ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจิตเวช โดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล แผนกผู้ป่วยในจิตเวช โรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย, ผู้ป่วยจิตเวช, การมีส่วนร่วมของผู้ดูแล, การผิดนัดการรักษา, การขาดยาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อพัฒนาโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจิตเวชโดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล และเพื่อศึกษาความแตกต่างของการผิดนัดการรักษาและการขาดยาในผู้ป่วยจิตเวชก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฯระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเวชและผู้ดูแลหลักที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยรวงผึ้ง โรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 และกันยายน 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มโดยจับฉลากตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 ราย และกลุ่มควบคุม 20 ราย เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจิตเวชโดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล แผนกผู้ป่วยในจิตเวช เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา หาความตรงของเนื้อหาได้ค่า CVI=0.91 และหาค่าความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค=0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติทดสอบ t-test และ Mann-Whitney U test
ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมฯ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) สร้างความตระหนักในการดูแลผู้ป่วย 2) สร้างองค์ความรู้และเสริมสร้างความมั่นใจ 3) ส่งเสริมความร่วมมือ และ 4) ติดตามดูแลต่อเนื่อง หลังจากเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีจำนวนครั้งการผิดนัดการรักษาลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และหลังเข้าโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับประทานยาจากการติดตามครั้งที่ 1, 2 และ 3 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 สรุป: โปรแกรมฯ สามารถลดการผิดนัดการรักษาและเพิ่มการรับประทานยาตามแผนการรักษามากขึ้น
References
ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, ปริยา ประณีตพลกรัง, ชัชฎา ประสาทไทย, กัญณิภา มีผลพวง. การขาดนัดพบแพทย์ในผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นรายใหม่. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2555;20(3):133-43.
Cheng KD, Huang CJ, Tsang HY, Lin CH. Factors related to missed first appointments after discharge among patients with schizophrenia in Taiwan. J Formos Med Assoc. 2014;113(7):436-441. doi:10.1016/j.jfma.2012.09.016
อติญา โพธิ์ศรี. การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: กรณีศึกษาที่ชุมชนบ้านท่าม่วงจังหวัดร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562;34(1):83-9.
พิชญนันท์ นามวงษ์, วิญญู ชะนะกุล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วัน ในผู้ป่วยโรคจิตเภทของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา; วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2561;12(2):1-11.
Ådnanes M, Cresswell-Smith J, Melby L, et al. Discharge planning, self-management, and community support: Strategies to avoid psychiatric rehospitalisation from a service user perspective. Patient Educ Couns. 2020;103(5):1033-1040. doi:10.1016/j.pec.2019.12.002
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ชุดความรู้และแนวทางปฏิบัติ เรื่อง การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจิตเภท (ฉบับปรับปรุง 2551) [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ย. 24] เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/download/DMHKM/styAWBOOK.pdf
ณัฐติกา ชูรัตน์. การศึกษาสาเหตุและแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2559;3(1):24–36.
Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman; 1997
รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.
พรทิพย์ วัชรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สินีนุช ชัยสิทธิ์, อนุชา เศรษฐเสถียร. การคัดแยกผู้ป่วยของแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในประเทศไทย; วารสารสภาการพยาบาล. 2559;31(2):96-108.
สรินทร เชี่ยวโสธร. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยจิตเภทต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
เยาวภา ไตรพฤกษชาติ. การเสริมสร้างแรงจูงใจในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยโรคจิตเภทโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. [การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
สุมิศา กุมลา, โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2562;34(2):132-52.
วราภรณ์ สินธุโสภา, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;19 ฉบับพิเศษ(3):203-12.
กันทิมา ขาวเหลือง, ปรีย์กมล รัชนกุล, เรณู พุกบุญมี. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดที่ส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลปทุมธานี; วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2555;6(1):27-39.
พิมพ์มาดา พชรปกรณ์ศิลป, อาภรณ์ ศรีชัย, วัลลภา วิจิตร, ดลลญา สิงห์แก้ว. ผลของโปรแกรมติดตามอาการทางโทรศัพท์ต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564;29(2):96-104.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข คู่มือวิทยากรหลักสูตรการเข้าถึงบริการและดูแลผู้ป่วยโรคจิตสำหรับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ย. 24] เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidepression.com/www/58/vt_58.pdf
น้ำทิพย์ สงวนบุญพงษ์, สายใจ พัวพันธ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;18(1):229-36.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทสำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ(ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข) [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ย.24] เข้าถึงได้จาก: http://mhtech.dmh.moph.go.th/fileupload/202002061595902378.pdf
บรรจงจิตต์ พันธุ์ทอง, นิภา กิมสูงเนิน. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนครอบครัวต่อพฤติกรรมการไม่เสพยาซ้ำในผู้ป่วยเสพติดยาบ้า สถาบันธัญญารักษ์; วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(1):61-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9