การออกหน่วยทันตกรรม ในเรือนจำอำเภอชัยบาดาล อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
การออกหน่วยทันตกรรม, การดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้ต้องขังบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากของผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอชัยบาดาล และนำมาวางแผนการให้บริการทันตกรรม, 2) พัฒนารูปแบบการบริการทันตกรรมของทีมทันตบุคลากร โรงพยาบาลชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และ 3) ประเมินการพัฒนาการให้บริการทันตกรรมแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอชัยบาดาล กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอชัยบาดาล จำนวน 901 ราย เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอชัยบาดาล ระหว่างเดือน ธันวาคม 2563–มกราคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน Paired-sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.01
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ต้องขังเรือนจำอำเภอชัยบาดาลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 866 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.56 รองลงมาเป็นเพศหญิง จำนวน 85 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.44 อายุเฉลี่ย 34.42 ปีผู้ต้องขังในแดน B มีปัญหาสภาวะสุขภาพช่องปากมากที่สุด (DMFT=7.7 ซี่/ราย) ที่จำเป็นต้องให้บริการทันตกรรมอันดับแรก เมื่อเทียบกับผู้ต้องขังในแดนอื่น, 2) ผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอชัยบาดาล มีระดับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เปรียบเทียบก่อนและหลังการให้บริการทันตกรรม และ 3) ผู้ต้องขังในเรือนจำอำเภอชัยบาดาล ในปี 2565 มีจำนวนการเข้ารับบริการตรวจคัดกรอง (ร้อยละ 100) และการได้รับบริการรักษาทางทันตกรรม (ร้อยละ 72.6) เพิ่มขึ้น โดยสามารถให้บริการได้สูงกว่าค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข
References
พรบ.สุขภาพแห่งชาติ. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 124 ตอนที่ 16 ก ลงวันที่ 19 มี.ค. 2550 [ออนไลน์] 2550. [เข้าถึงเมื่อ 2557 ม.ค. 30]. เข้าถึงได้จาก: http://www.acfs.go.th/km/download/act_healthy_2550.pdf
จุรีรัตน์ ทะนงศักด์ิสกุล, พลินี เดชสมบูรณ์รัตน์. การสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของผู้ต้องขังชายในทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์. 2552;58(4):255-62.
กรมราชทัณฑ์. สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ [ออนไลน์]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 2557 ก.พ. 3]. เข้าถึงได้จาก: http://www.correct.go.th/stat102/display/result_pdf.php?date=2009-01-01
กรมราชทัณฑ์. สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ [ออนไลน์]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2557 ก.พ. 3] เข้าถึงได้จาก: http://www.correct.go.th/stat102/display/result_pdf.php?date=2014-01-01
Mixson JM, Eplee HC, Feil PH, Jones JJ, Rico M. Oral health status of a federal prison population. J Public Health Dent. 1990;50(4):257-261.
กมลชนก ทองเอียด. พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและปัจจัยบางประการในผู้ถูกควบคุมชายศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนภาคใต้. [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2548.
วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ. ปัญหาสุขภาพผู้ต้องขัง [ออนไลน์]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2559 ธ.ค. 30]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/400416
พูลพฤกษ โสภารัตน. แนวคิดและการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้ต้องขัง. กรุงเทพฯ: เอดรีม; 2563.
สิริวุฒิ รวีไชยวัฒน์. คุมโรคแดนคุก: ดูแลสุขภาพผู้ต้องขัง [ออนไลน์]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2559 ก.ย. 15]. เข้าถึงได้จาก: http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9590000092678
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ (ฉบับปรับปรุง) 2564. กรุงเทพฯ: บอร์น ทู บี; 2564.
นิภา โพชนะ. ผลการศึกษาพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของมารดาในเด็กวัยก่อนเรียน. [สาระนิพนธ์ วิทยาศาสตรบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
Learning together to work together for health : report of a WHO Study Group on Multiprofessional Education of Health Personnel : the Team Approach [meeting held in Geneva from 12 to 16 October 1987]
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2561.
Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons AM. Health promotion in nursing practice 4th ed. Boston: Julie Levin Alexander; 2011.
กระทรวงยุติธรรม. โครงการราชฑัณฑ์ปันสุขทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์. กรุงเทพฯ:บอช; 2565.
กุลภา วจนสาระ.ป่วยไข้ในเรือนจำ: ปัญหาสุขภาพและการเข้าถึงบริการ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9