ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยการใช้สารเคมีในเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชัยกฤต ยกพลชนชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ญาณิฐา แพงประโคน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • จารุพร ดวงศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • จรัญ บุญเชื้อ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • อโนชา ปัญญาพงษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการความปลอดภัย, การใช้สารเคมี, ความปลอดภัยในเกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยการใช้สารเคมีในเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี ใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบความน่าจะเป็นจากตัวแทนประชากร 25 อำเภอ จับฉลาก ได้อำเภอม่วงสามสิบ ที่มีการเพาะปลูกและใช้สารเคมีมากที่สุด จำนวน 782 ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างจากตัวแทนครัวเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการครัวเรือนละ 1 คนทั้งสิ้น 213 คน รวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบคุณภาพเครื่องมือวิเคราะห์หาความตรงของเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่นของเนื้อหา เท่ากับ 0.54 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการทดสอบไคสแควร์และสหสัมพันธ์สเปียแมน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า อาชีพ ประเภทของพืชในการเพาะปลูก รายได้ การใช้ยาฆ่าเชื้อรา ความถี่ของการใช้สารเคมี และอาการของร่างกายขณะใช้หรือสัมผัสสารเคมี มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยการใช้สารเคมีในเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าความสัมพันธ์ไคแสคว์ เท่ากับ 43.40, 16.45, 15.07, 8.40, 22.32 และ 14.88 ตามลำดับ ความรู้และทัศนคติในการใช้สารเคมีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยการใช้สารเคมีในเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.06 และ0.15 ตามลำดับ และความรู้ในการใช้สารเคมีไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.023

สรุป จะเห็นได้ว่าความรู้และทัศนคติมีส่วนสำคัญทำให้พฤติกรรมความปลอดภัยปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีได้ จึงจำเป็นได้รับการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องและมีการแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้สารเคมีอย่างเคร่งครัดเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

Author Biographies

ชัยกฤต ยกพลชนชัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อาจารย์

ญาณิฐา แพงประโคน, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อาจารย์

จารุพร ดวงศรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อาจารย์

จรัญ บุญเชื้อ, องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

นายกองค์กรบริหารส่วนตำบล

อโนชา ปัญญาพงษ์, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้อำนวยการ

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก https://www.nhso.go.th/operating_results/45

ผู้จัดการออนไลน์. เปิดตัวเลขนำเข้าสารพิษเกษตร กระทบ“ต้นทุนสุขภาพ-สิ่งแวดล้อม”กว่า 2.7 หมื่นล.บาท [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9620000095138

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ). 11 ปีไทยนำเข้าสารเคมีเกษตร 1.66 ล้านตัน 2.46 แสนล้านบาท เจ็บป่วยเฉลี่ยปีละ 4 พันราย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ค. 1] เข้าถึงได้จาก https://www.tcijthai.com/news/2019/05/scoop/9456

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิตอล (องค์การมหาชน). สถิติการเกษตรของประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ค. 31]. เข้าถึงได้จาก https://data.go.th/dataset/datasetoae-3101

ชิดหทัย เพชรช่วย. สถานการณ์การใช้สารเคมีการเกษตรบริเวณภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2560;19(1):111-22.

กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์การเผ้าระวังภัยด้านสารเคมี ปี 2564 รอบ 6 เดือนแรก (1 มกราคม-30 มิถุนายน พ.ศ. 2564) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ก.ค. 31]. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation2/2564/20210901_6625640106.pdf

บัวทิพย์ แดงเขียน, พิมพรรณ รัตนโกมล, อัศวเดช สละอวยพร, มณฑาทิพย์ สุรินทร์อาภรณ์, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตราย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดชัยนาท. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2560;10(4):107-12.

ไชยา พรมเกษ, เผ่าไทย วงศ์เหลา, ชวนชัย เชื้อสาธุชน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตำบลหัวเรือ อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2559;5(1):53-62.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 3. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2562.

ทวีรัตน์ เฟสูงเนิน, วิโรจน์ จันทร, สรัญญา ถี่ป้อม, สมชาย สวัสดี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ทำนา ตำบลแสนตอ อำภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2559;9(33):26-36.

Wang C, Xu C, Xia J, Qian Z. The effects of safety knowledge and psychological factors on self-reported risky driving behaviors including group violations for e-bike riders in China. Transportation Research Part F: Traffic Psychology and Behaviour. 2018;56(Complete):344-53.

Pumarega J, Larrea C, Muñoz A, et al. Citizens' perceptions of the presence and health risks of synthetic chemicals in food: results of an online survey in Spain. Gac Sanit. 2017;31(5):371-381. doi:10.1016/j.gaceta.2017.03.012

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-09