การจัดการของชุมชนเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)

ผู้แต่ง

  • กฤติยาพร พลาเศรษฐ คลินิกหมอครอบครัวท่าวังหิน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • นิชนันท์ สุวรรณกูฏ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ภูษณิศา มีนาเขตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การจัดการของชุมชน, ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด 19 รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และศึกษาเอกสาร ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยการตรวจสอบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผู้ให้ข้อมูล 50 คน คือ แพทย์ 1 คน พยาบาล 4 คน นักวิชาการสาธารณสุข 1 คน พยาบาลที่ทำงานในเทศบาลนคร 1 คน อสม. 36 คน จิตอาสา 2 คน ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด 19 5 คน ผู้ให้ข้อมูลมีอายุระหว่าง 25-60 ปี

ผลวิจัย พบว่า การจัดการของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 คือ 1) คลินิกหมอครอบครัว มีการปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ เช่น ประเมินความเสี่ยง แยกโซนตรวจรักษา ปรับวิธีการรับยาต่อเนื่อง การส่งต่อ การเยี่ยมบ้าน ปรับใช้ Telemedicine บริการวัคซีนเชิงรุก และบริการสุขภาพในทัณฑสถาน 
2) เทศบาลนครร่วมให้บริการวัคซีนในชุมชน จัดทำเอกสารรับรองการกักตัว คัดกรองเชิงรุก จัดการสิ่งแวดล้อม ทำแผนปฏิบัติการ 3) ภาคประชาชน เช่น อสม. จิตอาสา ประชาชน ร่วมแจ้งข่าว ร่วมรับส่งยาและประสานงานในชุมชน 4) องค์กรศาสนา วัด คริสตจักร ร่วมสนับสนุนสถานที่ฉีดวัคซีน คัดกรอง และปฏิบัติตามมาตรการ อุปสรรคในการจัดการ คือ บุคลากรอ่อนล้า และภาระงานเพิ่มขึ้น ข่าวสารที่ไม่เป็นจริง ขาดการประชาสัมพันธ์ในแนวเดียวกัน การส่งต่อผู้ป่วยมีขีดจำกัด ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ คือการมีส่วนร่วม การประสานงาน การประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้องชัดเจน และบุคลากรที่มีศักยภาพ ข้อเสนอแนะ ในการให้บริการสุขภาพ ควรมีการพัฒนาเครือข่ายการทำงานร่วมกันในท้องที่ การประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนจากผู้รับผิดชอบโดยตรง จัดทำแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านบริการในสถานการณ์ของโรคอุบัติใหม่ และความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชน

Author Biographies

กฤติยาพร พลาเศรษฐ, คลินิกหมอครอบครัวท่าวังหิน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อาจารย์

ภูษณิศา มีนาเขตร, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อาจารย์

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มีนาคม 29]. เข้าถึงได้จาก: https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. สถานการณ์ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มีนาคม 29]. เข้าถึงได้จาก: http://mis.phoubon.in.th/web/

Kluge HHP, Wickramasinghe K, Rippin HL, et al. Prevention and control of non-communicable diseases in the COVID-19 response. Lancet. 2020;395(10238):1678-1680. doi:10.1016/S0140-6736(20)31067-9

กรมควบคุมโรค. COVID-19 (EOC-DDC Thailand) [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 6]. เข้าถึงได้จาก: https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65

World Health Organization. COVID-19 Strategic preparedness and response plan [Internet]. 2021 [cite 2022 February 16]. Available from: https://www.who.int/publications-detail-redirect/WHO-WHE-2021.02

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด 19 พ.ศ.2564-2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 16]. เข้าถึงได้จาก: http://nscr.nesdc.go.th/cpcovid/

กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 19]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ file/int_protection/int_protection_030164.pdf

ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. การพัฒนาทักษะกระบวนการวิจัยชุมชนเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วน (RECAP). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2558.

ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2559.

ชลธิชา ชุมอินทร์, ศิริรัตน์ อินทรัตน์, สุธิมาภรณ์ วิ้นฉ้วน, ธีรภัทร ปานดา, อภิษฎา นุ้ยผุด, ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง. กลไกการให้บริการในวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองมวน ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 2564;7(5):295-309.

ตติยา ทุมเสน, จุไรรัตน์ ชลกรโชติทรัพย์. บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในระบบสุขภาพแบบวิถีชีวิตใหม่. วารสารวิชาการอิสเทิร์นเอเชีย. 2564;15(2):29-41.

กันติชา ธนูทอง, ธีรนุช ยินดีสุข, ปาริฉัตร์ บรรเทือง, สุเพียร โภคทิพย์, สุธัญทิพ จารุวัชรีวงศ์. บทบาทพยาบาลในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(1):203-13.

แสงวรรณ ตั้งแสงสกุล, สายสมร เฉลยกิตติ. การเยี่ยมบ้านวิถีใหม่: บทบาทพยาบาลชุมชนไทยต่อการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด 19) ในหน่วยงานบริการสุขภาพปฐมภูมิเขตเมือง. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 2565;8(1):1-13.

เกศรา แสนศิริทวีสุข, วนิดา ดิษวิเศษ, ละมัย ร่มเย็น. แนวทางการบริหารจัดการเพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนเมือง เปรียบเทียบกับชุมชนบท เชตสุขภาพที่ 10. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 2564;1(1):1-15.

สรวุฒิ เอี่ยมน้อย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด 19 อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2564;1(2):75-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-16