ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการกรองของไตอย่างรวดเร็ว ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3-4 โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จรูญ บุญธกานนท์, พ.บ. โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง, การลดลงของอัตราการกรองของไตอย่างรวดเร็ว, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังชนิด Retrospective cohort study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการกรองของไตอย่างรวดเร็วในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3-4 ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลตัวแปรที่ต้องการศึกษา โดยการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (โปรแกรมสำเร็จรูป HOSxP) จำนวน 1,184 ราย ได้ผู้เข้าร่วมวิจัยที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออก จำนวน 434 ราย ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 63.4) อายุเฉลี่ย 71 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 94.47) จากการติดตามในระยะเวลา 1 ปี พบการเปลี่ยนแปลงระยะของโรคไตคงที่ ร้อยละ 71.89 มีอัตราการกรองของไตลดลงอย่างรวดเร็ว eGFR ≥ 4 mL/min/1.73 m2/year ร้อยละ 68.43 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบลอจิสติค (Multiple logistic regression) พบว่าระดับ FBS (OR 2.95, 95%CI 1.23-7.07, p=0.015) มีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการกรองของไตอย่างรวดเร็วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value<0.05 นอกจากนี้ ยังพบว่ามีปัจจัยอื่นที่อาจจะส่งผลต่อการลดลงของอัตราการกรองของไต อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ค่าความดัน SBP, HbA1c, Cholesterol, Triglyceride, HDL, LDL, Urine Proteinuria และยารักษาโรคเรื้อรังบางชนิด

Author Biography

จรูญ บุญธกานนท์, พ.บ., โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

ชลธิป พงศ์สกุล. โรคไตเรื้อรังและการดูแลก่อนเริ่มล้างไต. ใน: ทวี ศิริวงศ์, บรรณาธิการ. การล้างไตในยุค พรบ. หลักประกันสุขภาพ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.

อนุตตร จิตตินันท์. สถานการณ์โรคไตเรื้อรังในประเทศไทย (The Situation of Chronic Kidney Disease in Thailand). ใน: สมชาย เอี่ยมอ่อง, เกรียง ตั้งสง่า, เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์, บรรณาธิการ. โรคไต กลไก พยาธิสรีระวิทยา. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอนัล พับลิเคชั่น; 2550.

Hill NR, Fatoba ST, Oke JL, et al. Global Prevalence of Chronic Kidney Disease - A Systematic Review and Meta-Analysis. PLoS One. 2016;11(7):e0158765. Published 2016 Jul 6. doi:10.1371/journal.pone.0158765

Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant. 2010;25(5):1567-1575. doi:10.1093/ndt/gfp669

Neuen BL, Chadban SJ, Demaio AR, Johnson DW, Perkovic V. Chronic kidney disease and the global NCDs agenda. BMJ Glob Health. 2017;2(2):e000380. Published 2017 Jul 6. doi:10.1136/bmjgh-2017-000380

Centers for Disease Control and Prevention. National Chronic Kidney Disease Fact Sheet 2017. US Dep Heal Hum Serv Cent Dis Control Prev [database on Internet]. 2017[Cited 2022 Jan 21];1-4. Available from: http://www.cdc.gov/kidneydisease/pdf/kidney_factsheet.pdf .

Kellum JA, Lameire N, Aspelin P, Barsoum RS, Burdmann EA, Goldstein SL, MacLeod AM. Kidney disease: Improving global outcomes (KDIGO) acute kidney injury work group. KDIGO clinical practice guideline for acute kidney injury. Kidney International Supplements 2012;2(1):1-138.

Wongsaree C, Kittiyawan J. An intensive educational program on therapeutic volume over load for end stage chronic renal disease patients receiving hemodialysis: Hemodialysis nurses’ roles. HCU Journal 2017;21(41):137-50.

Siriwong T. A practice guideline to slow down kidney degeneration for physician and healthcare providers year 2005. 2nd ed. Bangkok: Srimuengkarnpim Co, Ltd; 2005.

Jirubapa M. The slowly progressive chronic kidney disease from adult to elder persons. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima 2014;20:5-15.

Tongsagra K. Chronic kidney disease in text book of nephrology, Bangkok: Bangkok Text andJournalpub; 2011.

Health Data Center สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ชัยภูมิ. ข้อมูลกลุ่มรายงานมาตรฐาน Service Plan สาขาไต: จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาล จำแนกตาม Stage (Work Load) [อินเตอร์เน็ต]. 2564. เข้าถึงเมื่อ 2565 เมษายน 3]. เข้าถึงได้จาก: https://cpm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

Zhang L, Zuo L, Xu G, et al. Community-based screening for chronic kidney disease among populations older than 40 years in Beijing. Nephrol Dial Transplant. 2007;22(4):1093-1099. doi:10.1093/ndt/gfl763

วินัย ลีสมิทธิ์, สุชาณี สุวัฒนารักษ์, สุชัญญา พรหมนิ่ม, ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. การศึกษาเพื่อชะลอไตเสื่อมสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลคลองขลุง: จากงานวิจัยสู่การปฏิบัติ. วารสารสาธารณสุข. 2560;26(1): 111-24.

ดวงรัตน์ ตันรัตนานนท์. ผลลัพธ์ทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงของระดับการทำงานของไตที่ลดลงในผู้ป่วยไตเรื้อรังในคลินิกโรคไต. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2552;24(3):55-64.

กมลวรรณ สาระ, สมชาย สุริยะไกร, จุไรรัตน์ ทุมนันท์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดไตวายเรื้อรังระยะที่ 3-5 ในโรงพยาบาลตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี. [ออนไลน์]. The National and International Graduate Research Conference 2016; 887-94 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กันยายน 21]. เข้าถึงได้จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/59/ingrc2016/pdf/MMP22.pdf

เกศริน บุญรอด. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระยะโรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33(3): 367-78.

นารีรัตน์ พุ่มสลุด, บัญชา สถิระพจน์. การติดตามการลดลงของอัตราการกรองของไตระยะยาวในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2559;69(4):159-66.

อภิสรรค์ บุญประดับ, วรรณพัชร พิศวงศ์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดไตวายเรื้อรังในโรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระกียรติ 80 พรรษา จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2562;34(2):205-16.

จันทร์โท ศรีนา, ทวี ศิริวงค์, ดวงใจ อดิศักดิ์, ศิวานนท์ รัตนะกนกชัย, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์, ปัทมา สุจริต, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการลดลงของอัตราการกรองของไตอย่างรวดเร็ว ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง: ศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ.2561;41(3):108-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18