การจัดชุดกิจกรรมบริการเชิงรุก เพื่อสุขภาพช่องปากของเด็ก 0-5 ปี

ผู้แต่ง

  • พนิตานันท์ โพธิ์พงศ์ โรงพยาบาลชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

การบริการทันตกรรมเชิงรุก, เด็ก 0-5 ปี, การส่งเสริมทันตสุขภาพ, ชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเก็บข้อมูลการเข้ารับบริการทันตกรรมของเด็ก 0-5 ปี ให้สอดคล้องกับข้อมูลในฐานข้อมูล Health Data Center 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการบริการเชิงรุก ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูล และ 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนารูปแบบการเก็บข้อมูล การเข้ารับบริการทันตกรรมของเด็ก 0-5 ปี กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กวัย 0-5 ปี เขตอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ปี 2564 จำนวน 1,778 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากการรับบริการทันตกรรมของเด็ก 0-5 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน Independent sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.01

ผลการศึกษาพบว่า 1) เด็กวัย 0-5 ปี ได้รับการตรวจโดยทันตบุคลากรมากกว่าร้อยละ 80 โดยการเคลือบ/ทาฟลูออไรด์ ได้รับบริการร้อยละ 41.81 การสอนแปรงฟัน ได้รับบริการร้อยละ 36.83 และการรับบริการทันตกรรม กิจกรรมฟันดีไม่มีผุและกิจกรรมเด็กปราศจากฟันผุ ได้รับบริการร้อยละ 45.95 2) มีการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก ได้แก่ การเยี่ยมบ้านเชิงรุกแบบใหม่ การเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างทันตบุคลากรกับผู้ดูแลเด็ก และ 3) ทันตแพทย์และทันตบุคลากรรับผิดชอบงานของ รพ.สต.ที่อยู่ในโซนเดียวกัน และให้คำปรึกษาผ่านระบบออนไลน์ และพบว่า หลังจากจัดชุดกิจกรรมการบริการเชิงรุก จำนวนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพช่องปากเท่ากับ 817 คน เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการจัดกิจกรรม ที่มีจำนวนผู้เข้ารับบริการเท่ากับ 170 คน นับว่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Author Biography

พนิตานันท์ โพธิ์พงศ์, โรงพยาบาลชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560

Capuano F, Bigras M, Japel C. Kindergarten for four-year-olds: a measure to promote school and social success in children from disadvantaged backgrounds. In: Tremblay RE, Boivin M, Peters RDeV, eds. Encyclopedia on Early Childhood Development [Online]. Montreal, Quebec: Centre of Excellence for Early Childhood Development and Strategic Knowledge Cluster on Early Child Development; 2014:1-7. 2014 [cited 2021 Oct 10]. Available from: http://www.child-encyclopedia.com/documents/

Capuano-Bigras-JapelANGxp1.pdf

ณัฐธิดา พันพะสุก, อัชชาวดี สักกุนัน, อรวรรณ นามมนตรี, รัชนีกร สาวิสิทธิ์. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองกับสภาวะสุขภาพช่องปากเด็ก 3-5 ปี ในอำเภอชำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล. 2561;29(2):13-26.

สุทธิรัศมี พรรณพราว, สุภาภรณ์ ฉัตรชัย วิวัฒนา, อารียา รัตนทองคา, มุขดา ศิริเทพทวี. โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย : สาเหตุและการป้องกัน. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2560;12(2):27-40.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ต.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก https://dental.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/dental2/n2423_3e9aed89eb9e4e3978640d0a60b44be6_survey8th_2nd.pdf

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ต้นแบบการบูรณาการจัดบริการสุขภาพช่องปากในหน่วยบริการปฐมภูมิ: กรณีศึกษา 3 พื้นที่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2547.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขสำหรับทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ แนวทางการดำเนินงาน ส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย ANC คุณภาพ WCC คุณภาพ ศพด. คุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

เรวดี ศรีหานู. สภาวะทันตสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลพระบุ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565; 4(1):1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-23