การศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของบุคลากร ในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และน้ำมันเชื้อเพลิง ของศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • มริษฎา แสงพรม ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การลดการใช้พลังงาน, พลังงานไฟฟ้า, พลังงานเชื้อเพลิง, รูปแบบการมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการดำเนินงานลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง รูปแบบการมีส่วนร่วมของบุคคลากรในการดำเนินงาน และประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมที่เกิดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงของศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ: ระยะที่ 1 การศึกษาบริบทของหน่วยงาน ระยะที่ 2กระบวนการพัฒนา และระยะที่ 3 การศึกษาผลลัพธ์การพัฒนา ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนตุลาคม 2563 รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความแตกต่างของพฤติกรรมการปฏิบัติมาตรการประหยัดพลังงานด้วยสถิติ Paired sample t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานมีรูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการกำหนดโครงสร้างการทำงาน การประเมินผลก่อนดำเนินการ การกำหนดนโยบายและแผนงาน การปฏิบัติตามแผน และการควบคุมกำกับ ส่งผลให้มีปริมาณการใช้พลังงานลดลง ปริมาณการใช้ไฟฟ้าปี 2563 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลงเป็น 445,569.93 หน่วย การใช้น้ำมันลดลงเป็น 23,885.088 ลิตร มีพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรการหลังการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่า หน่วยงานปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2563 ปริมาณ 333,674.26 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (KgCO2eq) ลดลงจากปีงบประมาณ 2562 ปริมาณ 6,303.29 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (KgCO2eq)

การดำเนินงานตามรูปแบบการมีส่วนร่วมของบุคลากรส่งผลให้หน่วยงานสามารถลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ดังนั้น หน่วยงานควรมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์ทบทวนกระบวนการทำงาน ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดรูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตลอดจนค้นหาปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

Author Biography

มริษฎา แสงพรม, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

References

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วิกฤติพลังงานไฟฟ้า. ทางออกสุดท้ายที่เหลืออยู่ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 13]. เข้าถึงได้จาก https://www.egat.co.th/index.php.

สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพลังงาน [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 13]. เข้าถึงได้จาก https://adeq.or.th/พลังงาน/#energy01

บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน). พลังงานใช้แล้วหมดไป [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 13]. เข้าถึงได้จาก https://www.uac.co.th/th/knowledge-sharing/339/non-renewable-energy

Energy Data. [อินเตอร์เน็ต] 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 13]. เข้าถึงได้จาก https://yearbook.enerdata.net/total-energy/world-consumption-statistics.html

สำนักปลัดกระทรวงพลังงาน. ฐานข้อมูลพลังงานไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 13]. เข้าถึงได้จาก https://data.energy.go.th/factsheet/country/0/2019

สำนักนโยบายและแผนพลังงาน. สถานการณ์การใช้น้ำมันและไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 13]. เข้าถึงได้จาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/situation-oil-electric?orders[publishUp]=publishUp&issearch=1&start=12

กระทรวงพลังงาน.แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ.2564-2573 สาขาพลังงาน [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เม.ย. 13 ]. เข้าถึงได้จาก https://climate.onep.go.th/wp-content/uploads/2021/09/NDC_Action_Plan_Energy_sector.pdf

สมชาย แช่มชูกลิ่น, สมรัฐ นัยรัมย์. การประเมินและพัฒนารูปแบบการลด Carbon Footprint ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธ.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/situation-oil-electric

กรมอนามัย. ประกาศกรมอนามัย เรื่อง นโยบายการประหยัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. [อินเตอร์เน็ต] 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธ.ค. 4]. เข้าถึงได้จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17

กระทรวงพลังงาน. ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า และน้ำมันเชื้อเพลิง ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. [อินเตอร์เน็ต] 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เมษายน 10]. เข้าถึงได้จาก https://www.e-report.energy.go.th/

O’Brien R. An Overview of the methodological approach of action research. [Internet] 2001 [cited 2010 Dec. 30]. Available from: https://base.socioeco.org/docs/overview_of_action_research_methodology.pdf

IPCC. Climate Change 2007: The Physical Science Basis. Cambridge: the press syndicate of the university of Cambridge; 2001.

กรมอนามัย. คู่มือการประเมิน Carbon footprint ในสถานบริการสาธารณสุข.กรุงเทพฯ. บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2553.

กรมอนามัย. แนวทางการดำเนิน GREEN and CLEAN Hospital.กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2562.

สุปริญญา ลิ้มวนานนท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในสถานที่ทำงานของพนักงานบริษัทห้างขายยาตราเสือดาว [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจ] นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2559.

กิตติศาสตร์ แจ่มเล็ก. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

กระทรวงพลังงาน. คู่มือชุดความรู้ด้านการจัดการพลังงานในสถานศึกษา.กรุงเทพฯ; 2550.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.Mid-century, Long-term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy THAILAND [อินเตอร์เน็ต] 2021 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก https://unfccc.int/sites/default/files/resource/Thailand_LTS1.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-10