ประสิทธิผลของน้ำมันกัญชาสูตร อ.เดชา ต่อคุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยนอก ณ คลินิกหางกระรอก โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ผู้แต่ง

  • กัญญาภัค ศิลารักษ์ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

น้ำมันกัญชาสูตรอาจารย์เดชา, คลินิกหางกระรอก, คุณภาพชีวิต, คุณภาพการนอนหลับ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยนอกที่ได้รับน้ำมันกัญชาสูตรอาจารย์เดชา ณ คลินิกหางกระรอก โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ด้วยการวิจัยแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในผู้ป่วยนอกที่มีภาวะนอนไม่หลับและได้รับการตรวจประเมิน
จากแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยแล้วว่าควรได้รับการรักษาด้วยน้ำมันกัญชา โดยรับประทานครั้งละ 3 หยด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอนติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบจำพาะเจาะจง จำนวน 200 คน ที่มารับการรักษาในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563–31 มกราคม 2564 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม EQ-5D-5L ในการสอบถามคุณภาพชีวิตและใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย (Thai version of the Pittsburgh sleep quality index : T-PSQI) เปรียบเทียบประสิทธิผลหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับน้ำมันกัญชาติดต่อกันครบ 3 เดือน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 82 มีอายุเฉลี่ย 51.34 ± 3.09 ข้อมูลด้านคุณภาพชีวิตเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม EQ-5D-5L พบว่า ค่าอรรถประโยชน์เฉลี่ยก่อนเริ่มการรักษาคือ 0.80±0.19 และหลังได้รับการรักษาในเดือนที่ 3 คือ 0.86±0.16 โดยค่าอรรถประโยชน์เฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คะแนนคุณภาพการนอนหลับเฉลี่ยเปรียบเทียบก่อนและหลังรับประทานน้ำมันกัญชาลดลงอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 14.07±1.87 คะแนน เป็น 7.35±1.90 คะแนน ตามลำดับ การศึกษานี้บอกได้ว่าการใช้น้ำมันกัญชามีผลทำให้คุณภาพชีวิตและคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยดีขึ้น และสามารถพิจารณาเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยได้

Author Biography

กัญญาภัค ศิลารักษ์, โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

Kryger M, Roth T, Dement WC. Principles and practice of sleep medicine. 6th ed. Philadelphia: Saunders; 2016.

จิรวัฒน์ วัฒนปัญญาเวชช์. การจัดการปัญหาการนอนแบบไม่ใช่ยาเพื่อคุณภาพการนอนที่ดี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564;4(1):205-15.

Ban DJ, Lee TJ. Sleep duration, subjective sleep disturbances and associated factors among university students in Korea. J Korean Med Sci. 2001;16(4):475-480. doi:10.3346/jkms.2001.16.4.475

Duffy JF, Zitting KM, Chinoy ED. Aging and Circadian Rhythms. Sleep Med Clin. 2015;10(4):423-434. doi:10.1016/j.jsmc.2015.08.002

Rodriguez JC, Dzierzewski JM, Alessi CA. Sleep problems in the elderly. Med Clin North Am. 2015;99(2):431-439. doi:10.1016/j.mcna.2014.11.013

Razali R, Ariffin J, Puteh SEW, Wahab S, Daud TIM. Sleep quality and psychosocial correlates among elderly attendees of an urban primary care centre in Malaysia. Neurology Asia. 2016;21(3):265-73.

Sonavane GS, Sarveiya VP, Kasture VS, Kasture SB. Anxiogenic activity of Myristica fragrans seeds. Pharmacol Biochem Behav. 2002;71(1-2):239-244. doi:10.1016/s0091-3057(01)00660-8

Wade DT, Makela P, Robson P, House H, Bateman C. Do cannabis-based medicinal extracts have general or specific effects on symptoms in multiple sclerosis? A double-blind, randomized, placebo-controlled study on 160 patients. Mult Scler. 2004;10(4):434-441. doi:10.1191/1352458504ms1082oa

ศศิพงค์ ทิพย์รัชดาพรและคณะ. ประโยชน์และความปลอดภัยของตำรับยาศุขไสยาสน์ในผู้ป่วยที่มีภาวะนอนไม่หลับ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.2564;19(2):317-30.

ณัชชา เต็งเติมวงศ์. ประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาศุขไสยาศน์ในโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง : การศึกษาย้อนหลังเบื้องต้นในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2564;19(2):331-43.

สนธยา มณีรัตน์และคณะ. คุณภาพการนอนหลับ ปัจจัยรวบกวน วิธีการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับและความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยรบกวนของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 2564;11(4):10-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-26