การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ

ผู้แต่ง

  • ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • เอมอร ทาระคำ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • มาลี ล้วนแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สัจจวรรณฑ์ พวงศรีเคน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • อติญา โพธิ์ศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • วิภาพร จันทนาม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ขวัญจิรา กันทะโล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • วรรณภา พิพัฒน์ธนวงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • วารีรัตน์ วรรณโพธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การมีส่วนร่วม, ผู้ดูแลเด็กสมองพิการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลเด็กสมองพิการ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลเด็กสมองพิการ พื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งใน จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วย ผู้ดูแล 18 คน และทีมสหวิชาชีพผู้ให้บริการ 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแล ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์  2) พัฒนาและทดลองใช้ และ 3) ประเมินผลลัพธ์ ดำเนินการระหว่าง 10 พ.ย. 2562 ถึง 10 พ.ย. 2563

ผลการวิจัย 1) สภาพการณ์และความต้องการรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล: ผู้ดูแลมีความรู้ เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง แต่ขาดความมั่นใจในทักษะการดูแลเด็กสมองพิการที่บ้าน สหวิชาชีพมีความพร้อมทั้งจำนวนบุคลากรและสิ่งสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์สำหรับการดูแลเด็กป่วย 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพทีมสหวิชาชีพเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมทุกด้าน การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลด้านความรู้และฝึกปฏิบัติทักษะการดูแลเด็กสมองพิการ การวางแผนดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ และ การสนับสนุนกายอุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยในชีวิตประจำวัน 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กสมองพิการอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.69, SD=0.46) สหวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.39, SD=0.48)

Author Biographies

ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

เอมอร ทาระคำ, กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

พยาบาลวิชาชีพ

มาลี ล้วนแก้ว, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

อาจารย์

สัจจวรรณฑ์ พวงศรีเคน, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อติญา โพธิ์ศรี, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วิภาพร จันทนาม, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

อาจารย์

ขวัญจิรา กันทะโล, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

อาจารย์

วรรณภา พิพัฒน์ธนวงศ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

อาจารย์

วารีรัตน์ วรรณโพธิ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

อาจารย์

References

Colver A, Fairhurst C, Pharoah PO. Cerebral palsy. Lancet. 2014;383(9924):1240-9. doi:10.1016/S0140-6736(13)61835-8

Kakooza-Mwesige A, Andrews C, Peterson S, Wabwire Mangen F, Eliasson AC, Forssberg H. Prevalence of cerebral palsy in Uganda: a population-based study. Lancet Glob Health. 2017;5(12):e1275-e1282. doi:10.1016/S2214-109X(17)30374-1

Lang TC, Fuentes-Afflick E, Gilbert WM, Newman TB, Xing G, Wu YW. Cerebral palsy among Asian ethnic subgroups. Pediatrics. 2012;129(4):e992-e998. doi:10.1542/peds.2011-2283

Ruiz Ruiz E, Ramalle-Gómara E, Quiñones C, Andrés JM, Posada M, et al. (2014) Trends in Cerebral Palsy Infant Mortality from 1981 to 2011 in Spain. J Neurol Disord Stroke 2(1):1029.

Hockenberry MJ, Wong DL. Wong's Essentials of Pediatric Nursing. 8th ed. St. Louis, Missouri: Mosby; 2011.

สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, ปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง: กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารสภาการพยาบาล. 2557; 29(4):22-31.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1998.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล:ระเบียบวิธีวิจัยและกรณีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2555.

สิริมา ชุ่มศรี, นุจรี ไชยมงคล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลเด็กต่อความสามารถและความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลเด็กสมองพิการ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2557;22(4):35-46.

Mlinda SJ, Leyna GH, Massawe A. The effect of a practical nutrition education programme on feeding skills of caregivers of children with cerebral palsy at Muhimbili National Hospital, in Tanzania. Child Care Health Dev. 2018;44(3):452-61. doi:10.1111/cch.12553

Dodge NN. Cerebral palsy: medical aspects. Pediatr Clin North Am. 2008;55(5):1189-ix. doi:10.1016/j.pcl.2008.07.003

กัญญาลักษณ์ ณ รังสี. เสียงสะท้อนจากผู้ดูแลหลัก: ประสบการณ์การเตรียมและป้อนอาหารแก่เด็กสมองพิการ. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2557;(14)4:589-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-25