ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในด้านโภชนาการเด็กปฐมวัย และส่วนประสมทางการตลาดของผู้ปกครอง ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ยุภดี สงวนพงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • วาสนา แสงทอง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • จารุมาศ จันทกุล โรงเรียนบ้านห้วยบงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ, เด็กปฐมวัย, โภชนาการ, ส่วนประสมทางการตลาด, ผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในด้านโภชนาการเด็ก และส่วนประสมทางการตลาดของผู้ปกครอง ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ประชากรในการศึกษา คือผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาเสียว จำนวน 126 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย 1) แบบสอบถามความรู้ด้านโภชนาการ และด้านส่วนประสมทางการตลาดของผู้ปกครอง ใช้การทดสอบความเชื่อมั่นของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 0.94 2) แบบสอบถามทัศนคติ และการปฏิบัติ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.92 และ 0.95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (86.80%) อายุ 50-59 ปี (29.40%) ความสัมพันธ์กับเด็กเป็นยาย (65.08%) การศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา (42.86%) สถานภาพสมรส (96.03%) อาชีพเกษตรกร (42.86%) รายได้ต่ำกว่า 10,001 บาท (29.36%) ลักษณะครอบครัวแหว่งกลาง (53.97%) สมาชิกในครอบครัวจำนวน 4–5 คน (34.13%) และการได้รับข้อมูลจากโทรทัศน์ (84.13%) พบว่าผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการและด้านส่วนประสมทางการตลาด อยู่ในระดับสูง (72.22% และ 57.94%) ทัศนคติของผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =4.09, SD=0.52 และ gif.latex?\bar{X}=4.06, SD=0.42) และการปฏิบัติของผู้ปกครอง อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}=4.37, SD=0.42 และ gif.latex?\bar{X}=3.96, SD=0.32) ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญการจัดเตรียมอาหารให้มีความเหมาะสมตามวัยและมีความรอบรู้ด้านส่วนประสมทางการตลาด เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับการบริโภคอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัย สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป

Author Biographies

ยุภดี สงวนพงษ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์

วาสนา แสงทอง, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์

จารุมาศ จันทกุล, โรงเรียนบ้านห้วยบงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ครูเด็กปฐมวัย

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 [อินเทอร์เนต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 18]; เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Rosales FJ, Reznick JS, Zeisel SH. Understanding the Role of Nutrition in the Brain and Behavioral Development of Toddlers and Preschool Children: Identifying and Addressing Methodological barriers. Nutr Neurosci 2009; 12(5): 190-202.

จักรินทร์ ปริมานนท์, ปุญญพัฒน์ ไชยเมลล์, สมเกียรติยศ วรเดช. ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการในเด็กต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561; 5(1): 329-42.

ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุวรรณเวหา, อติญาณ์ ศรเกษตริน. การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(3): 226-35.

วนิสา องอาจ, สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2559;17(2):13-27.

วีรวัลย์ ศิรินาม. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2561.

เบญจพรรณ ธิติเลิศเดชา. คุณภาพด้านโภชนาการและการดัดแปลงอาหารกลางวันและอาหารว่างสำหรับ เด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลจุน จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยสาธารณสุข. 2564;14(2):80-93.

Wilcox LB, Kunkel D, Cantor J, Dowrick P, Linn S, Palmer E. Report of the APA task force on advertising and children. American Psychological Association. Public Affairs Office [serial online]. 2004 [cited 2017 Aug 12]. Available from: https://www.apa.org/pi/families/resources/advertising-children.pdf

Leigh G. Food advertising policy in the United States. [serial online]. International Food Policy Research Institute. 2007 [cited 2017 Aug 15]. Available from: http://www.foodsecurityportal.org/sites/default/files/FoodAdvertisingPolicy.pdf

Kotler P, Keller KL. Marketing Management. 14th ed. New Jersey: Pearson; 2012.

Bloom BS. Taxonomy of Education Objective Handbook. New York: David McKay; 1975.

Best JW. Research in Education. 4th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1981.

Cronbach LJ. Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill; 1984.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาผลของการให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนต่อภาวะโภชนาการไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2562.

สุนิสา ชีวันโชติบัณฑิต, พอดี สุขพันธ์. รูปแบบการดำเนินชีวิตและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนผ่านช่องทางออนไลน์ของบุคลากรกรมสอบสวนคดีพิเศษ. วารสารบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2565;15(1):87-109.

วาสนา แสงทอง, รจนา เมืองแสน, สำราญ วานนท์, ยุภดี สงวนพงษ์. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนระดับอุดมศึกษาในเขตเมือง จังหวัดชัยภูมิ. “ศาสตร์ ศิลป์ กับการวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ครั้งที่ 4 ประจำปี 2562 วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2562; ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

จิรารัตน์ พร้อมมูล, ตรีทิพย์ เครือหลี, ชุติมา เพิงใหญ่, วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. สถานการภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนโดยมีครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561; 5(3): 169-84.

สุกัญญา บัวศรี กมลทิพย์ ทิพย์สังวาลย์ และอนงค์ สุนทรานนท์. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผักและผลไม้ของเด็กวัยเรียนในจังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร. 2563; 47(2): 24-35.

ยุภดี สงวนพงษ์, ธนิดา ผาติเสนะ. คุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย (อายุ 2-4 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2563; 63(4): 41-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-25