การจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอดบุตร

ผู้แต่ง

  • สุพรรษา จิตรสม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
  • บานเย็น แสนเรียน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
  • พรผกาย์ ต้นทอง โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการความเจ็บปวด, การผ่าตัดคลอด

บทคัดย่อ

ความปวดหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องเป็นปัญหาที่สำคัญ เป็นความรู้สึกและประสบการณ์ของมารดาหลังคลอดที่รับรู้ถึงความปวดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายจากการผ่าตัดเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารกระตุ้นความความปวด ส่งผลกระทบทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ทำให้อ่อนเพลีย วิตกกังวล รู้สึกไม่สุขสบาย ส่งผลต่อกิจวัตรประจำวัน การดูแลบุตรหลังคลอดและสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและบุตร ดังนั้นการดูแลการจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะช่วยให้มารดาหลังคลอดเผชิญความปวดและควบคุมความปวดได้ โดยการจัดการความปวดมีทั้งวิธีที่ใช้ยา เช่น  พาราเซตามอล ยา NSAIDs ยากลุ่มเสพติด เป็นต้น ซึ่งเป็นบทบาทตามแผนการรักษาของแพทย์ และวิธีที่ไม่ใช้ยาซึ่งเป็นบทบาทอิสระ เช่น การจัดท่า การนวด การสัมผัส การใช้ผ้ารัดหน้าท้อง และการจัดท่าให้นมบุตร เป็นต้น พยาบาลมีบทบาทที่สำคัญในการบูรณาการวิธีการเจ็บปวดผสมผสานกันทั้ง 2 วิธี เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้รับการจัดการความปวดอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความรุนแรงของอาการปวดทำให้มารดาสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ส่งผลให้มารดาหลังคลอดสามารถปรับตัวและแสดงบทบาท
การเป็นมารดาได้อย่างเหมาะสม

Author Biographies

สุพรรษา จิตรสม, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล

อาจารย์

บานเย็น แสนเรียน, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล

อาจารย์

พรผกาย์ ต้นทอง, โรงพยาบาลขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

ปัญญา สนั่นพาณิชกุล. แนวคิดเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2561;35(3):312-20.

ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, พรพรรณ ภูสาหัส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความทุกข์ทรมานของสตรีหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วารสารพยาบาลทหารบก. 2558;16(1):101-8.

คะนึงนิตย์ อ่อนปาน, นราภรณ์ ขุนกำแหง. ผลของผ้ารัดหน้าท้องต่อความปวดแผลหลังผ่าตัดคลอด. วารสารศูนย์การแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2563;37(3):196-203.

Ibrahim Karaca, Mustafa Ozturk, Ismail Alay, Onur Ince, Suna Yildrim Karaca, Volkan Sakir Erdogan, Murat Ekin. Influence of abdominal Binder usage after cesarean delivery on postoperative mobilization, pain and distress: A randomized controlled trial. The Euracian Journal of Medicine. 2019;51(3):214-8.

ทิพาวรรณ คำห้าง, สุนิสา ปัทมาภรณ์พงศ์, สิริรธร สงวนเจียม. การจัดท่าให้นมบุตรเพื่อลดระดับความปวดแผลผ่าตัดและเพิ่มประสิทธิภาพการให้นมของมารดาหลังผ่าท้องทำคลอด. Journal of the Phrae Hospital. 2559;23(2):38-46.

Deussen AR, Ashwood P, Martis R, Stewart F & Grzeskowiak LE. Relief of pain by uterine cramping or involution after giving birth. Cochrane Database Syst Rev. 2020; 51(4): 34-40.

วิศิษฎ์ จันทร์คุณาภาส, กิตติภัต เจริญขวัญ. การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มเพื่อเปรียบเทียบความเจ็บปวดและการฟื้นตัวของการทำงานในสตรีมีครรภ์หลังจากการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องระหว่างกลุ่มที่ใช้ผ้ายางยืดรัดหน้าท้องกับรายที่ไม่ใช้ผ้ายางรัดหน้าท้อง. [รายงานการวิจัย]. เชียงใหม่: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2562.

ปาริฉัตต์ นิลแย้ม, ลัดดา เพิ่มพูนผลประเสริฐ, ปาริชาติ อภิเดชากุล, ชุษณา รุ่งจินดามัย. การเปรียบเทียบการประเมินความปวดของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดคลอดบุตรในโรงพยาบาลศิริราชโดยพยาบาลประจำหอผู้ป่วยและบุคลากรจากหน่วยระงับปวดในโรงพยาบาลศิริราช. วิสัญญีสาร. 2559;42(4):292-9.

ทิพวรรณ เอี่ยมเจริญ. บทบาทพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;34(1):6-14.

มณท์ธภัชรด์ สุนทรกุลวงศ์. คุณภาพการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในสตรีหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2561.

สินีนาฏ หงส์ระนัย. การเปรียบเทียบความรู้สึกเจ็บครรภ์คลอดระหว่างผู้คลอดครรภ์แรกและครรภ์หลังในระยะที่หนึ่งของการคลอด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561;26(2):76-83.

กันตา โกสุมภ์. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปราจีนบุรี. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.

พจนี วงศ์ศิริ, ศุภดีวัน พิทักษ์แทน. ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการความเจ็บปวดต่อการลดความปวด ความวิตกกังวลและความพึงพอใจในผู้ป่วยคลอดบุตรที่ได้รับความรู้สึกชนิดดมยาสลบห้องพักฟื้น โรงพยาบาลสุราษณ์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต. 11;33(3):441-60.

เพ็ญศรี เรืองศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการลดความปวดในสตรีผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลสมุย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564;8(9):144-60.

นพรัตน์ ธาราณะ. การส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด. พยาบาลสาร. 2564;48(4):324-35.

ขนิษฐา ผลงาม, รัชนาถ มั่นคง. ผลการนวดประคบเต้านมด้วยเจลความร้อนชื้นร่วมกับการกระตุ้นหัวนมและลานนมต่อการหลั่งน้ำนมครั้งแรกและปริมาณการไหลของน้ำนมในมารดาผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2564;14(1):156-69.

ธัญญารัตน์ สิงห์แดง, อุษณีย์ สังคมกำแหง, ธนนิตย์ สังคมกำแหง. การใช้ที่รัดหน้าท้องเพื่อลดการปวดแผลผ่าตัดหลังคลอดบุตร. ราชวิทยาลัยสูตนรีแพทย์แห่งประเทศไทย. 2563;28(1):52-9.

ศศินาภรณ์ โลหิตไทย, บุญยิ่ง ทองคุปต์. ผลของรูปแบบผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวดแผลผ่าตัดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562;27(1): 23-32.

อัจราพร โชติพนัง, อวยพร ภัทรภักดีกุล. ผลของการฟังดนตรีตามชอบต่อความปวดและสัญญาณชีพในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดช่องท้อง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2558;26(2):43-53.

นูรีฮา ฤทธิ์หมุน, อัญชลี อินทสร. ผลของการจัดท่าให้นมบุตรต่อระดับความปวดแผลผ่าตัดและประสิทธิภาพการให้นมมารดาหลังผ่าท้องทำคลอด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2555;32(3): 37-50.

Al-Mahrezi A, Al-Shidhani A. Is Chronic Post-Surgical Pain Preventable?. In: Shallik NA, editor. Pain Management in Special Circumstances [Internet]. London: IntechOpen; 2018 [cited 2022 Aug 21]. Available from: https://www.intechopen.com/chapters/62711

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-14