ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จตุพงษ์ พันธ์วิไล พย.ม. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • นิรมัย มณีรัตน์ พย.บ. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • สุพัตรา ปวนไฝ พย.ม. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • สุชารินี ศรีสวัสดิ์ พย.ม. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • วินัฐ ดวงแสนจันทร์ พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ความรู้, ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรม
การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการที่โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จำนวน138 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเครื่องมือได้ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นก่อนนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (median=17 และ 103 คะแนน ตามลำดับ) ในขณะที่คะแนนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในระดับปานกลาง (median=110 คะแนน) ความรู้ และความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.416 และ 0.362 ตามลำดับ, p<0.05)

สรุปผล: ผลการวิจัยจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับบุคลากรทีมสุขภาพเพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง

Author Biographies

จตุพงษ์ พันธ์วิไล พย.ม., โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

พยาบาลวิชาชีพ

นิรมัย มณีรัตน์ พย.บ., โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

พยาบาลวิชาชีพ

สุพัตรา ปวนไฝ พย.ม., โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

พยาบาลวิชาชีพ

สุชารินี ศรีสวัสดิ์ พย.ม., โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

พยาบาลวิชาชีพ

วินัฐ ดวงแสนจันทร์ พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

อาจารย์

References

Feigin VL, Brainin M, Norrving B, et al. World Stroke Organization (WSO): Global Stroke Fact Sheet 2022 [published correction appears in Int J Stroke. 2022 Apr;17(4):478]. Int J Stroke. 2022;17(1):18-29. doi:10.1177/17474930211065917

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราการตายของโรคไม่ติดต่อ ปี พ.ศ. 2559-2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 สิงหาคม 1]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14220&tid=32&gid=1-020

Rochmah TN, Rahmawati IT, Dahlui M, Budiarto W, Bilqis N. Economic Burden of Stroke Disease: A Systematic Review. Int J Environ Res Public Health. 2021;18(14):7552. Published 2021 Jul 15. doi:10.3390/ijerph18147552

กฤษฎา เขียวเปลื้อง. ผลของการใช้แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในโรงพยาบาลระนอง. วารสารวิชาการแพทย์เขต11. 2561;32(2):1083-94.

Yousufuddin M, Young N. Aging and ischemic stroke. Aging (Albany NY). 2019;11(9):2542-4. doi:10.18632/aging.101931

Lui SK, Nguyen MH. Elderly Stroke Rehabilitation: Overcoming the Complications and Its Associated Challenges. Curr Gerontol Geriatr Res. 2018;2018:9853837. Published 2018 Jun 27. doi:10.1155/2018/9853837

Rosenstock IM. The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education Monographs. 1974;2(4):354-86. doi:10.1177/109019817400200405

สุริยา หล้าก่ำ, ศิราณี อินธรหนองไผ่. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ตำบลเหนือเมือ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2560;9(2):85-94.

ณัชชา เจริญสรรพกิจ. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้อาการเตือน กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2563;3(3):46-58.

Pothiban L, Srirat C. Association between stroke knowledge, stroke awareness, and preventive behaviors among older people: A cross-sectional study. Nurs Health Sci. 2019;21(3):399-405. doi:10.1111/nhs.12614

ปิยะนุช จิตตนูนท์, อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์, พิมพิศา ศักดิ์สองเมือง, วิชัย อารับ, สุวนิตย์ วงศ์ยงค์ศิลป์, ญนัท วอลเตอร์. ความรู้โรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมป้องกันของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษาตำบลห้วยนาง จังหวัดตรัง. วารสารสงขลานครินทร์. 2564;41(2):13-25.

National Stroke Association. Stroke Risk Scorecard [Internet]. 2018 [2022 jul 9]. Available from: https://www.stroke.org/stroke-risk-scorecard-2018/

Pothiban L, Khampolsiri T, Srirat C. Knowledge and awareness of stroke impacts among northern Thai population. Pacific Rim International Journal of Nursing Research. 2018 Jun 7;22(3):212-22.

จิตติมา ภูริทัตกุล. ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

บุญพิสิฐษ์ ธรรมกุล. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนโดยประยุกต์ทฤษฎีการตลาดเชิงสังคมร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตำบลโนนสำราญอำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา. 2554;17(2):28-38.

รัตนภรณ์ ศิริเกตม, สุรชาติ สิทธิปกรณ์, พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม. ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2558;30(3):299-304.

สาวิตรี สิงหาด. ปัจจัยทำนายความรู้และการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2558;8(2):182-8.

ชูชาติ กลิ่นนาคร, สุ่ยถิน แซ่ตัน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;2(2):62-77.

อณัญญา ลาลุน, ไพฑูรย์ วุฒิโส. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพยาบาล. 2564;70(2):27-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-15