ปัจจัยและผลกระทบทางทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ณัฐริกา ศรีสงวน ส.ม. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ธีระวุธ ธรรมกุล, ส.ด. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อารยา ประเสริฐชัย, วท.ด. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, ผลกระทบทางทันตสุขภาพ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ในการดูแลสุขภาพช่องปาก 2) ผลกระทบทางทันตสุขภาพ และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบทางทันตสุขภาพในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในช่วงวิกฤติโควิด-19 ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ประชากรคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิจำนวน 1,061 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 282 คน เลือกตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านปัจจัยนำ ระดับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 56.4 และระดับทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูงร้อยละ 81.2 ด้านปัจจัยเอื้อโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 84.0 และด้านปัจจัยเสริมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 68.8; 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีผลกระทบทางทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 55.7 และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบทางทันตสุขภาพ คือ เพศ ทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก การมีอุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปาก การเข้าถึงแหล่งบริการทางทันตกรรม การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยสามารถร่วมกันทำนายผลกระทบทางทันตสุขภาพได้ร้อยละ 32.0

Author Biographies

ณัฐริกา ศรีสงวน ส.ม., สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

นักศึกษาบัณฑิตศึกษา

ธีระวุธ ธรรมกุล, ส.ด., สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รองศาสตราจารย์

อารยา ประเสริฐชัย, วท.ด., สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รองศาสตราจารย์

References

ณัฐวุธ แก้วสุทธา. ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 20]. เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/10738/9713

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 20]. เข้าถึงได้จาก: https://dental.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/dental2/n2423_3e9aed89eb9e4e3978640d0a60b44be6_survey8th_2nd.pdf

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. คู่มือการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 20]. เข้าถึงได้จาก: https://dental.anamai.moph.go.th/th/handbook/download?id=93856&mid=35799&mkey=m_document&lang=th&did=29190

ทันตแพทยสภา. แนวทางปฏิบัติงานให้การรักษาทางทันตกรรมในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 20]. เข้าถึงได้จาก: https://dentalcouncil.or.th/images/uploads/file/5F7VSJ8HPWBYTSNS.pdf

จีเอสเค คอนซูเมอร์ เฮลธ์แคร์. ช่วงโควิดระบาด เหตุใดสุขภาพฟันคนไทยย่ำแย่ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/health/928992

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. คลังข้อมูลสุขภาพ จังหวัดชัยภูมิ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 20]. เข้าถึงได้จาก: https://cpm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5

Green LW, Kreuter MW. Health promotion planning an educational and ecological approach. 3rd ed. Toronto : Mayfield; 1999.

ศุภกร ศิริบุรี. ความสัมพันธ์ของปัจจัยกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้วย PRECEDE Framework ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 30]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4777/hsri_journal_v11n3_p355.pdf?sequence=1&isAllowed=y

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.

ประสาน ไทยมี. พฤติกรรมทันตสุขภาพและสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดประถมศึกษาอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประถมศึกษา]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2532.

ธนัชพร บุญเจริญ. ปัจจัยของมารดาที่มีอิทธิพลต่ออัตราการเกิดโรคฟันผุของบุตรที่โรงพยาบาลแม่ และเด็ก. เชียงใหม่: ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 10 เชียงใหม่; 2544.

ธัญญาภรณ์ อุทร. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร. 2556;9(2):111-20.

วรเมธ สุขพาสันติ, มานพ คณะโต, พูนรัตน์ ลียติกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(2):169-77.

ชมนาด ทับศรีนวล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 30]. เข้าถึงได้จาก: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KU.the.2006.1151

ทวีชัย สายทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-01