ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอย ในตำบลข้าวงาม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ศศิวิมล จันทร์มาลี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พัชรินทร์ แตงอ่อน สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ขวัญยุพา ม่วงงาม สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พัณณิตา แขกพงษ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • จิรภาส หอมจิตสุขฤทัย สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชนินันท์ ประเสริฐไทย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การจัดการขยะมูลฝอย, ความรู้, ทัศนคติ, โปรแกรมการเสริมสร้างความรู้และทัศนคติ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยในตำบลข้าวงาม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างคือประชากรในตำบลข้าวงาม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอย ระยะเวลาทดลอง 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคู่มือและชมวีดีทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample t-test และ Independent sample t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ผลการศึกษาพบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีระดับความรู้และทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 47.5 และระดับระดับปานกลาง ร้อยละ 95.0 ตามลำดับ หลังเข้าร่วมโปรแกรมระดับความรู้และทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นเป็นระดับมาก ร้อยละ 65.0 และระดับดี ร้อยละ 80.0 ตามลำดับ ซึ่งพบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยมากกว่ากลุ่มควบคุม ร้อยละ65.0 และร้อยละ 80.0 ตามลำดับ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สรุปผลได้ว่าการจัดโปรแกรมนี้มีผลทำให้ระดับความรู้และทัศนคติของกลุ่มทดลองดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งสามารถนำผลที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนต่อไปได้

Author Biographies

ศศิวิมล จันทร์มาลี, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อาจารย์

พัชรินทร์ แตงอ่อน, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

ขวัญยุพา ม่วงงาม, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

พัณณิตา แขกพงษ์, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

จิรภาส หอมจิตสุขฤทัย, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

ชนินันท์ ประเสริฐไทย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อาจารย์

References

กรมอนามัย. คู่การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกรณีการจัดการขยะมูลฝอย. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2553.

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2560.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. การจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร; 2562.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, ศุภวรณ ภิรมย์ทอง. การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนเทศบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 2558; 8(2):7-29.

ศุภกร ลิ้มคุณธรรมโม, เกรียงไกร ด่านชัยวิจิตร, อดิศัย วรรธนะภูติ, วิทยา นามเสาร์, ดำรงค์ศักดิ์ หัตถศาสตร์, พิทักษ์ ศิริวงศ์. แนวทางในการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของพระนครศรีอยุธยา กรณีศึกษา “การบูรณาการการบริหารศูนย์บริการท่องเที่ยวครบวงจร”. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 2559; 10(2):22-35.

องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวงาม. รายงานข้อมูลขยะมูลฝอยปี 2562. พระนครศรีอยุธยา: องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวงาม; 2562.

ธีรวรรณ บุญโทแสง, สุรัสวดี นางแล, ธัญวรัชญ์ บุตรสาร, นิติมา พรหมมารัตน์, ธนายุทธ ช่างเรือนงาม. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะของหมู่บ้านนางแลใน ตําบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ. 2560; 11(3): 369-78.

ประยูร วงศ์จันทรา. การจัดการขยะรีไซเคิล สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์; 2559.

จอมจันทร์ นทีพัฒนา, วิชัย เทียนถาวร. ความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลดขยะชุมชนแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560. 25(2): 316-30.

Bloom, Benjamin SJ, Hastings T, Madaus GF. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York, McGraw-Hill; 1975.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.

วิริยะภูมิ จันทร์สุภาเสน. ผลของโปรแกรมอบรม “Cleaners Safety” ต่อความรู้และพฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ ในพนักงานทำความสะอาด โรงพยาบาลพะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. 2560;18(1):113-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-21