ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สุขุมาล คิดสงวน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

สุขภาพจิต, ผู้ต้องขังหญิง, ทัณฑสถานหญิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ต้องขัง และการพัฒนาข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้อำนวยการของทัณฑสถานหญิงจังหวัดชลบุรี จำนวน 3 คน นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณกับผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดชลบุรี จำนวน 300 คน โดยผู้มีอำนาจสูงสุดของทัณฑสถานหญิงจังหวัดชลบุรีได้ให้ความอนุเคราะห์และมอบหมายผู้มีคุณสมบัติและเจาะจงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อการพัฒนาและการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดชลบุรี

การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยการจัดสวัสดิการผู้ต้องขังและปัจจัยมาตรฐานคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังที่ส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้ต้องขังหญิง โดยวิธี Multiple regression analysis พบว่า ปัจจัยด้านการจัดสวัสดิการผู้ต้องขังด้านการจัดอาคารสถานที่ และด้านการจัดกิจกรรมภายในส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดชลบุรี และพบว่าปัจจัยด้านมาตรฐานคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังด้านความต้องการพื้นฐาน, ด้านการได้รับอิสรภาพก่อนกำหนด และด้านการได้รับความปลอดภัยในชีวิต ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดชลบุรี เมื่อหาความสัมพันธ์โดยใช้วิธีวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ พบว่าตัวแปรต้นคือ ปัจจัยด้านการจัดสวัสดิการผู้ต้องขัง ปัจจัยด้านมาตรฐานคุณภาพชีวิตผู้ต้องขัง มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ เมื่อปรับค่าแล้ว (Adjusted R-square) เท่ากับร้อยละ 65

ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย ผู้วิจัยทำบทสรุปสำหรับผู้บริหารในการส่งเสริมสร้างสุขภาพจิตของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดชลบุรีโดยได้รับการตรวจสอบจากผู้อำนวยการของทัณฑสถานหญิงจังหวัดชลบุรี พบว่า แนวทางในการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 1) การพัฒนาระบบดูแลผู้ต้องขัง 2) การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตผู้ต้องขัง3) การดูแลสุขภาพจิตเชิงลึกและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขัง 4) การพัฒนาระบบการดูแล ติดตาม และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ 5) การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล ประเมินผลการดำเนินงาน

Author Biography

สุขุมาล คิดสงวน, กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชลบุรี

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ (ด้านเวชกรรม)

References

กรมราชทัณฑ์. พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์; 2560.

พรเพชร ปัญจปิยะกุล. นโยบายการจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ [อินเตอร์เน็ต]. ปทุมธานี สำนักบริหารการสาธารณสุข 2560; [เข้าถึงเมื่อ 27 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.correct.go.th/popsako

กรมราชทัณฑ์. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2558–2561 “โครงการคืนคนดีสู่สังคม” [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม 2558; [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธ.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://www.moj.go.th/view/7701

กรมราชทัณฑ์. ระเบียบกรมราชทัณฑ์ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย 2561; [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธ.ค. 27]. เข้าถึงได้จาก http://lad.correct.go.th/main/?page_id=807

กรมราชทัณฑ์. ข้อมูลทัณฑสถานหญิงชลบุรี [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม 2563; [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.พ.8]. เข้าถึงได้จาก: http://www.correct.go.th/fdcchon/Vision.htm

กรมสุขภาพจิต. แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2561–2580) [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำกระทรวงสาธารณสุข 2560; [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.stopcorruption.moph.go.th/application/editors/userfiles/files

Yamane T. Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row; 1976.

รัฐศาสตร์ อำมาตย์ไทย. การปฏิบัติงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังในเรือนจำ กรณีศึกษา เรือนจำกลางสมุทรปราการ [การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคาแหง; 2562.

กัญญา อึ้งเจริญวงศ์. คุณภาพชีวิตภายใต้การได้รับสวัสดิการของผู้ต้องขัง: กรณีศึกษาเรือนจำกลางเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.

อาภากร งามปลอด. การปฏิบัติตามมาตรฐานด้านคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

ชัยวัฒน์ รัตนวงศ์. รูปแบบการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุ: กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ;2555:95-102.

เกียรติศักดิ์ บัวมาศ. การได้รับการปฏิบัติในเชิงมนุษยชนของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดเลย [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย; 2547.

กระทรวงยุติธรรม. แผนยุทธศาสตร์กระทรวง ยุติธรรม พ.ศ. 2558-2561 “โครงการคืนคนดีสู่สังคม” [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธ.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก www.probation.go.th/contentdl.pdf

Isabella T, editor. Manual on Human Rights Training for Prison Officials. New York and Geneva: United Nation; 2005.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-25