ระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 6

ผู้แต่ง

  • ศรัชฌา กาญจนสิงห์ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัย, การจ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา ใช้ CIPP Model เป็นหลักในการศึกษาสภาพการดำเนินงานการจ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัย โดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และกลุ่มผู้รับบริการในสถานบริการสาธารณสุขระดับจังหวัด อำเภอและตำบล จำนวน 624 ราย ใช้การสุ่มเลือกพื้นที่แบบขั้นลำดับ และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบมีเกณฑ์ ประกอบด้วยผู้บริหาร 144 ราย ผู้ให้บริการ 192 ราย และผู้รับบริการ 288 ราย ที่รับบริการที่คลินิกฝากครรภ์และคลินิกสุขภาพเด็กดี ใน 24 จังหวัด จาก 12 เขตสุขภาพทั่วประเทศ เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการจ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก นำมาจัดทำร่างระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัยและทดลองใช้ระบบในเขตสุขภาพที่ 6 เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังทดลองใช้ระบบเฝ้าระวังฯ ด้วย Paired-sample t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) การดำเนินงานการจ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ด้านบริบท: ผู้บริหารและผู้ให้บริการในทุกระดับมีความเห็นว่านโยบายการจ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กเป็นนโยบายที่ดี ทำให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย แต่พบว่าสถานบริการบางแห่งไม่จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก เนื่องจากไม่ทราบแนวทางการจ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กที่ชัดเจน การจัดซื้อยาน้ำเสริมธาตุเหล็กใช้งบประมาณสนับสนุนจากงบส่งเสริมป้องกันของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ด้านปัจจัยนำเข้า: ผู้บริหารและผู้ให้บริการส่วนใหญ่ทราบว่าการจ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ เด็กอายุ 6 เดือน–2 ปี อสม. เป็นผู้ติดตามให้ผู้ดูแลเด็กมารับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ในเด็กอายุ 3–5 ปี จะประสานให้ครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นผู้ให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ด้านกระบวนการ: สถานบริการส่วนใหญ่ขาดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ขาดการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลภาวะซีด ผู้รับบริการส่วนใหญ่ไม่ทราบประโยชน์ ขนาดและวิธีรับประทานยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในเด็กแต่ละช่วงอายุ และ ด้านผลผลิต: ผู้บริหารและผู้ให้บริการส่วนใหญ่ไม่ทราบสถานการณ์การจ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ไม่มีรายงานและการติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ เด็กได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กไม่ครอบคลุมและพบปัญหาเกี่ยวกับรสชาติของยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก 2) ระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัยทำให้ผลการดำเนินงานการจ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)

Author Biography

ศรัชฌา กาญจนสิงห์, กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

References

Plomin R, Craig I. Human behavioural genetics of cognitive abilities and disabilities. Bioessays. 1997;19(12):1117-24. doi:10.1002/bies.950191211

Rajatanavin R, Chailurkit L, Winichakoon P, et al. Endemic cretinism in Thailand: a multidisciplinary survey. Eur J Endocrinol. 1997;137(4):349-55. doi:10.1530/eje.0.1370349

Labbé RF, Vreman HJ, Stevenson DK. Zinc protoporphyrin: A metabolite with a mission. Clin Chem. 1999;45(12):2060-72.

แสงโสม สีนะวัฒน์ และคณะ. สถานการณ์ของภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียน.

Fact sheet สถานการณ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 [อินเตอร์เน็ต]. 2547 [เข้าถึงเมื่อ 2558 พฤษภาคม 11]. เข้าถึงได้จาก: http://advisor1.anamai.moph.go.th/factsheet/student/anemia.html

ดวงทิพย์ ธีระวิทย์. สถานการณ์ด้านโภชนาการของเด็กและเยาวชน. สถานการณ์สุขภาพเฉพาะกลุ่มอายุ. สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2558 พฤษภาคม 6]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/hiso5/analysis/analysis7_1.php?number=1

ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ. โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. สาระสุขภาพ-อโรคยาโรคไม่ติดต่อ.ฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. 2551 [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 2558 พฤษภาคม 7]. เข้าถึงได้จาก: http://www.vachiraphuket.go.th/www/

publichealth/?name=knowledge&file=readknowledge&id=121

นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล, บรรณาธิการ. คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย; 2558.

พนิต โล่เสถียรกิจ, วรรณภา กางกั้น, กรวิกา ภู่พงศ์พันธุ์กุล, โชติรส พันธ์พงษ์, มลุลี แสนใจ, ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์ และคณะ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยในปี พ.ศ. 2557. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560; 26(ฉบับเพิ่มเติม 2):S199-S208.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร และคณะ. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึง เมื่อ 2560 ธันวาคม 30]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cgtoolbook.com/books003/4/

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. คณะกรรมการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2558.

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP). ร่างมาตรฐานการทำงานการป้องกันโลหิตจางในเด็ก [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2558 พฤษภาคม 6]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/12/QS-animia.pdf

คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแบ่งตามกลุ่มวัย (ชุดสิทธิประโยชน์) ปี พ.ศ. 2559. คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2558 พฤษภาคม 6]. เข้าถึงได้จาก: http://hp.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1239

World Health Organization. Guideline: Daily Iron and Folic Acid Supplementation in Pregnant Women. Geneva: World Health Organization; 2012.

World Health Organization. Strategies to Prevent Anaemia: Recommendations from an Expert Group Consultation. New Delhi, India: World Health Organization; 2016.

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ HDC [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2561 พฤศจิกายน 2]. เข้าถึงได้จาก: http://neo.moph.go.th/hdc/

จงกล เลิศเธียรดำรง และคณะ. การสำรวจราคายา 40 รายการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจัดซื้อในปี 2539. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2561 พฤศจิกายน 25]. เข้าถึงได้จาก: http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1771?locale-attribute=th

กรมอนามัย. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

กรมอนามัย. คู่มือโรงเรียนพ่อแม่เพื่อลูกรัก “สุขภาพดี สมองดี อารมณ์ดี มีความสุข”. พิมพ์ครั้งที่ 3. กลุ่มอนามัยแม่และเด็กสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย); 2559.

องค์การเภสัชกรรม. ยาน้ำแขวนตะกอน เฟอร์รัส ฟูมาเรต 76 มิลลิกรัม/5มิลลิกรัม (เฟอร์โรคิด 60 มิลลิกรัม). กรุงเทพฯ: องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-16