้ดูแล ด้วยหลักสูตร “CG เชี่ยวชาญด้านดูแลใจ” 2) สร้างระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยที่เสี่ยงก่อความรุนแรง ด้วย 2ย. 1ส. (ยาดี/ญาติดี/หลีกเลี่ยงสุรา สารเสพติด) และเฝ้าระวัง 5 อาการสำคัญ (5 Red Flags) 3) สร้างเครือข่าย 7 สหายคลายทุกข์ 4) แลกเปลี่ยนนวัตกรรมจากตำบลต้นแบบ นำไปปรับใช้ทุกตำบล และ 5) เพิ่มระบบพี่เลี้ยงและกำกับติดตามประเมินผล การสร้างความร่วมมือ โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และกำหนดบทบาทหน้าที่ทุกภาคส่วนให้ชัดเจน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินทักษะการดำรงชีวิตเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวช มีค่าความเที่ยง 0.94 แบบวัดดัชนีความสุข มีค่าความเชื่อมั่น 0.70 และแบบสอบถามการมีส่วนร่วมมีค่าความเชื่อมั่น 0.77 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยง จำนวน 88 คน ญาติผู้ป่วย จำนวน 88 คน และภาคีเครือข่าย จำนวน 98 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนทักษะการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.01 (t=6.983, p<0.001) 2) คะแนนดัชนีชี้วัดความสุขของญาติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.01 (t=12.837, p<0.001) 3) คะแนนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.01 (t=11.606, p<0.001) และ 4) มีประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากตำบลต้นแบบ

งานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรพัฒนาต่อยอดหลักสูตร “CG เชี่ยวชาญด้านดูแลใจ”ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน วัดผลการใช้นวัตกรรม และขยายผลต่อ เพื่อประโยชน์อย่างกว้างขวาง และสร้างคุณค่าให้ผู้ป่วยโดยส่งเสริมการสร้างอาชีพให้กับผู้ป่วยที่มีความพร้อม

Author Biography

รัศมี ชุดพิมาย, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ (ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข). กรุงเทพฯ: บริษัท วิคทอเรียอิมเมจ จำกัด; 2560.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์; 2559.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด; 2561.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลำปลายมาศ. สรุปสถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวช. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลำปลายมาศ; 2564.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, พิมพิมล วงศ์ไชยา.การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : ลักษณะสำคัญ และการประยุกต์ใช้ในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2560;36(6):193-200.

Yamane T. Statistic: An introductory analysis. 3rd ed. Tokyo: Harper International; 1975.

อภิชัย มงคล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ทวี ตั้งเสรี, วัชนี หัตถพนม, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, วรวรรณ จุฑา.รายงานการวิจัย การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Version 2007).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2552.

พิทักษ์พล บุณยมาลิก, สุพัฒนา สุขสว่าง, ศิริลักษณ์ สว่างวงศ์สิน. รายงานการ วิจัยการพัฒนาแบบประเมินทักษะการดำรงชีวิตเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวช โรงพยาบาลศรีธัญญา. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. คู่มือวิทยากรจัดกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2560.

พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, อนุรัตน์ สมตน. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตที่เขาถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2561;32(2):69-83.

สุเทพ พลอยพลายแก้ว, นิษฐา หรุ่นเกษม, อรนุช ภาชื่น, ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของชุมชนจังหวัดลพบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก. 2556; 14(1):61-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-08