ระดับความรอบรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้เรื่องการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ ผลประเสริฐศรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร

คำสำคัญ:

ความรู้ด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, มูลฝอยติดเชื้อ, สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้เรื่องการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้เรื่องการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กับความรอบรู้เรื่องการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร

ผลการศึกษาพบว่า อสม. ในพื้นที่จังหวัดพิจิตรมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}=7.86, SD=1.35) มีความรู้ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในภาพรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}=12.70, SD=1.75) และมีความรอบรู้เรื่องการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=3.78, SD=0.78) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้เรื่องการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 คือ อายุ (gif.latex?\ss=-0.299, t=-0.510; p=0.001) อาชีพ (gif.latex?\ss=1.46, t=2.13; p=0.34) รายได้ต่อเดือน (gif.latex?\ss=3.44, t=2.37; p=0.18) และประสบการณ์ในการเป็น อสม. (gif.latex?\ss=0.27, t=2.58; p=0.10) ตัวแปรอิสระที่มีอำนาจในการทำนายการเปลี่ยนแปลงความรอบรู้เรื่องการจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้ดีที่สุด คือ รายได้ต่อเดือน อาชีพ และประสบการณ์ในการเป็น อสม. ตามลำดับ ซึ่งความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้เรื่องการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.05

Author Biography

สมศักดิ์ ผลประเสริฐศรี, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

References

Finn S, O'Fallon L. The Emergence of Environmental Health Literacy-From Its Roots to Its Future Potential. Environ Health Perspect. 2017;125(4):495-501. doi:10.1289/ehp.1409337

กองแผนงาน กรมอนามัย. แผนปฏิบัติการกรมอนามัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิ.ย. 1]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0003/00003851.PDF

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ อสม.ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพอาสมัครสาธารณสุข ปี 2550. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2550.

Announcement of the Ministry of Public Health. Rules, procedures and conditions for medical mask importation for personnel in their own business for use in case of infection SARS-CoV-2 (Pathogen COVID-19) received exemptions under section 27 (8) of the Medical Device Act 2008. Government gazette. volume 137, special episode 98; 2020. (In Thai)

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมกำกับการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พ.ค.30]. เข้าถึงได้จาก: https://envmanifest.anamai.moph.go.th/?wasteRegion

กระทรวงสาธารณสุข. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ.2554. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

Gray KM. From Content Knowledge to Community Change: A Review of Representations of Environmental Health Literacy. Int J Environ Res Public Health. 2018;15(3):466. Published 2018 Mar 7. doi:10.3390/ijerph15030466

Marsili D, Comba P, De Castro P. Environmental health literacy within the Italian Asbestos Project: experience in Italy and Latin American contexts. Commentary. Ann Ist Super Sanita. 2015;51(3):180-182. doi:10.4415/ANN_15_03_02

Suades-González E, Gascon M, Guxens M, Sunyer J. Air Pollution and Neuropsychological Development: A Review of the Latest Evidence. Endocrinology. 2015;156(10):3473-3482. doi:10.1210/en.2015-1403

Yamane T. Statistics, An Introductory Analysis.2nd ed., New York: Harper and Row; 1967.

ธัญมาศ ทองมูลเล็ก, ปรีชา วิจิตรธรรมรส. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ และการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2560; 5(4):114-23].

ประทุม สีดาจิตต์, จิตติมา รอดสวาสดิ์. การประเมินความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ จากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิ.ย. 1] เข้าถึงได้จาก: https://hia.anamai.moph.go.th/th/km/205869

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09