การถอดบทเรียนการเรียนรู้บทบาทพยาบาลวิชาชีพกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน : กรณีศึกษาจังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, บทบาทพยาบาลวิชาชีพ, ชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาการถอดบทเรียนการเรียนรู้บทบาทพยาบาลวิชาชีพกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนจังหวัดมหาสารคาม คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่รัฐและผู้นำท้องถิ่น จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลได้ตรวจสอบความแม่นตรงและความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า
ผลการศึกษา พบว่า บทบาทพยาบาลวิชาชีพกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ได้แก่ 1) ด้านปฏิบัติการพยาบาล มีการคัดกรองและค้นหาผู้ติดสุราเพื่อเข้ารับการบำบัด การให้ความรู้ และคำปรึกษาแก่ผู้ติดสุราและครอบครัว การบำบัดรักษาโรคและการทำหัตถการ 2) ด้านการวางแผน มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน การวางแผนงบประมาณ และเป็นแกนนำในการแก้ปัญหาการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน 3) ด้านการประสานงาน มีการประสานความร่วมมือในการควบคุมแอลกอฮอล์ในชุมชนกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในภายนอก และ 4) ด้านการบริการ มีการบริการให้คำปรึกษา การสร้างแรงจูงใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่นไปช่วยสนับสนุนการสร้างรายได้ การส่งเสริมอาชีพแก่ผู้ติดสุราและครอบครัว ส่วนปัจจัยความสำเร็จ อุปสรรค และข้อเสนอแนะ คือ มีความเข้าใจในบริบทพื้นที่ แต่ยังขาดความชัดเจนในการมอบหมายภารกิจ และควรสนับสนุนพยาบาลวิชาชีพให้สามารถผลิตผลงานวิชาการได้
ข้อค้นพบจากการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลวิชาชีพเพื่อการดำเนินงานควบคุมแอลกอฮอล์ในชุมชนให้เกิดความต่อเนื่อง และสนับสนุนบทบาทพยาบาลให้เป็นที่ยอมรับ
References
วรนิษฐ์ ลำไย, เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล, ผ่องพรรณ ภะโว. การประเมินแผนยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ (2554–2563). วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 2564;17(1):62-78.
กฤษฏ์ โพธิ์ศรี, ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์, กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์. การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2559;13(2):8-16.
ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ และคณะ. การศึกษาสถานการณ์การบริโภคและนโยบายการป้องกันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม; 2560.
ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, ลดาวัลย์ เลนทำมี, กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์, สาคร อินโท่โล่, วิภา วิเสโส. การประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลชุมชนในการขับเคลื่อนอำเภอจัดการสุขภาพของเขตสุขภาพที่ 7. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563;28(3):16-26.
ปรียาภรณ์ ประยงค์กุล. บทบาทพยาบาลในการป้องกันการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2562;12(1):62-70.
Helen JS, Dona RC. Quality research in nursing: advancing the humanistic. 2ed. New York: Lippincott; 1999.
Lincoln YS, Guba EG. Naturalistic Inquiry. Beverly Hills. CA: Sage; 1985.
สุภางค์ จันทวานิช. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
เบญจกร พัฒนากร, สมจิต แดนสีแก้ว, เกศินี สราญฤทธิชัย. การจัดการพยาบาลรายกรณีสำหรับบุคคลที่ต้องการบำบัดสุราในชุมชน. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556;31(2):140-50.
Sullivan EJ, Handley SM, Connors H. The Role of Nurses in Primary Care: Managing Alcohol-Abusing Patients. Alcohol Health Res World. 1994;18(2):158-161.
ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, ปรีชา ยะถา, บุญชอบ สิงห์คำ, กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์, สุนีรัตน์ สิงห์คำ. การสร้างและการพัฒนามาตรการชุมชนเพื่อการควบคุมการบริโภคและการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ตำบลดงบัง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564;18(2):61-71.
ตรัยมาส คงเรือง, นงนุช บุญยัง, ศศิธร ลายเมฆ. บทบาทในการร่วมขับเคลื่อนการจัดระบบสุขภาพระดับอำเภอของพยาบาลปฏิบัติการงานปฐมภูมิ โรงพยาบาลชุมชน เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 12. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563;40(4):74-84.
หรรษา เศรษฐบุปผา, จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์, นพวรรณ อูปคำ, ภรภัทร สิมะวงค์, สกาวรัตน์ เทพประสงค์, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. ผลของโปรแกรมใกล้บ้านสมานใจต่อพฤติกรรมการดื่มสุรา คุณภาพชีวิต และการกลับมารักษาซ้ำในผู้ที่เป็นโรคติดสุรา. พยาบาลสาร. 2558;42(1):108-21.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9