การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชวิศ เมธาบุตร, พ.บ. โรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โรคข้อเข่าเสื่อม, การจัดการโรคข้อเข่าเสื่อม, ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ, การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ ดำเนินการในเดือน กุมภาพันธ์–กรกฎาคม พ.ศ. 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา 2) พัฒนารูปแบบการจัดการโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และ 3) ประเมินผลรูปแบบการจัดการโรค โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดังนี้ 1) บุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,870 คน 2) ผู้นำชุมชน อสม. และผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม 90 คน 3) แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย และบุคลากรสาธารณสุข จำนวน 25 คน และ 4) ผู้สูงอายุที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม 86 คน ที่ไม่เคยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า และข้อเข่าไม่บวม แดง ร้อน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน Oxford Knee Score แนวทางการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม Modified WOMAC Score และแบบสอบถามพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และ 0.76 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที (Pair t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า 1) สัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 37.91 2) ได้รูปแบบจัดการโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การคัดกรอง ส่งเสริมป้องกัน รักษาเบื้องต้น ติดตามเยี่ยมบ้าน โรงพยาบาลสนับสนุนด้านวิชาการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ และงบประมาณ 3) ผลการใช้รูปแบบการดูแลโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น พบว่า คะแนน Modified WOMAC Score คะแนนความปวด ความฝืดข้อ คะแนนรวม และคะแนนระดับความปวด ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)

Author Biography

ชวิศ เมธาบุตร, พ.บ., โรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

References

อณิษฐา หาญภักดีนิยม. นโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุต่อการพัฒนาประเทศในอาเซียน. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา. 2563;5(1):55-70.

Health Data Center, Ministry of Public Health. Screening report for osteoarthritis in the elderly 2021 [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 30]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/

Iwamoto J, Takeda T, Sato Y. Effect of muscle strengthening exercises on the muscle strength in patients with osteoarthritis of the knee. Knee. 2007;14(3):224-30. doi:10.1016/j.knee.2007.03.002

Felson DT, Naimark A, Anderson J, Kazis L, Castelli W, Meenan RF. The prevalence of knee osteoarthritis in the elderly. The Framingham Osteoarthritis Study. Arthritis Rheum. 1987;30(8):914-8. doi:10.1002/art.1780300811

Maurer BT, Stern AG, Kinossian B, Cook KD, Schumacher HR Jr. Osteoarthritis of the knee: isokinetic quadriceps exercise versus an educational intervention. Arch Phys Med Rehabil. 1999;80(10):1293-9. doi:10.1016/s0003-9993(99)90032-1

ยุพาพักตร์ รักมณีวงศ์, พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม, อัจฉรา ชัยชาญ ภาวะสุขภาพและความต้องการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในหมู่บ้านมะกอก ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2555;6(1):84-98.

ปองจิตร ภัทรนาวิก. พฤติกรรมการป้องกันข้อเข่าเสื่อมของพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2549; 24(2):71-81.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. คณะที่ 2 การพัฒนาระบบบริการ (service plan) หัวข้อ การพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ พชอ. จังหวัดนครราชสีมา เขตสุขภาพที่ 9 ตรวจราชการวันที่ 12–14 กุมภาพันธ์ 2562. นครราชสีมา: เรืองสังข์บ้านงานพิมพ์; 2562.

Barr VJ, Robinson S, Marin-Link B, et al. The expanded Chronic Care Model: an integration of concepts and strategies from population health promotion and the Chronic Care Model. Hosp Q. 2003;7(1):73-82. doi:10.12927/hcq.2003.16763

Department of Health, Ministry of Public Health. Elderly health record. Bangkok: Chao Chom Restaurant Suan Sunandha Rajabhat University; 2015.

Narin R, Taunrat W, Booncheang W. Development of a community participation program for caring older adults with knee osteoarthritis. Nursing Journal. 2015; 42(3); 170-81.

Huber DL. Leadership and Nursing Care Management. 3rd ed. Philadelphia: Saunders; 2006

เตือนจิตต์ ช่วยจันทร์, สุทธีพร มูลศาสตร์, ดนัย หีบท่าไม้. การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนโดยความร่วมมือของพยาบาลเวชปฏิบัติและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561;38(2):43-59.

Nicholus Bellamy. WOMAC Osteoarthritis Index. User guide VIII; 2007: 71-3

จันทร์จิรา เกิดวัน, จิราภรณ์ บุญอินทร์, ชุติมา ธีระสมบัติ, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. การสำรวจความชุกของโรคข้อเข่าเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารกายภาพบำบัด. 2559;38(2):59-70.

Cho HJ, Chang CB, Kim KW, et al. Gender and prevalence of knee osteoarthritis types in elderly Koreans. J Arthroplasty. 2011;26(7):994-9. doi:10.1016/j.arth.2011.01.007

ปัญญา ธีระวิทยเลิศ. เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ที่มีประสิทธิภาพ. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 2559;7(2): 284-9.

Ettinger WH Jr, Burns R, Messier SP, et al. A randomized trial comparing aerobic exercise and resistance exercise with a health education program in older adults with knee osteoarthritis. The Fitness Arthritis and Seniors Trial (FAST). JAMA. 1997;277(1):25-31.

จิรวัฒน์ วัฒนปัญญาเวชช์, ชาคริต สัตยารมณ์, ฐานิยา กลิ่นโสภณ, สุดารัตน์ บริสุทธิ์. การพัฒนาอุปกรณ์ประคบร้อนและเย็นแบบใช้ซ้ำจากดินเหนียว. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2563;35(6):694-9.

Boonchan N. Join Pain-Osteoarthritis and nursing process application. 2nd ed. Bangkok: NP Press; 2009.

สิริพรรณ ชาคโรทัย. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง ต่อความรุนแรงของโรคในผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ] เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27