ประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพัฒนาการล่าช้า

ผู้แต่ง

  • อำไพรัตน์ สุทธิธรรมถาวร, พ.บ. โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

เด็กพัฒนาการล่าช้า, รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษากึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพัฒนาการล่าช้า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า และผู้ดูแลหลักจำนวน 51 คู่ ในช่วงการประเมินของปี 2562-2565 รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการมีการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด 3 ครั้ง ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ได้แก่ 1) กิจกรรมห้องเรียนพ่อแม่ออนไลน์ 2) กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กและฝึกสอนพ่อแม่ 3) กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการที่บ้านออนไลน์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเครียดผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตร (PSI-SF) แบบบันทึกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ (DSPM) และแบบบันทึกการประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (TEDA4I) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ Repeated measures ANOVA และ McNemar’s test ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการ 12 สัปดาห์ คะแนนความเครียดของผู้ดูแลหลักลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เด็กพัฒนาการล่าช้ามีสัดส่วนพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และเด็กมีพัฒนาการสมวัยผ่านตามเกณฑ์ร้อยละ 76.47 รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการนี้สามารถใช้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการกระตุ้นพัฒนาการเด็กนั้นสิ่งที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลหลักที่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

Author Biography

อำไพรัตน์ สุทธิธรรมถาวร, พ.บ., โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ (ด้านกุมารเวชกรรม)

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือนักส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยหลักสูตรเร่งรัดประจำโรงพยาบาล. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual :DSPM) นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก 2562.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (Thai Early Developmental Assessment for Intervention : TEDA4I). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

สถานพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ. รายงานความก้าวหน้าประเด็นตัวชี้วัดเด็กไทยมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย 2564 [cited 6 พฤษภาคม 2565]. Available from: https://nich.anamai.moph.

go.th/th/general-of-50/204371.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานตามตัวชี้วัดกระทรวง ปี 2564 2565 [cited 7 พฤษภาคม 2565]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level

=1&flag_kpi_year=2021.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 1970;30(3):607-10.

สมัย ศิริทองถาวร. การพัฒนาคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2561;63(1):3-12.

เอกชัย ลีลาวงศ์กิจ. ผลของการใช้เครื่องมือ TEDA4I ในเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้า จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2563;28(1):101-11.

มนัสมีน เจะโนะ, รอฮานิ เจะอาแซ. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อพัฒนาการของเด็กอายุ 2-5 ปี. วารสารวิทยบริการ. 2562;30(2):80-8.

Saranchit Inson, Yodsaya Aonkam, Rittirong Ruangrith. Effectiveness of Development Promotion and Reinforce Positive to Improve Discipline Programs base on Family Participation to children aged 3-5 years. Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office. 2021;5(10):143-60.

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, บุษบา อรรถาวีร์. รูปแบบการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.13(3):229-42.

จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย, ศิราณี อิ่มน้ำขาว, ปราณี ทาบึงการ, อรรถยาภรณ์ ทองมี, อัญรัตน์ อุทัยแสง. ภาระการดูแลของมารดาเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2565;9(1):317-28.

ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษา. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอายุ 3-5 ปี,. จังหวัดราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27