การพัฒนาระบบเชื่อมโยงการให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะกลางสู่การดูแลระยะยาว อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ศาสตรา เข็มบุบผา, พ.บ. โรงพยาบาลบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

พัฒนาระบบ, เชื่อมโยงการให้บริการ, การดูแลระยะกลาง, การดูแลระยะยาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการพัฒนาระบบเชื่อมโยงการให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะกลางสู่การดูแลระยะยาว อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการระหว่างวันที่ ตุลาคม 2563–กันยายน 2564 ขั้นตอนประกอบด้วย 5 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาของระบบการให้บริการฯ ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาระบบ ระยะที่ 3 การนำไปทดลองใช้ ระยะที่ 4 การปรับปรุงพัฒนาระบบ และระยะที่ 5 การประเมินผล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 167 คน ได้แก่ ผู้ให้บริการสุขภาพ ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามการมีส่วนร่วม แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน และแบบประเมินความสามารถตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรมฯ ใช้สถิติ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบเชื่อมโยงการให้บริการฯ ประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากรด้วยการอบรมฯ การพัฒนากระบวนการเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการ และสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดบริการเชื่อมโยงกับชุมชน ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้หลังการอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) มีผู้ป่วยกลุ่มติดสังคมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.37 และผู้ป่วยติดเตียงดีขึ้นเป็นผู้ป่วยติดบ้านร้อยละ 20.00 และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบฯ อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ 60.47) ดังนั้นการให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะกลางสู่การดูแลระยะยาว จะดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดการร่วมคิด ร่วมดำเนินกิจกรรม และร่วมประเมินผล

Author Biography

ศาสตรา เข็มบุบผา, พ.บ., โรงพยาบาลบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ (ด้านเวชกรรม) ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ก้าวย่างของประเทศไทยสู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่างสมบูรณ์แบบ [อินเตอร์เน็ต]. มปป [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476

TNN ONLINE. ปี 2565 ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว สสส.เสวนาถกปัญหารับมือชีวิตบั้นปลาย ห่วงผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้น หนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือขับเคลื่อน [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnnthailand.com/news/health/103902/

สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. โครงการวิจัยเรื่องการประเมินผลระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง (Intermediate Care). นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง. นนทบุรี: บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด; 2562.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2559.

ศักดา เอกัคคตาจิต. การพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วย Intermediate Care โรงพยาบาลบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์. การดูและระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลันและการดูแลแบบประคับประคอง/Best Practice. 2561;262-4.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27833

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง Guideline for Intermediate Care สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan). สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด; 2562.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะกลางในชุมชน (Intermediate Care in Community). นนทบุรี: สำนักอนามัยผู้สูงอายุ; 2563.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559.

กชกร สายบุญศรี, อัศนี วันชัย. ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและความตองการบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.2560;11(3):174-83.

Vagias WM. Likert-type scale response anchors. Clemson International Institute for Tourism & Research Development. Department of Parks. Recreation and Tourism Management: Clemson University; 2006.

รังสรรค์ สิงหาเลิศ. สถิติและการใช้โปรแกรม SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2550.

นงณภัทร รุ่งเนย, ธัญพร ชื่นกลิ่น, นภัส แก้ววิเชียร, เบญจพร สุธรรมชัย, วิชาญ เกิดวิชัย, ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. ความสำเร็จของการดำเนินงานการดูแลสุขภาพระยะกลางตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2564;15(1):81-101.

สุนทร มาลาศรี. ผลการพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยเตียงประเภทที่ 3 และเตียงประเภทที่ 4 อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2560;1(1):91-113.

ภิรญา พินิจกลาง. การพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนโดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุขสำราญ ตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม [อินเทอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 18 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://www.r2rthailand.org/resources/detail/19114

บุษรินทร์ พูนนอก. รายงานการศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) เขตสุขภาพที่ 9. นครราชสีมา: ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา; 2563.

ปรีชา พึ่งเจริญ, อุไรวรรณ โชคปัญญาพงษ์. แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยระยะกลางในชุมชนของจังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(1):502-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27