ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการต่อความเครียด ของผู้ดูแลผู้พิการติดเตียงที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • จิรานุวัฒน์ ชาญสูงเนิน สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธิดารัตน์ สุภานันท์ สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการกับอาการ, ผู้ดูแลผู้พิการ, ความเครียด, ที่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเครียดของผู้ดูแลผู้พิการติดเตียงที่บ้านระหว่างกลุ่มที่รับโปรแกรมการจัดการกับอาการกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร พี่หรือน้อง ที่เป็นผู้ดูแลหลัก จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลอง 20 คน โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันในเรื่องของอายุของผู้ดูแลต่างกันไม่เกิน 5 ปี เพศของผู้ดูแลและระดับความพิการอยู่ในระดับเดียวกัน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการและการดูแลตามปกติ ซึ่งโปรแกรมฯ นี้ได้พัฒนาขึ้นจากแบบจำลองการจัดการกับอาการของ Dodd และคณะ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การประเมินความต้องการ และประสบการณ์การรับรู้ของผู้ดูแล 2) การพัฒนาศักยภาพในการจัดการกับอาการ 3) การจัดการอาการด้วยตนเองที่บ้าน และ 4) การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแล และแบบประเมินความเครียด ซึ่งมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดของผู้ดูแลผู้พิการติดเตียงที่บ้านกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการ 4 สัปดาห์ น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=12.089, p<0.05) และค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดของผู้ดูแลผู้พิการติดเตียงที่บ้านกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ 4 สัปดาห์ น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=12.427, p<0.05)

Author Biographies

จิรานุวัฒน์ ชาญสูงเนิน, สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

ธิดารัตน์ สุภานันท์, สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

References

WHO. Disability and health. [Internet]. 2018 [cited 2022 May 9]. Available from:

https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/disability-and-health

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถานการณ์ด้านคนพิการ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ค. 30]. เข้าถึงได้จาก: https://dep.go.th/th/law-academic/knowledge-base/disabled-person-situation

ชื่นชม ชื่นลือชา. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2555; 12(1):97-110.

สงวนสิน รัตนเลิศ. บาดเจ็บที่ศีรษะการดูแลตามระบบคุณภาพ HA. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้งเฮาส์; 2546.

ฟาริดา อิบราฮิม. ปัญหาผู้ป่วยระบบประสาททางอายุรศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2542.

Marsh NV, Kersel DA, Havill JH, Sleigh JW. Caregiver burden during the year following severe traumatic brain injury. Journal of Clinical and Experimental Neurophychology 2002;24(4):434-47.

จิรานุวัฒน์ ชาญสูงเนิน, เพ็ญจันทร์ มณีโชติ, ดวงใจ สวัสดี. ความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 2560;10(1):71-8.

Hickey JV. The clinical practice of neurological and neurosurgical nursing. 5th ed. Philadelphia: JB Lippincott; 1992

Kreutzer JS, Marwitz JH, Kepler K. Traumatic brain injury: family response and outcome. Arch Phys Med Rehabil 1992;73(8):771-7.

Bond AE, Draeger CR, Mandleco B, Donnelly M. Needs of family members of patients with severe traumatic brain injury. Implications for evidence-based practice. Crit Care Nurse. 2003;23(4):63-72.

ขวัญตา บุญวาศ, ธิดารัตน์ สุภานันท์, อรุณี ชุนหบดี, นิมัศตูรา แว. ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้พิการติดเตียง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(1):205-16.

สุดาสินี สุทธิฤทธิ์, อรณัส ยวงทอง, วราภา จันทร์เอียด, สุวรรณี นิยมจิตร์. ความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2564;35(2):1-12.

Pasquali EA. Humor: preventive therapy for family caregivers. Home Healthc Nurse. 1991;9(3):13-7 doi:10.1097/00004045-199105000-00008

Carey PJ, Oberst MT, McCubbin MA, Hughes SH. Appraisal and caregiving burden in family members caring for patients receiving chemotherapy. Oncol Nurs Forum. 1991;18(8):1341-8.

สุรีพร ธนศิลป์, สุนิดา ปรีชาวงษ์, รุ้งระวี นาวีเจริญ. เอกสารคำสอนการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง 2. เอกสารอัดสำเนา: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552

Dodd M, Janson S, Facione N, et al. Advancing the science of symptom management. J Adv Nurs. 2001;33(5):668-76. doi:10.1046/j.1365-2648.2001.01697.x

ดารารัตน์ ปานดี. ปัจจัยทำนายการเผชิญความเครียดของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2549.

Burn N, Glove SK. Nursing research. 5th ed. U.S.A.: W.B. Saunders; 2005.

Robinson BC. Validation of a Caregiver Strain Index. J Gerontol. 1983;38(3):344-8. doi:10.1093/geronj/38.3.344

กรกฎ สุวรรณอัคระเดชา. ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี่กงต่อความเครียดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

ชบา เรียนรมย์. ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิต แนวชี่กงต่อความวิตกกังวลและความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-16